พื้นฐานการใช้งาน VIDYA Indicator คือ ?

พื้นฐานการใช้งาน VIDYA Indicator คือ ?

หนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ใช้แทน EMA ได้อย่างแม่นและทรงประสิทธิภาพ… VIDYA Indicator !! และในวันนี้ทาง Thaiforexbroker ก็จะมาพูดถึงหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ทรงประสิทธิภาพและยังมีความแม่นยำสูงถึงแม้ว่าอินดี้ตัวนี้จะยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในปัจจุบัน…แต่ก็ถูกจัดอยู่ในอินดิเคเตอร์พื้นฐานในโปรแกรม MT5 อีกด้วยครับ โดยจะมีเนื้อหาที่เข้มข้นมากแค่ไหนและควรที่จะใช้แทน EMA ดีหรือไม่..เราไปตัดสินกันหลังจากอ่านบทความนี้กันได้เลยครับ


ความเป็นมาของ Vidya Indicator

VIDYA Indicator หรือ ชื่อเต็มว่า Variable Index Dynamic Average คืออินดิเคเตอร์หนึ่งที่ปัจจุบันถูกบรรจุอยู่ในอินดิเคเตอร์มาตรฐานของโปรแกรมเทรดฟอแรกอย่าง MT5 (MT4 ยังไม่มีแต่สามารถหาโหลดเพิ่มเติมได้) ซึ่งถูกจัดอยู่ในอินดิเคเตอร์ประเภท Trend และมีพื้นฐานแนวคิดมาจากอินดิเคเตอร์ชื่อดังอย่าง Moving Average ดั้งนั้นแล้วจึงจะทำให้เห็นได้ว่าการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ตัวนี้จะมีรูปแบบลักษณะคล้ายเส้น Moving Average แต่อย่างไรก็ตามก็มีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันมากพอสมควรครับ

รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ VIDYA Indicator
รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ VIDYA Indicator

โดยผู้คิดค้นและพัฒนาอินดิเคเตอร์ตัวนี้คือ Tushar Chande เป็นนักวิเคราะห์ทางเทคนิคชั้นนำของตลาดที่มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปีเลยทีเดียวและนอกเหนือจากการนำอินดิเคเตอร์ Moving Average มาเป็นพื้นฐานแล้วยังนำสูตร Chande Momentum oscillator (CMO) มาใช้ร่วมกันอีกด้วยและนอนว่ามันสามารถช่วยลดความผันผวนอันเกิดจากการปรับค่าความไวของค่าเส้นเฉลี่ยได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ก็ยังมีการนำสมการอื่นๆเข้ามาผสมผสามร่วมด้วยโดยผมจะขอกล่าวอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป

วิธีคำนวณ สูตร Vidya Indicator

สมการของ Variable Index Dynamic Average จะมีหลักการที่ซับซ้อนเล็กน้อยโดยการนำอินดิเตอร์อย่าง Exponential Moving Average (EMA) มาคำนวนกับค่า Dynamic โดยวิธีการคิดนี้สามารถอธิบายได้อย่างง่ายได้ว่าคือการนำค่า EMA มาหาค่ามีเหมาะสมที่สุด…ฟังดูแล้วน่าสนใจมากเลยใช่ไหมล่ะครับ และกล่าวได้ต่อไปได้อีกว่าเป็นการนำค่าความผันผวนทั้งค่าเก่าและใหม่มาคิดวนซ้ำไปๆมาอย่างเป็นระบบโดยทำการวิเคราห์ผ่านสมการของ Chande Momentum oscillator (CMO) นั้นเองโดยมีสูตรและสมการดังต่อไปนี้

สูตรคำนวณ

  • VIDYA(i) = Price(i) * F * ABS(CMO(i)) + VIDYA(i-1) * (1 – F* ABS(CMO(i)))
    • ABS(CMO(i)) — absolute current value Chande Momentum Oscillator
    • VIDYA(i-1) — previous value of VIDYA
  • CMO(i) = (Up Sum(i) – Dn Sum(i))/(Up Sum(i) + Dn Sum(i))
    • UpSum(i) = current sum of positive price increments for the period
    • DnSum(i) = current sum of negative price increments for the period
  • EMA(i) = Price(i) * F + EMA(i-1)*(1-F)
    • F = 2/(Period_EMA+1) — smoothing factor
    • Period EMA — EMA averaging period
    • Price(i) — current price
    • EMA(i-1) — previous value of EMA

วิธีเรียกใช้งาน และ ตั้งค่า Variable Index Dynamic Average

อันดับแรกให้เราทำการเปิดโปรแกรม MT5 ขึ้นมาให้เรียบร้อยหลังจากนั้นให้ทำการคลิก Insert>Indicator>Trend> Variable Index Dynamic Average ตามลำดับดังรูปด้านล่างครับ ส่วนใครที่ใช้ MT4 สามารถดาวห์โหลดผ่านทาง https://www.mql5.com/en/code/9191 แล้วนำไปติดตั้งในโฟลเดอร์ของอินดิเคเตอร์ได้เลยครับ

รูปที่ 2 วิธีการเรียกใช้งาน Variable Index Dynamic Average
รูปที่ 2 วิธีการเรียกใช้งาน Variable Index Dynamic Average

หลังจากนั้นผมก็จะทำการตั้งพาราคามิเตอร์เป็นค่าดั้งเดิมของอินดิเคเตอร์และเลือกใช้ในคู่สกุลเงิน XAUUSD H1 ดังรูปด้านล่างโดยจะทำการเปลี่ยนแปลงเพียงสีและขนาดเส้นเท่านั้น

รูปที่ 3 วิธีการตั้งค่า Variable Index Dynamic Average
รูปที่ 3 วิธีการตั้งค่า Variable Index Dynamic Average

ระบบเทรด Vidya Indicator ที่แนะนำ

วิธีการใช้งานของ Variable Index Dynamic Average โดยแท้จริงแล้วนั้นค่อนข้างเรียบง่ายครับโดยจะมีลักษณะการใช้คล้ายคลึงกับเส้น Moving Average ธรรมดาโดยความพิเศษของมันคือสามารถเพิ่มความสมูทของเส้นและตัดสัญญาณที่มีความผันผวนออกไปทำให้เส้นของอินดิเคเตอร์นั้นมีความแม่นยำที่เพิ่มมากอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งประโยชน์หลักๆของอินดิเคเตอร์ชนิดนี้คือความสามารถในการบอกเทรนด์ รวมไปถึงความสามารถในการบอกสัญญาณการเปลี่ยนเทรนด์ได้อีกด้วย อีกทั้งยังใช้งานร่วมกันกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆเพื่อบ่งบอกถึงสัญญาณการเข้าออกออเดอร์ก็ได้เช่นเดียวกันครับ

รูปที่ 4 วิธีการใช้งานของ Variable Index Dynamic Average ในการบอกเทรนด์
รูปที่ 4 วิธีการใช้งานของ Variable Index Dynamic Average ในการบอกเทรนด์

ประการแรก ใช้งานของ Variable Index Dynamic Average ในการบอกเทรนด์ จากรูปภาพด้านบนผมสามารถสรุปโดยย่อได้อย่างง่ายๆได้เลยครับว่า เมื่อใดก็ตามเมื่อกราฟแท่งเทียนอยู่เหนือเส้นของอินดิเคเตอร์นั้นหมายความถึง ณ ขณะนั้นกราฟมีโอกาศอยู่ในช่วงเทรนด์ขาขึ้นและในทางกลับกันหากกราฟแท่งเทียนอยู่ใต้อินดิเคเตอร์ก็จะมีโอกาศอยู่ในช่วงเทรนด์ขาลงนั้นเองครับ ซึ่งเราสามารถอนุมานและใช้งานในการบ่งบอกถึงจุดกลับตัวและสัญญาณการเข้าออกออเดอร์ได้ในรูปข้างล่างนี้

รูปที่ 5 วิธีการใช้งานของ Variable Index Dynamic Average ในการบอกจุดกลับตัวและสัญญาณการเข้าออกออเดอร์
รูปที่ 5 วิธีการใช้งานของ Variable Index Dynamic Average ในการบอกจุดกลับตัวและสัญญาณการเข้าออกออเดอร์

ประการที่สอง วิธีการใช้งานของ Variable Index Dynamic Average ในการบอกจุดกลับตัวและสัญญาณการเข้าออกออเดอร์ จะเห็นได้อย่างชัดเจนดังรูปด้านบนหมายเลขที่ 1 เมื่อกราฟมีการตัดขึ้นเหนืออินดิเคเตอร์เราสามารถทำการเปิด Buy ได้ในขณะเดียวกันเมื่อกราฟไปถึงหมายเลขที่ 2 กราฟจะมีการตัดกลับลงมาอยู่ใต้เส้นอินดิเคเตอร์ซึ่งสามารถที่จะทำปิดออเดอร์ Buy พร้อมเปิดออเดอร์ Sell ไปพร้อมกันได้ ซึ่งเป็นวิธีการใช้งานขั้นพื้นฐานเลยก็ว่าได้ครับ

ทั้งนี้แน่นอนว่าการใช้งานของอินดิเคเตอร์ตัวนี้มีความคล้ายคลึงกับ EMA เป็นอย่างมากครับแต่ข้อดีที่ผมเห็นได้อย่างชัดเจนคือความแม่นยำของ Vidya นั้นมีมากกว่า EMA อย่างมีนัยสำคัญโดยให้ทำการสังเกตรูปด้านล่างนี้จะเห็นได้ว่ามีหลายครั้งที่ Vidya สามารถใช้เป็นแนวรับและแนวต้านได้แม่นยำกว่า EMA ถึงแม้ว่าอินดิเคเตอร์ทั้งสองเส้นจะมีระยะห่างไม่ต่างกันมากนักนั่นเองครับ

รูปที่ 6 ข้อแตกต่างระหว่าง Vidya และ EMA
รูปที่ 6 ข้อแตกต่างระหว่าง Vidya และ EMA

เงื่อนไขการ Buy

รูปที่ 7 เงื่อนไขการ Buy Vidya และ MADC ใน XAUUSD H1
รูปที่ 7 เงื่อนไขการ Buy Vidya และ MADC ใน XAUUSD H1
  1. เรียกใช้ Vidya สองครั้ง โดยทำการตั้งค่า (9,12) เป็นเส้น Fast สีแดง และ (20,50) เป็นเส้น Slow สีน้ำเงิน หลังจากนั้นเรียกใช้ MACD (12,26,9) และรอเส้นสีแดงตัดขึ้นเหนือเส้นสีน้ำเงินโดย ณ ขณะนั้นกราฟแท่งเทียนต้องอยู่เหนือเส้น Vidya ทั้งสอง
  2. MACD Histogram จะต้องอยู่เหนือระดับ 0 มีแนวโน้มขาขึ้น ให้ทำการเปิดออเดอร์ Buy
  3. ทำการ SL และ TP เมื่อ MACD Histogram ตัดกลับไปอยู่ใต้ระดับ 0

เงื่อนไขการ Sell

รูปที่ 8 เงื่อนไขการ Sell Vidya และ MADC ใน XAUUSD H1
รูปที่ 8 เงื่อนไขการ Sell Vidya และ MADC ใน XAUUSD H1
  1. เรียกใช้ Vidya สองครั้ง โดยทำการตั้งค่า (9,12) เป็นเส้น Fast สีแดง และ (20,50) เป็นเส้น Slow สีน้ำเงิน หลังจากนั้นเรียกใช้ MACD (12,26,9) และรอเส้นสีแดงตัดลงใต้เส้นสีน้ำเงินโดย ณ ขณะนั้นกราฟแท่งเทียนต้องอยู่ใต้เส้น Vidya ทั้งสอง
  2. MACD Histogram จะต้องอยู่ใต้ระดับ 0 มีแนวโน้มขาลง ให้ทำการเปิดออเดอร์ Sell
  3. ทำการ SL และ TP เมื่อ MACD Histogram ตัดกลับไปอยู่เหนือระดับ 0

ข้อควรระวังในการใช้ Vidya

รูปที่ 9 ข้อควรระวังในการใช้ Vidya
รูปที่ 9 ข้อควรระวังในการใช้ Vidya

ข้อควรระวังในการใช้นั้นคล้ายคลึงกับอินดิเคเตอร์ EMA ครับคือการครอสโอเวอร์ของอินดิเคเตอร์ไม่ได้แม่นยำเสมอไปทั้งนี้รวมไปถึงการครอสโอเวอร์กันของกราฟกับอินดิเคเตอร์ก็ด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้วควรมีกลยุทธ์และอินดิเคเตอร์อื่นๆมาผสมผสามใช้งานด้วยจะดีมากเลยทีเดียว

สรุป

Variable Index Dynamic Average เป็นอินดิเคเตอร์ชนิดนึงที่แม่นยำพอๆกับ EMA หรืออาจจะแม่นยำมากกว่าเลยทีเดียวหากใช้ให้ถูกและใช้ให้เป็น ด้วยวิธีการพัฒนาต่อยอดแบบ Dynamic จะช่วยลดความผันผวนอันเกิดจากความไวของเส้นค่าเฉลี่ยจึงทำอินดิเคเตอร์ตัวนี้มีความแม่นยำที่มากขึ้น ทั้งนี้เราไม่สมควรที่จะใช้อิดิเคเตอร์เพียงตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น เราควรที่จะใช้กลยุทธ์และอินดิเคเตอร์อื่นๆเข้ามาช่วยประกอบการตัดสินใจทำให้เกิดโอกาสในการทำกำไรที่มากขึ้นและลดอัตราการขาดทุนได้น้อยลงนั่นเอง

อ้างอิง

https://www.metatrader5.com/en/terminal/help/indicators/trend_indicators/vida

https://www.mql5.com/en/articles/11341

 

สารบัญบทความ