Trade setup ด้วยความรู้เรื่อง order flow ตอนการวิเคราะห์ตลาด
เทรดเดอร์ทั่วไป ก็จะใช้อินดิเคเตอร์ที่อ่านจากข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือใช้พวก lines, channels, support/resistance, supply/demand เป็นต้น เพื่อเป็นกรอบราคาเพื่อหาพื้นที่จะเทรด หรือแม้แต่ chart patterns, รูปแบบ price action เพราะเห็นราคาโต้ตอบ หรือทำให้เกิด patterns เดิมๆ เลยทำให้เทรดเดอร์ทำแบบเดิมๆ จะเห็นว่าทั้งหมดล้วนศึกษาข้อมูลที่ราคาเปิดเผยออก เป็นการวิเคราะห์ตลาดแบบแนวนอน ด้วยการมองมาทางซ้ายมือเพื่อดูสิ่งที่เกิดขึ้น กล่าวได้ว่าใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วเพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอีกกำหนดเป็น trade setup ตามวิธีการ technical analysis แบบต่างๆ ไป
เช่นเมื่อมองจากภาพด้านบน ข้อมูลที่เกิดขึ้น เช่นจุดที่เป็นแนวรับแนวต้านหรือ supply/demand เป็นต้นเมื่อจะหา trade setup ต่างๆ ที่ประกอบ technical analysis แบบนี้ก็จะใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นไปแล้วตามจุดต่างๆ ที่เปิดเผยร่องรอย เข้า ราคา rejection หรือเกิด consolidation แล้วตามมาด้วยเคลื่อนไหวจากไปแรงๆ ทำให้เทรดเดอร์แนว supply/demand มองเป็น demand/supply base เกิดขึ้นแล้วก็ดูส่วนประกอบอย่างอื่นเพื่อเป็นตัวเพิ่มคุณภาพความเป็นไปได้ หรือใช้เรื่อง engulfing เพื่อหา swap level เช่นจาก demand กลายมาเป็น supply ตรงไหนแล้วหาโอกาสเทรด หรือแบบ chart pattern เช่น Head and Shoulders และ Double Tops ก็เป็นการดู price แต่ละพื้นที่ๆ ราคาเปิดเผยจากจุดที่ผ่านมา นำมาสู้ technical analysis แบบต่างๆ จะเห็นว่าการมองตลาดเพื่อวิเคราะห์ ก็มองและวิเคราะห์ตามแนวนอน เพราะเมื่อมองจากจุดที่เกิด trading transaction ที่เกิดขึ้นก็จะออกมาในรูปแบบเป็นพื้นที่ๆ แนวนอนเช่นกัน
แต่เนื่องจากขาใหญ่เทรดด้วยวอลลูมที่มากพอที่จะดันหรือปั่นราคาไปตามที่ต้องการได้ แม้ว่าจะมองตลาดแบบนี้ แต่ส่วนมากเพื่อหาว่ารายย่อยเทรดตรงไหนเพื่อหาว่า liquidity เกิดขึ้นตรงพื้นที่ตรงไหน เพื่อปั่นราคาตามที่ต้องการไปตามจุดที่ต้องการ เพื่อเข้าเทรดหรือออกจากการเทรด แต่ขาใหญ่เทรดด้วยวอลลูมที่เยอะ และวอลลูมมากพอที่จะดันราคาหรือปั่นราคาได้ตามต้องการ สิ่งที่ขาใหญ่ให้ความสำคัญคือว่า ออเดอร์ที่พวกเขาต้องการอยู่ตรงไหน ขาใหญ่ก็จะใช้ความรู้เรื่อง order book หรือ depth of market (การเทรดแบบ order book หรือ DOM จะเป็นที่นิยมกันที่ตลาด centralized trading server มาจากแหล่งเดียวกันและทุกเทรดเดอร์เห็นข้อมูลเดียวกัน อยู่ที่ว่าวิเคราะห์เป็นหรือเปล่า ส่วนฟอร์เรกเป็น decentralized trading server แบบกระจายข้อมูล) แต่ขาใหญ่ก็จะมีข้อมูลสำหรับ order book ของพวกเขาเอง อย่างที่เปิดเผยของ Oanda หรือถ้าเป็น order book ที่มาจาก liquidity providers ด้วย ยิ่งน่าจะเห็นมากขึ้น แต่ไม่ได้เปิดสำหรับรายย่อยแบบ Oanda
ขาใหญ่ก็จะมีข้อมูลแบบ Oananda order book สำหรับดูแค่ละคู่เงินแต่ไม่เปิดเผย เป็นข้อมูลสำหรับในการตัดสินใจการเข้าเทรดหรือออกจากการเทรด ว่าพวกเขาควรจะเทรดตรงไหน จะไม่เทรดแบบรายย่อยที่มองจากรูปแบบหรือข้อมูลเก่าที่เกิดขึ้นแล้วเป็นสำคัญสำหรับ technical analysis ภาพ Order book เป็นข้อมูลตรงบาร์ที่ลูกศรชี้ จะเห็นว่าสิ่งที่ขาใหญ่มีคือข้อมูลแบบ Order book ทางซ้ายมือที่เป็น Open Orders (มีส่วนของ Limit orders และ stop orders ที่สัมพันธ์กับบาร์ที่ลูกศรชี้) ขาใหญ่ก็ Open orders และ open positions ที่มี เป็นการมองตลาดแบบแนวตั้งเป็นหลัก ดูว่า Limit orders และ stop orders และ open positions อยู่ตรงส่วนไหนมาก เป็นข้อมูลสำคัญในการเข้าเทรดและการออกเทรด
ขาใหญ่เมื่อพวกเขามีข้อมูลเรื่องออเดอร์ พวกเขาไม่ได้แค่ดันราคากลับเทรนหรือเกิด reverse อย่างเดียว แต่พวกเขาดันราคาไปจุดที่พวกเขาต้องการก่อนด้วย เช่นเรื่อง stop hunt เพื่อเข้าเทรดที่ราคาดีกว่า และได้ออเดอร์ตรงข้ามตรงจุดที่ต้องการ หรือดันราคาเพื่อเร่งความเร็วในการเคลื่อนราคา
เช่นราคาอยู่ที่ลูกศรชี้ที่เลข 1 ภาพ order book ที่เลข 1 เป็นข้อมูลที่ขาใหญ่ใช้ในการวิเคราะห์ว่าควรจะเข้าเทรดอย่างไรและที่ไหน ถ้าขาใหญ่ต้องการจะเปิด Buy แบบที่ได้ราคาดีและมั่นในว่าตรงพื้นที่พวกเขาเปิดแล้วราคาไม่ลงไปต่อ พวกเขาก็มอง Order book ที่สำคัญในการมองตลาด ภาพแรกทางซ้ายมือจะเห็นว่ามี Sell stop มากพอกับความต้องการถ้าดันราคาแตะเพื่อให้ทำงาน ขณะเดียวกันมองมาทางซ้ายมือจะเป็น buy limit orders หลังจากดันลงไป ก็จะเป็นตัวป้องกันไม่ให้ราคาลงไปต่อได้ด้วย หรือเป็น support ด้วยการเปิดเทรดด้วย sell orders ไม่มากแถวพื้นที่ ก็จะทำให้ราคาไปแตะ stop loss orders และดันไปหา buy limit orders ของพวกเขาตรงนั้น ขาใหญ่ก็จะได้เข้าเทรดที่ราคาดีกว่าและปลอดภัยด้วยเพราะมี support ที่มาจาก buy limit orders ตามภาพของ order book จะเห็นว่าขาใหญ่เปิดเทรดด้วยแค่ดูข้อมูลเรื่องออเดอร์เป็นหลักขาใหญ่ ไม่จำเป็นต้องมองชาร์ตแบบรายย่อยทั่วๆ ไปที่ต้องมองมาทางซ้ายมือเพื่อใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นเพื่อประกอบการหา trade setup ตามวิธีการ technical analysis
ส่วน order book ที่เลข 2 หลังจากที่ขาใหญ่ได้เข้าเทรด ราคาก็ขึ้นมาตามที่พวกเขาต้องการ เพราะเวลาเทรดหรือจะออกขาใหญ่ต้องการออเดอร์ตรงข้ามที่มีวอลลูมมากพอกับจำนวนที่พวกเขาต้องการเปิดเทรดหรือต้องการปิดเทรด
จะเห็นว่าแม้ว่าการมองตลาดแล้ววิเคราะห์ที่ยกมา ทั้งการวิเคราะห์แนวนอนและแนวตั้ง เมื่อรู้ว่าขาใหญ่อ่านตลาดอย่างไรแต่ไม่มีข้อมูลแบบเขา แต่สามารถใช้ข้อมูลจาก trading transaction ที่เกิดขึ้นได้เมื่อเข้าใจออเดอร์ทำงานอย่างไรและเข้าใจเทรดเดอร์อื่นทั้งที่รอเข้าตลาดและที่อยู่ในตลาด โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่ติดลบ ก็พอจะนำข้อมูลพวกมานี้สร้างเป็น order book แบบคร่าวๆ ด้วยตัวเองได้ แม้ว่าจะไปไม่ตรงทั้งหมดแบบข้อมูล order book ของขาใหญ่แต่ก็ช่วยให้เทรดสัมพันธ์กับการวิเคราะห์ของขาใหญ่ได้ ดังนั้นเมื่อมอง trade setup ทุกครั้งต้องไม่ลืมว่าขาใหญ่สนใจอะไรเป็นหลัก และมองตลาดอย่างไร ประกอบกับการวิเคราะห์แนวนอนเพื่อหา setup ที่สัมพันธ์กับการเทรดของพวกเขา
ทีมงาน : thaiforexbroker.com