ระบบเทรด อินดิเคเตอร์ SupportResistance

อินดิเคเตอร์ SupportResistance

อินดิเคเตอร์ SupportResistance

             การใช้อินดิเคเตอร์ช่วยเป็นการง่ายสุดในการหา trade setup สำหรับรายย่อย ใช่อาจใช้อินดิเคเตอร์ประกอบกันหลายๆ timeframes เพื่อเป็นข้อมูลในการเทรด เช่นมี timeframe สำหรับหา trade setup มี timeframe ใหญ่เป็นเทรนหลักและมี timefrmae ย่อยสำหรับหาจุดเข้าหรือออกที่ตรงหรือใกล้กับจุดที่เข้าเทรดมากที่สุด

             อินดิเคเตอร์ตัวนี้หรือ SupportResistance ก็จะช่วยหาแนวรับแนวต้านให้เองและแจกให้ฟรีด้วย ถือว่าเป็นอินดิเคเตอร์ที่ดีมากเมื่อใช้ควบคู่ความรู้เรื่องการทำงานของออเดอร์ และหลักการ trapped traders และ SupportResistance สำหรับ Metatrader 4  สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ https://github.com/erwin-beckers/SupportResistance  หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติม

SupportResistance

               การติดตั้งก็เหมือนทั่วๆ ไปท่านดาวน์โหลดโปรแกรมมาจะได้ Zip ไฟล์มาแตกไฟล์ออก แล้วคัดลอกกล่อง Include และ Indicators ไปวางในกล่อง MQL4 ได้เลยแล้วท่านก็ปิด Metatrader แล้วเปิดมาอีกรอบ เมื่อท่านเปิดโปรแกรมกลับมาเปิดส่วนที่เป็น Navigator ท่านจะเห็นมีอินดิเคเตอร์ชื่อ SupportResistance เข้ามาลากใส่ชาร์ตท่านได้เลย

                  จะเห็นว่าแทบไม่ต้องตั้งค่าอะไรเลย การตั้งค่าต่างๆ ส่วนที่น่าสนใจก็จะมี SR_Detail ที่เป็นตัวกำหนดในการอ่านข้อมูลเพื่อมาเป็นตัวกรองในการกำหนด SR มี Minimum, MediumLow, Medium, MediumHigh และ Maximum (ส่วนนี้เมื่อท่านเปิดที่ชาร์ตท่านสามารถเปลี่ยนได้ด้วยการใช้ Hotkeys ตามอันดับมา 1-2-3-4-5)  ส่วนที่เกี่ยวกับค่า ZigZag ก็ปล่อยไว้ตามปกติ ถ้าท่านอยากปรับจูนให้ดูเรื่อง ZigZag ประกอบเพราะอินดิเคเตอร์ใช้ข้อมูลจาก ZigZag เป็นตัวประกอบหลัก ส่วนที่ลูกศรชี้จะเป็นส่วนหลักที่แสดงบนชาร์ตเมื่อเปิดขึ้นมา โดยอินดิเคเตอร์กำหนด SR อิง timframe ตั้ง H1 ขึ้นเป็นหลัก (SR_1Hours, SR_4Hours, SR_Daily และ SR_Weakly) จะแสดงตัว SR ที่สร้างจาก timeframe ไหนบ้าง  (และยังมี Hotkeys ในการแสดงผลหรือปิดการแสดงผลเมื่อท่านโต้ตอบกับชาร์ตไม่จำเป็นต้องมากำหนดที่อินดิเคเตอร์ทุกครั้งด้วย W สำหรับ SR_Weekly และ D สำหรับ SR_Daily และ H=SR_4Hours และ I สำหรับ SR_1Hours)

              เมื่อท่านโหลดใส่ชาร์ตหลักพร้อมด้วยค่า defaults ต่างๆ ท่านจะได้ออกมามีส่วนหลักๆ 2 ส่วนในการนำเสนอ อย่างแรกคือสถานะหรือ status ตัวแปรหลักๆ ที่ใช้ในการกำหนดและแสดงผล เส้น SR จะมีการอัพเดทตลอดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เช่นเปลี่ยน timeframe, ย่อหรือขยายหรือกด hotkeys ที่กำหนดไว้ และอีกส่วนจะเห็นเส้น SR แต่ละเส้นก็จะมี label กำกับบอกว่าเป็นเส้น SR ที่เกิดจากการคำนวณแบบ timeframe ไหน และเมื่อท่านขยับเม้าส์ไปทับเส้น SR เช่น ที่ราคาไหน

              ดังนั้นเมื่อท่านเปิดมาแบบนี้ แนะนำให้ท่านใช้ hotkeys ประกอบในการเปลี่ยนแปลงและกำหนดการแสดงผลแทน ไม่ต้องเข้าไปเปลี่ยนบ่อยๆ ที่ settings ของอินดิเคเตอร์

Hotkeys หลักๆ ดังนี้

  • กำหนดรายละเอียด (SR_Detail) ให้กดเลข 1-2-3-4-5
  • แสดงหรือปิดเส้น SR
    • W สำหรับเส้น SR Weekly
    • D สำหรับเส้น SR Daily
    • H สำหรับเส้น SR_4Hours
    • I สำหรับเส้น SR_1Hours

             เนื่องจากค่าที่กำหนดมาจากตัวอินดิเคเตอร์เองกำหนด SR ตั้งแต่ H1 เป็นหลัก ถ้าท่านเป็นผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถแก้โค้ต ท่านจะนำไปใช้กับการเทรดแบบ scalping ก็จะยาก แนะนำให้ใช้กับการเทรดช่วง trade setups ที่เกิดและอ้างข้อมูลตั้งแต่ H1 ขึ้นไปเป็นหลัก

             ข้อดีที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งเมื่อท่านเปิดหลายชาร์ตเป็นตัวอย่างเปิดชาร์ต H1 H4 และ D1 แล้วใช้อินดิเคเตอร์ตัวแปรกำหนดเดียวกันคือให้ตีแต่เส้น SR_1Hours ด้วยการกดที่ตัว I ที่ทุกชาร์ต (กด W D ก่อนเพื่อปิด SR ตัวอื่นด้วย) การคำนวณของอินดิเคเตอร์ถือว่าดีมากเพราะแสดงเส้น SR_1Hours ที่ราคาเดียวกันหมดแม้ต่าง timeframe ตรงนี้ข้อดีคือช่วยให้ท่านวิเคราะห์แบบหลาย timeframe ประกอบกันได้

            หลักๆ ของการใช้งานคืออินดิเคเตอร์จะหาแนวรับหรือแนวต้านให้เอง การเทรดท่านต้องเข้าใจหลักการเทรดแนวรับ แนวต้านทั่วๆไป เปิดเทรดตอนที่ราคากลับมาหรือ pullback หรือเป็นการเทรด breakout เมื่อเห็นราคาเบรคขึ้นหรือลงไป เช่น หลักการเทรดทั่วๆ ไปเมื่อท่านมองเส้น SR หรือ support resistance ท่านไม่ครวจะมองแค่ราคาเดียวแบบที่อินดิเคเตอร์ตีเส้นให้ เพราะอินดิเคเตอร์จะหาเส้นที่เป็นจุด peak ของพื้นที่ให้เป็นหลัก การมองเส้น SR พวกนี้ให้ท่านมองเป็นพื้นที่ประกอบ เข้าใจเรื่อง SR ว่ายิ่งราคามาแตะหลายรอบ ก็จะดึงดูดให้เทรดเดอร์ต่างๆ หันมาสนใจเยอะ เลยทำให้ liquidity เกิดที่พื้นที่ SR นั้นๆ เยอะ ดังนั้นพื้นที่ SR จึงมักจะเห็นการออกจากเทรดถ้าถือ positons ก่อนราคาไปถึงหรือเข้าเทรดเมื่อราคาไปถึง หรือถ้าเกิด stop hunt ก็จะมักเกิดที่จุด SR เพราะเรื่อง liquidity เพื่อการเข้าเทรดของขาใหญ่เป็นหลัก

              เช่นการใช้อินดี้ในการเทรด ตอนนี้เกิด Pinbar ถ้าราคาดันขึ้นไปด้านบนตามภาพได้ Pinbar ตัวนี้จะกลายเป็นข้อมูลสำคัญว่าเป็นผลจากการเข้าเทรดของขาใหญ่เพราะจะกลายเป็น stop hunt ทันที ถ้าราคาย่อตัวลงมา ก็จะเปิดโอกาสให้เทรดตามที่ขาใหญ่เปิดเทรด เพราะร่องรอยการเทรดเปิดเผย ท่านก็ใช้ SR ที่มาจากอินดิเคเตอร์เป็นตัวหาว่าท่านควรจะกำหนด take profit ตรงไหนก่อน เพราะตรงเส้น SR นั้นเป็นจุด flipping SR พอดี ก่อนที่จะกลายมาเป็น Resistance บอกว่าเป็น Support มาก่อนๆ ที่ราคาจะเบรคลงมา

              จะเห็นว่าเมื่อท่านใช้อินดิเคเตอร์ตัวนี้จะช่วยให้ท่านหา SR ได้ง่าย สามารถมองและวิเคราะห์หลาย timeframe ได้แบบชัดเจนเทียบกับเส้น SR ช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ในเรื่องของ technical analysis

เพิ่มเติม

https://github.com/erwin-beckers/SupportResistance

best broker forex

จัดอันดับ 10 โบรกเกอร์ Forex ดีที่สุดในไทย

ช่วยให้เทรดเดอร์ตัดสินใจเลือก โบรกเกอร์ Forex ได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา เทรดกับโบรกเกอร์ที่มีคุณภาพ ไม่ต้องเสี่ยงเรื่องการโดนโกงอย่างแน่นอน

โบรกเกอร์ Forex 10 อันดับ

ทีมงาน : thaiforexbroker.com