อ่าน price action ด้วยปริบทหรือบาร์ต่อบาร์

อ่าน price action ด้วยปริบทหรือบาร์ต่อบาร์

อ่าน price action ด้วยปริบทหรือบาร์ต่อบาร์

                การอ่าน price action อย่างแรกที่จำเป็นคือความสามารถในการอ่านบาร์หรือบาร์ต่อบาร์ อย่างแท่งเทียนที่เป็นที่นิยมกันในการใช้อ่าน price action จะมีตัวประกอบหลักๆ แต่ละแท่งเทียนคือ ราคาเปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด และราคาปิด สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือ หางบาร์ทั้งด้านบน (upper wick) และด้านล่าง (lower wick) และตัวขนาดแท่งเทียนหรือ body size เพราะสื่อความหมายได้อีกเยอะ การอ่าน แท่งเทียนเพื่อเปรียบเทียบอย่างน้อย 2 บาร์ขึ้นทำให้เกิดเป็น price action patterns ต่างๆ เช่น Pin Bar, Engulfing Bar เป็นต้น แต่การแค่จะมาอ่านแต่ price action patterns ต่างๆ แล้ว แต่เทรดที่จุดแนวรับแนวต้านยังไม่พอ เพราะเทรดเดอร์อื่น ๆ ก็มองเห็นทำสิ่งเดียวกัน เลยกลายเป็นจุดที่ขาใหญ่จะหาได้ง่ายกว่ารายย่อยว่าคิดและแถวไหนอย่างไร

                เช่นเงื่อนไข Pin Bar มี 1. ราคาเปิดและราคาปิดต้องอยู่ภายในบาร์ก่อน 2. หางบาร์ต้องยาวอย่างน้อยสามเท่าของขนาด body size และ 3 หางบาร์ที่ยื่นออกไปต้องเกินบาร์อื่นๆ เห็นได้ชัดเจน

                Pin bar เลข 1 แม้ว่าจะเกิดพื้นที่เดียวกัน ท่านอาจมองว่าเกิดที่ support ได้เพราะกิดขึ้นที่ราคาวิ่งมาแล้วเด้งหลายบาร์ ราคาไม่เกิน new high ที่ราคาทำได้ ราคากลายเป็นเข้าโหมด consolidation นาน และรอบสองที่ราคาก็เด้งที่เดียวกันอีกจนสุดท้ายเบรคขึ้นไปด้านบนอย่างแรง เมื่อท่านมองปริบทประกอบ ท่านจะเห็นว่าที่ราคาเด้งที่ pin bar ที่เลข 1 เป็นเพราะ momentum bar ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิด pin bar และ momentum bar  นั้นถือว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่เพราะ ราคาเอาชนะพื้นที่ด้ายซ้ายก่อนราคาจะขึ้นแรงๆ และมีคนเสียด้วย (หลักการเทรดของขาใหญ่ จะเทรดก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ตรงข้ามมากพอและจะดันราคาก็ต่อเมื่อมีคนที่จะเสีย  ตรง momentum bar ได้เงื่อนไขนี้หมด)

                Pin bar  เลข 2 ตรงส่วน body อาจมากไปหน่อยหนึ่ง แต่ก็ยกตัวอย่างให้เห็นหลักการหลักๆ ของ pin bar คือว่า trading pressure เข้ามาทางนั้นๆ แต่เมื่อท่านเข้าใจเรื่องออเดอร์ เรื่องออเดอร์อธิบายว่า หางบาร์ที่เกิดขึ้นยังบอกถึงการไปลด liquidity หรือ limit orders ที่พื้นที่นั้นๆ ด้วย ถ้าราคามาอีกก็จะทำให้ราคาผ่านไปได้ง่าย  ดูบาร์ก่อนและบาร์หลัง pin bar เลข 2 ก็มีหางแบบเดียวกัน แต่เมื่อท่านมอง lower wicks หรือหางบาร์ด้านล่างจะเห็นแค่ที่บาร์หลัง pin bar แต่ก็ปิดต่ำกว่า pin bar ไม่ได้ เมื่อท่านอ่านปริบทที่ราคาวิ่งยาวๆ ขึ้นมา เป็นผลการเข้าเทรดและอ่านเรื่องออเดอร์ประกอบ ท่านจะไม่เทรด pin bar ลักษณะแบบนี้ เพราะออเดอร์ด้านที่เกิด pin bar ใช้ไปเยอะ และไม่มี market oders หนุนเพราะราคาไม่สามารถปิดล่างได้ แบบนี้ท่านจะเปิดเทรดก็ต่อเมื่อเห็นราคาหลัง pin bar เลข 2

              Pin bar เลข 3 ทำงานได้ดีเพราะปริบท ราคาหลังเบรค demand ราคาทำ lower low ได้แต่ราคาผ่านไปหลายบาร์กว่าจะลงได้เพราะเมื่อมองมาทางช้ายมือพื้นที่ๆ เป็น pin bar เลข2 เป็น demand จนกว่าราคาเบรคลงมาทำ lower low อีกเอาชนะพื้นที่นั้นไปได้ ถ้ามองเรื่อง trade setup ประกอบ พอราคามาถึงตรงนี้ได้ท่านจะหาโอกาสเปิด sell เป็นหลักจะได้เปรียบก็มองหาจุดที่อิงจากจุดด้านบนที่ลงมา

                Pin bar เลข 4 ทำงานได้ดีเพราะเกิด demand ที่ lower low ที่เกิดขึ้น และเมื่อมองถึงต้นตอที่ลงมาจะเห็นว่าราคามีทางไปได้ง่ายการเทรด pinbar นี้เลยออกผลมาค่อนข้างดีและเพราะมี trapped trders ประกอบอยู่ด้วย

                 Pin bar ที่เลข 5 น่าจะเห็นการเทรดที่ชัดเจนที่สุดเมื่อประกอบกับปริบทราคาที่เกิดขึ้น ทำให้เทรดด้วยความมั่นใจสุด เพราะราคาได้บอกก่อนว่าราคาอยากไปทางไหน ตอนที่ราคาลงไปทำ Lower low ที่ต่ำสุดก่อนที่ราคาจะกลับมาตรงนี้ เพราะราคากลับไปที่ supply ด้านบน ที่มีการเข้าเทรดและมีร่องรอยเปิดเผยว่าเอาชนะ ฝั่งตรงข้าม ก่อนที่ราคาจะกลับมาและเกิด price bar ที่เลข 5

                 Pin bar เลข 6 ก็จะลักษณเดียวกันกับ Pin bar เลข 2 แต่ตรรกะตรงกันข้าม

                อีกตัวอย่าง Engulfing bar  – บาร์ที่ถือว่าเป็น engulfing bar ได้ต้องสามารถ “engulf” หรือคลุมพื้นที่บาร์ก่อน อย่างน้อย 1 บาร์ก่อนได้หมด เงื่อนไขคือ body size ต้องใหญ่และชัดเจนเมื่อเทียบกับบาร์ก่อน และต้องเกิดที่จุดพวก swing points

                 บาร์ปิดทางไหนถือว่าทางนั้นสำคัญ เลยเป็น Bullish Engulfing Bar ถ้าปิดบน หรือ Bearish Engulfing Bar ถ้าปิดล่าง เมื่อท่านเปรียบ engulfing bar ต่าง timeframe เช่น timeframe ที่ใหญ่ขึ้นท่านจะเห็นเป็นหางบาร์ยาวๆ หรือ long wick ด้านใดด้านหนึ่ง สำหรับ pin bar และ engulfing bar อธิบายด้วยเรื่องออเดอร์มีแต่เทรดเดอร์อยากเทรดทางนั้น

                เลข 1 Bullish Engulfing Bar เกิดหลังจากราคาเบรค swing high มา และราคาก็เกิด consolidation สุดท้ายก็เกิดขึ้น อีกอย่างหนึ่งแนะให้สังเกตเมื่อดู engulfing bar ให้ดูว่าเกิดหางบาร์ทางที่ปิดยิ่งดี เพราะไม่มี trading pressure เข้ามามีแต่ทางที่เกิด engulfing bar จะเห็นว่าโอกาสเกิดขึ้นเมื่อบาร์ ปิด หรืออีกรอบตอนราคากลับมาจนกว่าราคาเบรคลงไปที่ Bullish Engulfing Bar เลข 2

                จากตัวอย่างที่ยกมา  การอ่านบาร์ต่อบาร์ และดู price action forms ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Pin bar และ Engulfing bar จะเห็นว่าเกิดขึ้นประจำสำหรับอ่าน price chart แต่เมื่ออ่านปริบทราคาเป็นแล้วใช้ price action patterns พวกนี้ประกอบจะช่วยได้มากกว่าแค่อ่าน รูปแบบที่เกิดที่แนวรับหรือแนวต้าน เพราะเมื่อเข้าใจปริบทราคาจะไม่ยึดติดรูปแบบ price action ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

 

ทีมงาน : thaiforexbroker.com