Price Action Part I
ตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้มานานพอสมควรครับ แต่.. ความรู้ด้านนี้ยังไม่เยอะ ยังไม่พอจะฝอย แบบ เนียน ไหลลื่นได้ เลยต้อง อ่าน ฟัง ดู clip เพิ่ม เพื่อเอามาประกอบการเขียนครับ ถึงตอนนี้น่าพอจะมีความรู้ที่จะนำเสนอและโม้ได้บ้างแระ … ตามมาเลยครับ
Price Action เป็นคำที่เริ่มได้ยินกันมากขึ้นเรื่อยๆในวงการเทรดบ้านเรา เมื่อก่อนเราจะคุ้นเคยกับคำว่า Technical Analysis และ ตามด้วยคำว่า Indicator, ซึ่ง Indicator เองเป็นระบบที่ง่ายต่อผู้ใช้ แต่ เนื่องจากสัญญาณมัน ถูกคำนวณจากแท่งเทียนหลายๆแท่ง จึงก่อให้เกิดการ delay เป็นธรรมชาติ, แล้วถ้าไม่อยาก delay จะทำอย่างไรดี ? ก็จะมี Technical อีกแขนงหนึ่ง ที่จะใช้ ทักษะ การจดจำ รายละเอียดการเคลื่อนไหวของราคา มาใช้ในการตัดสินใจเทรดเลย นั่นก็คือ แขนง Price Action นั่นเอง
ใน ปัจจุบันยังไม่มีนิยามที่เป็นมาตรฐานของคำว่า Price Action, คำนิยามที่เป็นกลางที่สุดน่าจะเป็นหมายถึง “การเคลื่อนไหวทุกอย่าง ของราคาบนกราฟ” ซึ่งกว้าง มาก …
ซึ่งเทรดเดอร์สาย Price Action เป็น แขนงที่ต้องคอยจดจำรายละเอียดการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง ต้องดูซ้ำๆ จนเริ่มเห็นรูปแบบ และ จำได้ จากนั้นก็ต้องฝึกฝนซ้ำๆอีกให้คล่องแคล่ว จึงใช้เวลา และ อาศัยความพยายามอย่างมาก เหมาะกับ เทรดเดอร์ ที่จริงจังมากเท่านั้น ดังที่ปกหนังสือเขียนไว้ว่า “For the serious trader” หากลองเทียบเคียงกับสาย Indicator แล้ว ใช้เวลาเรียนรู้น้อยกว่ามาก และ เห็นสัญญาณชัดเจนเช่น เส้นเขียวตัดเส้นแดงขึ้นก็ให้ซื้อ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เห็นชัดและง่าย, สาย Indicator จึงง่ายต่อผู้ที่เทรดใหม่ หรือ ไม่มีเวลาให้กับการเทรดมากนัก
เทรดเดอร์สาย Price Action เป็นการติดตามการเคลื่อนไหวของราคา ดังนั้นจึงต้องเริ่มจาก สิ่งทีเป็นพื้นฐานที่สุดบนกราฟ นั่นก็คือ ตัวแท่งเทียนนั่นเอง
Trend Bars and Doji Bars
ตลาดมีสองสภาวะใหญ่ๆ คือ เป็นเทรน หรือ ไม่เป็นเทรน (Side way / Trading Range) หากมองในระดับของแท่งเทียน ก็จะเป็น แท่งเทรน (ขาขึ้น/ขาลง) หรือ แท่ง sideway (Doji) สำหรับแท่งเทรน ควรจะมีลักษณะที่มีลำตัวแท่งใหญ่พอสมควร ยิ่งลำตัวใหญ่ก็ยิ่งบอกถึงความแข็งแรง ปกติ ลำตัวแท่งเทียนใหญ่ หมายถึงเทรนที่แข็งแรง แต่ถ้าเป็นแท่งที่ใหญ่มากที่มาหลังจากการเดินทางที่ต่อเนื่องมานาน หรือ การ Break out จะกลับเป็นแท่งหมดแรงแทน ซึ่งจุดนี้เองที่มือใหม่อาจจะไม่เข้าใจ และ ไปซื้อตามน้ำกันตลอด ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการติดดอย หรือ ติดเหวกันบ่อยๆ นั่นเอง ส่วนแท่งเทียน Doji (โดจิ ในภาษาญี่ปุ่น) คือ แท่งเทียนที่มีขนาดลำตัวเล็กมาก หรือบางครั้งอาจจะไม่มีลำตัวเลย (เนื่องจาก ราคาเปิด และ ราคาปิดอยู่ที่เดียวกัน) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแรงซื้อกับแรงขายที่สมดุลกันนั่นแอง
Doji Candlestick
บางเรื่องที่เราอาจไม่เคยสังเกตเกี่ยวกับ Doji กับ Trend Bar ในบางกรณี Doji bar อาจจะเป็น Trending-Doji ได้ เช่น ถ้ามันยกตัวขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับที่ โดจิ ไม่ได้หมายถึงว่า จะเป็น sideway เสมอไป, ในบางกรณี แท่งเทรน ก็ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นเทรนเสมอไป, สังเกต แท่งที่ระบุด้วย 1 ในรูป 1.3 (สีขาวใหญ่ แทบไม่มีใส้บนล่าง), ตัวมันเองเป็นแท่งเทรน ที่ดูเหมือนจะ break out ออก มาจาก ชุดโดจิ, แต่หลังจากนั้น ไม่มีแท่งคอนเฟิร์มตามมาเลย, หากเจอกรณีแบบนี้แล้ว เราได้ตามเข้าซื้อขึ้นไป ให้คัดลอส ที่ราคาต่ำกว่า ตัวแท่ง 1 เล็กน้อย นั่นคือเมื่อจบแท่ง 2 ในรูปนั่นเอง
Signal Bar
ในการพูดถึงแท่งเทียน มีคำศัพท์อยู่สี่คำ ที่ควรจะรู้จักไว้ คือ
1.Candle Pattern คือ ชุดกลุ่มของแท่งเทียน ที่มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อเห็นอีกครั้งเราจะบอกได้ว่ามันมีลักษณะเหมือนที่เคยเห็นก่อนหน้านี้
2.Setups คือ รูปแบบของแท่งเทียนที่เมื่อเทรดเดอร์เห็นแล้ว มั่นใจว่าถ้าเข้าออเดอร์แล้วจะกำไร ซึ่ง Setups จะมีสองแบบ บางครั้ง Setup อาจจะเป็นกลุ่มแท่งเทียนที่เราเรียกกันว่า Candle Pattern แต่บางครั้งอาจจะป็นแท่งเทียนแท่งเดียวก็ได้
3.Signal Bar คือ แท่งเทียนสุดท้ายก่อนจะเข้าออเดอร์ (Signal Bar จะเป็นส่วนหนึ่งของชุด Setups)
4.Entry Bar คือ แท่งเทียนที่เราได้เข้าออเดอร์ไป
จากคำศัพท์ทั้งสี่ที่กล่าวมา สิ่งที่เทรดเดอร์มองหามากที่สุดคือ Signal Bar นั่นเอง, Signal Bar ที่เราควรจะมองหาคือ Signal Bar ที่เป็นสัญญาณให้เข้าออเดอร์ ทิศเดียวกับเทรน, การใช้ Signal Bar ที่ สวนเทรน หรือ โดจิ มีโอกาสที่จะล้มเหลว (สัญญาณหลอก) ได้ง่าย, เราควรจะเข้าออเดอร์เมื่อตลาดเลือกทิศเรียบร้อยแล้วว่าจะขึ้น หรือ ลง โดยอย่างน้อยที่สุดก็ควรจะแสดงอย่างชัดเจนแล้วใน Signal Bar เป็นต้นไป
Signal Bar ที่รู้จักกันดีที่สุดคือ แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น ซึ่งจะมีสมบัติดังข้างล่าง ซึ่งอาจจะมีสมบัติหลายข้ออยู่ในแท่งเดียวกันก็ได้ (รูปชุดนี้ผมวาดเพิ่มเอง จึงไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไหร่ แต่ก็คงจะสื่อในสิ่งที่ต้องการแสดงไว้ได้)
– ราคาเปิดใกล้หรือ ต่ำกว่าราคาปิดของแท่งก่อนหน้า, ราคาปิดอยู่เหนือราคาเปิดของตัวเอง, ราคาปิดอยู่เหนือราคาปิดของแท่งที่แล้ว (สมบัติทั้งสามข้อต้องมีในแท่งเดียวกัน)
– ใส้เทียนล่างยาวประมาณ 1/3 ถึง 1/2 ของลำตัว และ ใส้บนน้อยมากหรือไม่มีเลยยิ่งดี
– แท่งก่อนหน้ากับแท่งปัจจุบัน มีส่วนที่ overlap น้อยมาก สำหรับ แท่งเทียนกลับตัวขาลง ก็มีลักษณะแบบเดียวกัน แต่ กลับทิศทาง
แต่ แท่งเทียนกลับตัวอย่างเดียว ให้น้ำหนักไม่พอสำหรับการเข้าออเดอร์ เราจะต้องดูบริบทรอบข้างประกอบด้วยเสมอ โดยเฉพาะแท่งก่อนหน้า แท่งกลับตัว ด้วย
ถ้า เทรนเก่านั้นแรงมาก เราจำเป็นต้องรอให้ทะลุ เส้น Trend Line ก่อน (กำกับด้วยเลข 1 สีส้ม), แล้วรอให้ราคากลับมาทดสอบเส้น Trend Line นั้นๆอีกรอบ, จากนั้นถ้ามี แท่งเทียนกลับตัวที่สวยงามและแข็งแรง บริเวณ Trend Line (กำกับด้วยเลข 2 สีน้ำเงิน) ถึงควรจะเข้าออเดอร์
แล้ว ทำไมถึงต้องรอให้มีการทดสอบกันอีกรอบ ? คำอธิบายมีอยู่ว่า เมื่อตลาดขาลงกำลังจะจบ คนซื้อขึ้นเริ่มเข้ามาซื้อ แล้ว ราคาก็ขึ้น แต่เมื่อราคาได้กลับมาบริเวณ Low เดิม, มันเป็นบททดสอบครั้งสำคัญของฝั่งซื้อ ว่า จะยังมีแรงซื้อที่แข็งแรงเข้ามาอีกไหม หรือว่า จะถูกแรงขายเอาชนะ แล้วกดราคาให้เป็น New Low, ในกรณีที่แรงขายไม่สามารถเอาชนะแรงซื้อ (เพื่อกดราคาลงต่ำกว่าเดิมได้) มันจะกลายสัญญาณที่ชัดเจนว่า แรงขายแพ้ แรงซื้อชนะ ซึ่งจะส่งผลให้ทุกคนมั่นใจว่าเป็นขาขึ้น ทำให้กลายเป็นขาขึ้นที่แข็งแรงนั้นเอง, นี่คือเหตุผลว่า ทำไม Double Bottom, Double Top ถึงได้สัมฤทธิ์ผลบ่อยๆ, รวมทั้งเป็นเหตุผลว่า ทำไมตลาดจะยังไม่เป็นขาขึ้นที่แข็งแรง จนกว่า จะได้กลับมาทดสอบ Low เดิมอีกครั้งและเอาชนะสำเร็จนั่นเอง (เพราะทุกคนยังไม่ได้เห็นภาพที่ แรงซื้อ K.O. แรงขายให้เห็นชัดๆ นั่นเอง)
ตอนนี้ เบรกตรงนี้ก่อนนะครับ Price Action ยังมีอีกเยอะ มาดูกัน Part II นะครับ
ทีมงาน : thaiforexbroker.com