OVER BOUGHT OVER SOLD
ตอนนี้ขอนำเสนอแนว ๆ วิชาการนะครับ เรื่อง Over Over สภาพตลาดที่เกิดภาวะซื้อมากเกิน (Over Bought) และขายมากเกิน (Over Sold)
สำหรับความหมายโดยนัยของคำว่า ซื้อมากเกิน (Over Bought) และขายมากเกิน (Over Sold) อ.สุรชัย ไชยรังสินันท์ ท่านได้เปรียบเทียบกับความเร็วของรถยนต์ครับ แต่ผมจะอธิบายให้เข้าอย่างนี้ว่าเมื่อผู้คนในตลาดแห่กันซื้อ (Long Position) กราฟก็จะพุ่งขึ้นสูงและ Indicator ก็จะพุ่งขึ้นสูงตามกราฟราคา (เรียกลักษณะนี้ว่า Convergence ) จน Indicator เข้าสู่จุดสูงสุดและกำลังจะหักหัวลงลักษณะอย่างนี้เรียกว่า ซื้อมากเกิน (Over Bought),(OVB) แปลว่าผู้คนในตลาดซื้อกันจนเต็มที่แล้วอีกไม่ช้าไม่นานจะต้องมีการปล่อยของออกมาขายกันแน่ๆเพราะคนในตลาดเริ่มที่จะหยุดการซื้อ บางส่วนอาจกำลังซื้อแต่ซื้อในจำนวนที่น้อยลงจึงเห็นว่าราคายังเคลื่อนตัวขึ้นไปได้นิดหน่อย (หากว่า Indicator ได้หักหัวลงหรือเคลื่อนตัวลงมาแต่กราฟราคายังไม่แสดงออกชัดเจนยังคงเคลื่อนตัวตามทิศทางเดิมต่อไปลักษณะอย่างนี้เรียกว่า Divergence)
ส่วนความหมายของ ขายมากเกิน (Over Sold) ก็คือลักษณะที่ตรงข้ามกับภาวะซื้อมากเกินนั่นเองอธิบายคือ เมื่อผู้คนในตลาดแห่กันขายของ-ระบายของ (Short Position) กราฟก็จะทิ้งดิ่งร่วงอย่างไม่ลืมหูลืมตาและ Indicator ก็จะร่วงลงตามกราฟราคา (เรียกลักษณะนี้ว่า Convergence ) จน Indicator เข้าสู่จุดต่ำสุดและกำลังจะหักหัวขึ้นมาลักษณะอย่างนี้เรียกว่า ขายมากเกิน (Over Sold),(OVS) แสดงว่าอีกไม่ช้าไม่นานจะต้องมีการกว้านซื้อของเก็บเข้าพอร์ทกันแน่ๆเพราะคนในตลาดเริ่มที่จะหยุดการขายหรือระบายของหมดแล้ว บางส่วนอาจกำลังขายแต่ขายในจำนวนที่
น้อยลงจึงเห็นว่าราคายังเคลื่อนตัวลงต่อไปได้นิดหน่อย (หากว่า Indicator ได้หักหัวขึ้นหรือเคลื่อนตัวขึ้นมาแต่กราฟราคายังไม่แสดงออกชัดเจนยังคงเคลื่อนตัวตามทิศทางเดิมต่อไปลักษณะอย่างนี้เรียกว่า Divergence)พอจะเข้าใจกันคร่าวๆแล้วนะครับถ้ายังงงๆอยู่เรามาดูตัวอย่างกันจะได้หายงง Oscillator ตัวแรกที่จะมาแนะนำคือ Indicator ยอดนิยมตลอดกาลอย่าง Relative Strength Index (RSI) ครับ
สำหรับ Relative Strength Index (RSI) นั้นความเร็วจะต่ำกว่าIndicator ตัวอื่นๆแต่ก็ว่ากันว่ามันหลอกน้อยกว่า Oscillator ตัวอื่นๆ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าเครื่องมือแต่ละชนิดจะมีดีแตกต่างกันไปเพราะฉะนั้นผู้ศึกษาต้องคอยสังเกตให้ดีว่าสถานการณ์แบบใดเครื่องมือชนิดไหนวิเคราะห์ได้แม่นยำที่สุด แล้วก็เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สำหรับผู้เขียนจะใช้ RSI มองแนวโน้มยาวๆอย่างกราฟ 4ชม. หรือ 1วันขึ้นไปเป็นต้น (สำหรับตลาดล่วงหน้า)
-เรามาดูส่วนแรกครับตรงที่ผู้เขียนคำว่า Trend Line ซึ่งแปลว่านอกจากจะขีด Trend Line บนราคาได้แล้วยังสามารถขีดบน RSI ได้ด้วยครับ
-หลังจากที่ราคาทิ้งดิ่งลงมาจากยอดที่ 1 ตรงตัวอักษร OVS ตรงนี้คือจุดขายมากเกินนะครับถ้าใครที่ Short Position อยู่ก็เตรียมตัวออกได้เลยครับ ส่วนใครที่คิดจะเปิด Short Position ต้องดูดีๆนะครับตำแหน่งนี้ไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม สิ่งที่เหมาะสมเวลานี้คือเตรียมตัว Long Position ครับ
-แล้วราคาก็ดีดขึ้นมาจริงๆครับมาทำ OVB (ซื้อมากเกิน) จนได้ ตรงจุดนี้ให้สันนิษฐานว่ายอดนี้เป็นการปรับฐานของแนวโน้มลง ให้เตรียมตัว Short positionตามแนวโน้มขาลงต่อไป
-แล้วราคาก็ทิ้งดิ่งลงมาตามแนวโน้มขาลงจริงๆครับ เห็นหรือไม่ครับว่า RSI ได้ปรับตัวขึ้นโดยก้นบึ้งเก่าสูงกว่าก้นบึ้งใหม่ แต่ที่กราฟราคากลับลงอย่างต่อเนื่องทำก้นบึ้งใหม่ที่ต่ำกว่าก้นบึ้งเก่าไปเรื่อยๆ อย่างนี้ให้ระวังไว้นะครับราคาอาจปรับตัวสูงขึ้น (Divergence ไม่ใช่สัญญาณเข้า-ออก นะครับเพียงแต่ให้ระวังว่าราคาอาจแชเชือนออกจากแนวโน้มเดิมเท่านั้น
จบแล้วนะครับสำหรับ RSI ตัวอย่างต่อไปคือ Stochastic ซึ่งเครื่องมือ ตัวนี้จะให้สัญญาณที่เร็วกว่า RSI ครับ แต่ก็ว่ากันว่าเกิดอาการFalse มากกว่า RSI แต่ผู้เขียนกลับไม่คิดเช่นนั้นครับ บางสถานการณ์การใช้ RSI กลับเรียกว่า “ไม่ทันกิน” แต่เครื่องมืออย่าง Stochastic กลับทำกำไรได้มากกว่า
จากภาพเราจะเห็นว่า หากเปลี่ยนมาใช้ Stochastic ทำให้เราเห็นว่า มีโอกาสเกิด Overbought และ Oversold มากกว่าการใช้ RSI ก็เลยทำให้มีโอกาสเข้าทำกำไรได้มากกว่า จริง ๆแล้ว ผมก็ชอบใช้ Stochastic มากกว่า RSI อยู่แล้ว
สำหรับ Indicator Oscillator ที่บอก Over Bought / Over soldอย่าง RSI, Stochastic, ไม่ใช่เครื่องมือที่จะบอกจุดเข้าจุดออกนะครับ ใช้สำหรับยืนยัน (Confirm) จุดเข้าจุด-ออก และยืนยัน (Confirm) การกลับตัวของแนวโน้มในเบื้องต้นเท่านั้น และใช้ร่วมกับเครื่องมือชนิดอื่นๆด้วยครับ
ทีมงาน : thaiforexbroker.com