ORDER FLOW สำหรับการเทรดฟอเรกเริ่มต้น

ORDER FLOW สำหรับการเทรดฟอเรกเริ่มต้น

ORDER FLOW สำหรับการเทรดฟอเรกเริ่มต้น

                การเทรดฟอเรกเริ่มต้นมีสิ่งจำเป็นหลายสิ่งที่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่จะเริ่มเทรด เพราะความรู้ที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานของสิ่งที่ตามมาทั้งหมดไม่ว่าการมองตลาดหรือหา trade setup หรือการใช้อินดิเคเตอร์ประกอบการเทรด ถ้าเข้าใจตลาดทำงานอย่างไร ออเดอร์ทำงานอย่างไร และเทรดเดอร์มีผลต่อการขึ้นหรือลงของราคาอย่างไร ก็จะใช้ทูลต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                เงื่อนไขบัญชีที่เปิดเทรด เรื่อง leverage  คู่เงินที่เทรดเป็นอย่างไร เช่นเรื่องคอมมิสชั่น เรื่อง swap เรื่องการเรียกใช้ margin เป็นอย่าไงไร เรื่องของสเปรดเป็นอย่างไร  เพราะส่งผลต่อต้นทุนการเทรด แต่จะไม่กล่าวถึงในที่นี้เพราะเป็นเงื่อนไขทั่วๆ ไปที่เทรดเดอร์รู้ดีและหาข้อมูลได้ตอนที่จะเปิดปัญชีเทรดอยู่แล้ว และแต่ละโบรกเมื่อตอนท่านเปิดบัญชีเทรดให้รายละเอียดมากพอ แต่จะให้ความสำคัญเรื่องการเทรดฟอเรกเริ่มต้นเมื่อเปิดชาร์ตขึ้นมาเป็นอย่างไร

เข้าใจชาร์ตและ price movement ว่าทำงานอย่างไรสำหรับการเทรดฟอเรกเริ่มต้น

                การเปิดเทรดแม้ว่าถ้ามองแค่ราคาขึ้นหรือลง แล้วมองไปที่ปุ่มเปิดเทรดก็สามารถเปิดเทรดได้เลย แต่สิ่งที่อยู่เบื้องหลังมากกว่านั้น ไม่ได้แค่ศึกษาอินดิเคเตอร์แล้วใส่เข้าไปแล้วศึกษาเรื่องการใช้งานพอก็เปิดเทรดได้เลย การเข้าใจตลาดทำงานอย่างไรเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการที่ราคาขึ้นหรือลง เพราะการเปิดเทรดด้วย market orders ที่ราคา Best Bid หรือ Best Ask มีจำนวนที่มากเกินที่ volume ที่ราคานั้นๆ การเทรดเกิดขึ้นได้เพราะการ match-and-fill ออเดอร์ 2 ฝั่งที่ราคาเดียวกัน เช่นเมื่อท่านเปิด Buy market orders ด้วยวอลลูม 20.00 ตลาดก็จะจับคู่ทาง Besk Ask ที่ 1.25694 ที่มีวอลลูม 6.00 แต่ market orders ยังเหลือ 14.00 ก็จะวิ่งไปหา 1.25695 ที่จะกลายเป็น Best Ask ก็ใช้ไปอีก 10.00 เหลือ 4.00 และ Best Ask ต่อเป็น 1.25697 ราคาก็ขึ้นไป และจับคู่อีก 4.00 ที่เหลือก็ใช้ marke orders ที่เปิดเทรดเข้าไปหมด นี่คือหลักการที่ทำให้ราคาขึ้นหรือลงเพราะ maket orders ที่เข้ามีที่ราคานั้นๆ เกิน limit orders ที่ราคานั้นๆ เลยวิ่งไปหา liquidity ที่ราคาต่อไป

เข้าใจเรื่องออเดอร์สำหรับฟอเรก

                เนื่องจากออเดอร์ที่เข้ามา market orders ทำให้ราคาขึ้นหรือลงออเดอร์มาจากทั้ง market orders และ limit orders ออเดอร์มาจากเทรดเดอร์ที่ต้องการเทรด แบบทันทีเป็น market orders และแบบกำหนดเงื่อนไขเพื่อเข้าเทรดที่ราคาตัวเองต้องการ ต้องการราคาที่ดีกว่า market price หรือราคาปัจจุบัน เลยทำให้เกิด limit orders ดังนั้น ถ้าเทรดเดอร์ต้องการเข้าเทรดที่ราคาดีกว่า รู้ว่าจะเปิดที่ราคาไหน ก็จะมีการกำหนดเงื่อนไขการเทรดเข้าไปที่ราคานั้นๆ เลยเป็นการกำหนด limit orders เข้าไปที่ราคานั้นๆ เมื่อราคาไปถึงก็จะได้เทรดที่ราคานั้นๆเรื่องออเดอร์เลยบอกว่า Limit orders เพิ่ม liquidity เข้าตลาด สำหรับ market orders ที่เปิดเทรดเข้าไปก็จะได้ match-and-fill ที่ราคานั้นๆเมื่อกลายมาเป็น trading transactions หรือที่เห็นเป็นชาร์ตขึ้นมา หรือบอกว่าได้ชาร์ตเป็นการแสดงผลออเดอร์ที่จับคู่ไปแล้วหรือ filled orders หลักการทำงานนี้จะเห็นว่า market orders วิ่งเข้าไป match-and-fill ที่ limit orders ที่ราคานั้นๆ ก็เลยลด liqidity ที่ราคานั้นๆ เช่นอย่างภาพด้านบนถ้าเป็นการลดหมดหรือใช้ limit orders ที่ราคานั้นๆหมดก็จะทำให้ตลาดหรือ market order ที่เปิดเทรดเข้าไปวิ่งไปหา liquidity ที่ราคาต่อไป

Trading transactions ที่เกิดขึ้นทำให้รู้ว่ามีการเทรดตรงไหนมาก

                สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้เรื่อง ORDER FLOW สำหรับการเทรดฟอเรกเริ่มต้นนั้น การเข้าใจเรื่อง transactions ที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เข้าใจว่าเทรดเดอร์เทรดที่ไหนเพราะ trading transactions เกิดได้เพราะการจับคู่ระหว่างออเดอร์ทั้งสองฝ่ายที่ราคานั้นๆ ดังนั้น ถ้ายิ่งเป็นพื้นที่ๆ มี consolidation เกิดขึ้น บอกว่ามี transactions เกิดขึ้นเยอะ เช่น candlestick หรือแท่งเทียนแต่ละ timeframe ก็จะบอกว่าเกิด transactions ตรงไหนบ้างในช่วงเวลานั้น ดังนั้นพื้นที่ๆ เกิด consolidation จึงมักจะดึงดูดเทรดเดอร์ได้ดี เพราะเห็นว่าเทรดเดอร์เคยเทรดอย่างไรและเปิดเผยอย่างไร ก็จะตามด้วย breakout เลยบอกว่ามีความไม่สมดุลย์ระหว่าง sell และ buy orders เกิดขึ้นผ่านมาเทรดเดอร์เลยมักจะใช้จุดนั้นประกอบการเทรดหรือการออกจากการเทรด เลยทำให้จุดนั้นๆ กลายมาเป็นแนวรับหรือแนวต้าน เพราะข้อมูลที่เทรดได้ใช้ประกอบการตัดสินใจและพฤติกรรมการการเทรดหรือการออกเทรดที่จุดนั้นๆ พื้นที่พวกนั้นเลยมีการนำข้อมูลมาใช้เพื่อสร้างระบบเทรดต่างๆ เช่น support/resistance, supply/demand หรือ breakout เป็นต้น แล้วแต่ประยุกต์ แต่เป็นการใช้ข้อมูลที่เปิดเผยออกมาหมด

แนวรับ-แนวต้าน พื้นฐานสำหรับการเทรดฟอเรกเริ่มต้น

                เมื่อมองจากชาร์ต จะเห็นว่าแนวรับหรือแนวต้าน หลักการทั่วไปบอกว่า ที่กำหนดด้วยการที่ราคาเกิด rejection พื้นที่เดียวกันอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นเพราะเรื่องออเดอร์ที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจของเทรดเดอร์ เพราะเมื่อมองจากชาร์ตเปล่า จะเห็นว่าการเทรดที่เปิดเผยออกมา ที่มีจำนวนมากพอที่จะดันราคาไปทางใดทางหนึ่งได้มักจะเกิดขึ้นที่พื้นที่มีร่องรอยในอดีต เพราะข้อมูลที่ตลาดส่งออกมาส่งผลต่อเทรดเดอร์ที่รอเข้าและยังส่งผลโดยตรงต่อเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดด้วย ยิ่งถ้าเป็นเทรดเดอร์ที่ราคาวิ่งสวนพวกเขาหรือที่ถือติดลบยิ่งเดือดร้อน พื้นที่พวกนี้แล้วแต่การมอง บ้างเป็นหลักการแนวรับแนวต้าน บ้างเป็น supply/demand หรืออื่นๆ แล้วแต่มุมมองและวิธีการใช้ข้อมูลของแต่ละเทรดเดอร์ที่เทรดฟอเรกเริ่มต้นฝึกใช้

                เมื่อมองดูแต่ละกรอบที่เกิดขึ้น แนวรับหรือแนวต้านเกิดเพราะเห็น rejection หรือราคาเด้งที่เดียวกัน หรือราคาเบรค เปลี่ยนจากแนวรับกลายเป็นแนวต้านหรือเปลี่ยนจากแนวต้านกลายเป็นแนวรับ ที่ราคาเด้งไม่ใช่เพราะแนวรับหรือแนวต้านแต่เพราะเทรดเดอร์เปิดเทรดและจัดการการเทรดตรงนั้น เลยทำให้ market orders เกิน limit orders ตรงข้ามเลยเกิดขึ้น เลยทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ระหว่าออเดอร์ เช่นอย่างที่กรอบเลข 1 ราคาเกิด breakout หลังจากที่ราคาอยู่ในกรอบบอกว่า transactions เกิดขึ้นและราคายังในกรอบสมดุลย์ก็จนกว่าเกิด breakout ลงมา บอกว่าความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นหรือ imbalance ระหว่าง sell และ buy ออเดอร์ ดังนั้น ความไม่สมดุลย์ที่เกิดขึ้น เมื่อมองจากชาร์ตเห็นเป็นแท่งยาวๆ ออกจากพื้นที่ consolidation เลยเป็นร่องรอยที่บอกว่าขาใหญ่เข้าเทรด เพราะความไม่สมดุลย์ที่เกิดขึ้นได้แบบนั้น ต้องมีส่วนร่วมมาจากขาใหญ่แน่นอน เพราะขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนเยอะ เลยกลายเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการเทรดแบบ supply/demand หรือ support/resistance

ต้องรู้ว่าการออกจากตลาดเท่ากับการเปิด market order

                อีกสิ่งสำหรับการเทรดฟอเรกเริ่มต้นที่ต้องรู้คือการออกจากตลาดไม่ว่าจะเป็นการปิดเองหรือการแตะ stop loss หรือ take profit เท่ากับเป็นการเปิด market order ราคานั้นๆทั้งหมดข้อแตกต่างคือถ้าเป็นการเปิดเอง เป็นการเปิดmarket orderที่ราคาปัจจุบันหรือBest Bid/Best Askแล้วแต่ทางที่เปิด positionอยู่เช่นท่านเปิดเทรดsellหรือถือshort positionเมื่อท่านปิดออกเท่ากับท่านเปิดbuy market orderที่ราคาท่านปิดออกเช่น ภาพด้านบนที่เลข1จะเห็นว่าราคาอยู่ในกรอบแล้วค่อยตามมาด้วยimbalanceหรือความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์เกิดขึ้น

               ราคาลงอย่างรวดเร็วบอกถึงsell ordersเกิดbuy odersราคาที่วิ่งผ่านลงมาดูกรอบก่อนที่ราคาจะลงจะเห็นว่าแม้ว่าราคาทำตัวอยู่ในกรอบแต่Highอยู่พื้นที่เดียวกันหมดบอกว่าแม้มีความพยายามจะเปิดBuyขึ้นไปแต่เจอsell limit ordersที่กองอยู่ตรงนั้นเลยผ่านไม่ได้เพราะsell limit odersจัดliquidityให้กับbuy market orders มากพอและเกินด้วยเลยหยุดราคาได้trading transactionsที่เกิดขึ้นในกรอบเกิดLong/short positionsด้วยเพราะออเดอร์ที่เปิดแล้วหรือราคายังไม่ได้ปิดพอราคาเบรคลงมาทำให้เทรดเดอร์ที่ถือฝ่ายbuy หรือlong positionsติดลบหรือเรียกเทรดเดอร์พวกนี้ว่า trapped traders

                 ดังนั้นเมื่อเทรดเดอร์พวกนี้ต้องการจำกัดความเสี่ยงคือต้องออกเท่ากับเปิดmarket orderตรงข้ามกับที่เปิดจึงเท่ากับการเปิด sell market order เลยทำให้เร่งราคาไปทางที่ขาใหญ่เทรดด้วยและยังมีเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดตอนราคาเบรคด้วยด้วยการกำหนด sell stop orders ก็เป็นพื้นที่เดียวกันพื้นที่ stop loss ของ trapped traders กลุ่มนี้ที่ตั้งไว้พื้นที่ราคาเกินกรอบลงมา

                หรือการเทรดตอนราคากลับมาครั้งแรกข้อมูลที่เกิดขึ้นเป็นข้อมูลที่เทรดเดอร์ใช้อ้างอิงในการวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรทั้งเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดและเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดพอราคากลับมาและราคาเกิดrejection อีกทั้งเพราะเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดขึ้นไปหาจุดนั้นราคาอาจไม่ผ่านก็จะออกหรือปิดทำกำไร เท่ากับเปิดsell market ordersเทรดเดอร์ที่ติดอยู่ตอนที่ราคาเกิดbreakoutที่ไม่ได้ออกตอนเกิดเบรกเห็นราคาไม่ไปต่ออีกก็ไม่อยากแบกความกดดันอีกรอบก็จะออกก็เท่ากับเปิด sell market orders เทรดเดอร์ที่รอเทรนตามเทรนเห็นราคากลับมาก็หันมาเปิด sell market orders ที่พื้นที่นั้นอีก

                การรู้เงื่อนไขที่ทำให้เกิด market oders ที่จะตามมาทางที่เปิดเทรดเป็นสิ่งต้องผู้เทรดฟอเรกเริ่มต้นต้องเรียนรู้ก่อนการใช้อินดิเคเตอร์หรือการเปิดเทรด เพราะจะเพิ่มความเป็นไปได้สูงในการเทรด

ทีมงาน : thaiforexbroker.com