สูตร Money Managment ตาราง mm Forex ที่ทุกคนต้องรู้

การบริหารจัดการเงิน

Money Management

การบริหารจัดการเงิน Money Management จะมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นระบบที่วางด้วยช่วงเวลา อัตราส่วนการลงทุน หรืออัตราส่วนการเติบโตของเงินทุน แต่เราสามารถแบ่ง MM ได้เป็น 3 แบบ (ในบางที่อาจจะใช้แค่ 2 แบบนะครับ) ดังนี้

1. Constant Investing Money Management – การเทรดแบบนี้คือการตั้งค่าการเทรดตั้งแต่เริ่มเทรดเลย เช่น ตั้งไว้ที่ 2.0 Lot ก็จะเทรดเท่านี้ต่อไปตลอด จนยอดเพิ่มขึ้นมากขึ้นแล้วอาจจะเปลี่ยนการตั้งค่า โดยเริ่มคิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็น MM ที่ง่ายที่สุด ข้อดีคือยิ่งเล่นได้มากขึ้น ความเสี่ยงโดยรวมก็จะยิ่งลดลง และลำดับการได้เสียไม่มีผลต่อการเทรด (เช่น เสียติดกันสิบครั้ง แล้วตามด้วยได้สิบครั้ง ให้ผลไม่ต่างจากได้สลับกับเสียอย่างละครั้ง) โดยทั่วไปจะใช้ MM แบบนี้เป็นตัวเปรียบเทียบกับ MM ในรูปแบบอื่นๆ

ตัวอย่างเช่นดังตารางด้านล่างนะครับ (เทรดด้วย Quantity เท่าเดิมตลอด)
เทรดครั้งที่ เงินลงทุน กำไร/ขาดทุน เทรดครั้งที่ เงินลงทุน กำไร/ขาดทุน
1 1000 +200 1 1000 +200
2 1200 +200 2 1200 +200
3 1400 -100 3 1400 +200
4 1300 -100 4 1600 +200
5 1200 -100 5 1800 +200
6 1100 +200 6 2000 -100
7 1300 +200 7 1900 -100
8 1500 -100 8 1800 -100
9 1400 +200 9 1700 -100
10 1600 -100 10 1600 -100
1500 1500

Constant Investing Money Management

จะเห็นว่ายอดการเทรดเท่ากัน ไม่ว่าระบบจะมีลำดับการกำไร ขาดทุนอย่างไรก็ตาม ข้อดีของระบบนี้ คือ ง่ายๆ ตรงไปตรงมา ไม่คิดมาก ลำดับการเทรดไม่มีผลต่อกำไร ขาดทุน ยิ่งเล่นนานโอกาสเสียหมดตัวยิ่งน้อยลงมาก ส่วนข้อเสีย คือ ทุนเติบโตช้ามาก อาจจะเร็วในช่วงแรก แต่จะช้ามากในช่วงหลังๆ จนต้องปรับแผนใหม่ (บางทีอาจไม่นับการเล่นแบบนี้เป็น MM)

 

2. Martingale Money Managementการเล่นแบบนี้เรียกง่ายๆ ว่า แทงทบ ซึ่งหลายๆ ท่านอาจจะเข้าใจดีจากเว็บพวก Casino ที่เล่นปั่นหัว-ก้อย และมีสูตรตามบอร์ดบอกถึงวิธีได้ 100% หรืออะไรทำนองนี้ (ซึ่งมันไม่จริงหรอก) ซึ่งระบบนี้ใช้หลักการที่ว่า

สมมติฐานที่ 1: เมื่อเราเทรดเสีย การจะกลับไปมีเงินทุนเท่าเดิมนั้นจะยากขึ้น เช่น คุณมีพอร์ทขนาด $100 เสียไปครึ่งหนึ่ง คือ $50 การที่จะทำให้ทุนเท่าเดิมจึงต้องเทรดให้ได้กำไรเป็นสองเท่าของทุนแล้ว (จาก 50-100) ไม่ใช่เทรดเพิ่มอีกครึ่งหนึ่งแบบตอนที่เสีย ลักษณะแบบนี้เราจะเรียกว่า Drawdown ดังนั้นในการเทรดครั้งหลังๆ ควรจะลงทุนเป็นจำนวนมากขึ้น เพื่อให้ทุนกลับมาเท่าเดิมได้เร็วขึ้น

สมมติฐานที่ 2: การเทรดเสียแต่ละครั้ง ในบางโอกาส เมื่อเราเสียครั้งหนึ่งแล้ว โอกาสที่จะเสียครั้งต่อไปจะลดลง เช่นการเทรดพวก Commodities Future ซึ่งอาจมีราคาต่ำสุดในรอบฤดูกาลนั้นๆ และคาดการณ์ได้ว่าราคาจะขึ้นในช่วงต่อไป อาจจะใช้วิธีนี้ หรืออาจจะใช้การเล่นแบบซื้อเฉลี่ยได้ ซึ่งโอกาสที่ซื้อครั้งหลังๆ (ราคาต่ำมากแล้ว) จะมีโอกาสเสียน้อยลง เพราะ Commodities ราคาจะไม่เป็น 0 แน่นอน

ข้อดี: ระบบนี้เหมาะมากสำหรับระบบที่เข้ากับสมมติฐานทั้งสองข้อข้างต้น และอาจใช้ร่วมกับการซื้อเฉลี่ยได้ ผลกำไรที่ได้จากการเทรดครั้งหลังๆ จะเป็นทวีคูณ

ข้อเสีย: ระบบนี้ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับการเทรดที่ใช้ Margin หนักๆ อย่าง Forex เนื่องจากการทบนั้นครั้งหลังๆ จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นทวีคูณ และการเล่น Forex ก็คาดการณ์ได้ยากว่าราคาจะขึ้นหรือลงไปถึงจุดไหน แถมด้วยโอกาสได้เสียของการเทรดแต่ละครั้งยังเป็นอิสระต่อกันด้วย เช่นเดียวกับการเล่น หัว-ก้อย ซึ่งไม่ควรใช้ระบบนี้เช่นกัน เพราะว่าเมื่อออกหัวติดๆ กันหลายครั้งแล้วไม่ได้หมายความว่าครั้งต่อไปโอกาสออกก้อยมากขึ้น โอกาสออกก้อยก็ยังเป็น 50% เท่าเดิม ซึ่งบางครั้งการแจกแจงความน่าจะเป็นในชีวิตจริงก็ทำไม่ได้อย่างตรงไปตรงมานะครับ อีกอย่างด้วยระบบนี้อาจทำให้เสียหมดตัวได้ ในการเทรดช่วงเดียว (ช่วงที่เจอ Drawdown อาจหมดตัวได้)

เนื่องจากระบบนี้ไม่ค่อยเกี่ยวข้องนักกับการลงทุนใน Forex ผมจึงจะไม่ขอกล่าวถึงมากนะครับ ส่วนตัวอย่างรูปแบบการลงทุน อาจจะเป็นได้ทั้งแบบ 2n หรือ 3n ก็ได้ เช่น เริ่มจากจำนวน Lot 0.1->0.2->0.4->0.8->1.6->3.2 อย่างนี้เป็นต้น

Martingale Money Management

3.Anti Martingale Money Management – ระบบนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าตรงกันข้ามกับระบบ Martingale หรือระบบ แทงทบ ซึ่งจะลงเพิ่มเมื่อเงินทุนลดลง แต่ MM แบบนี้ จะเพิ่มจำนวนการเทรดขึ้นเมื่อยอดเงินเพิ่มขึ้นพอสมควรแล้ว ซึ่งลักษณะการเพิ่มของระบบนี้ ในทางคณิตศาสตร์จะเพิ่มในลักษณะของกราฟเอกซ์โพเนนเชียล หรือในลักษณะของอนุกรมเรขาคณิต ซึ่งเป็นระบบที่พวกเราทั่วๆ ไปใช้กันนั่นเอง ส่วนรายละเอียดของระบบนี้ขอเป็นคราวหน้าแล้วกันนะครับ ครั้งนี้ผมเมื่อยแล้ว 555+

ข้อดี: ความเสี่ยงในการเทรดค่อนข้างคงที่ การเพิ่มของเงินทุนเป็นแบบอนุกรมเรขาคณิตซึ่งรวดเร็วมาก

ข้อเสีย: หากควบคุมความเสี่ยงไม่เหมาะสมกับการเทรด หรือมี Trading System ที่มี Expectancy เป็นลบ (แต่เข้าใจว่ามันเป็นบวก T T) หรือการกระจายตัวของการเทรดไม่เหมาะสม ระบบนี้ก็อาจจะเร่งการเสียได้เร็วพอๆ กับเร่งยอดของเงินทุน ซึ่งอันตรายมาก แต่วิธีนี้ก็มีทางแก้ โดยการใช้รูปแบบของการเทรดแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละแบบก็จะเหมาะสมกับนิสัยและสไตล์การเทรดของแต่ละคน

ปล. ช่วงหลังๆ อาจไม่เขียนตัวอย่างนะครับ เพราะว่าผมเหนื่อยอ่ะ เอาเป็นว่าท่านอื่นๆ ถ้าอยากแสดงตัวอย่างการเทรดแบบต่างๆ ก็สามารถแสดงกันได้เต็มที่เลยนะครับ ^^

ปล. 2 เนื่องจากขณะที่เขียน ผมเขียนๆ เอาโดยอาศัยจำๆ เอา อาจจะไม่ได้อ้างอิงความถูกต้องมากนัก ดังนั้นอาจจะมีที่ผิด (จากความเข้าใจผิดของผม) ในที่ใดที่หนึ่งได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง วานท่านผู้รู้ช่วยแก้ไขและตรวจสอบความถูกต้องให้ด้วยนะครับ

และในคราวหน้าเราจะเริ่มพูดถึงขวากที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับนักลงทุน นั่นคือ Drawdown :'(

ข้อคิดข้อที่ 4: เมื่อมี Trading System ที่ดีแล้ว MM จะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะเป็นนักลงทุนประเภทใด ถ้าใช้ Constant Investing คุณจะเป็นนักออมเงินทีดี หากใช้ Martingale MM คุณจะกลายเป็นนักพนัน และสุดท้ายหากใช้ Anti Martingale MM อย่างเหมาะสม คุณจะกลายเป็นผู้มีอิสระภาพทางการเงิน พบกันใหม่ ตอนต่อไป

ทีมงาน : thaiforexbroker.com