จัดการความเสี่ยงตาม price structure

จัดการความเสี่ยงตาม price structure

               สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งเมื่อเปิด position ไปท่านต้องคิดเสมอว่าจะจัดการหรือบริหารความเสี่ยง position นั้นๆ อย่างไร หรือเมื่อมองหลายๆ positions ประกอบกันท่านจัดการกับความเสี่ยงอย่างไร วิธีการที่นิยมกันมากสุดคือการใช้ stop loss อีกวิธีการที่เป็นทางเลือกคือการเฮดจิ้ง (hedging) ซึ่งเป็นข้อดีของตลาดฟอเรก ที่ยอมให้เทรดเดอร์สามารถเฮด positions ที่ราคาวิ่งสวนเพื่อควบคุมสถาณการณ์หรือจำกัดความเสี่ยง

               เมื่อดูจริงๆ ท่านจะพบว่าแม้ว่าจะสามารถสามรถเฮดจิ้ง positions ที่ท่านเปิดไปแล้วราคาวิ่งสวนท่าน แต่ไม่ได้หมายความว่าพอร์ตท่านจะดีขึ้น มันมีผลเท่ากับ stop loss ในตำแหน่งที่เปิดเฮดจิ้งอยู่ดีแค่ว่าการ hedging ยอมให้ท่านรักษาโอกาสหรือไม่ได้ปิดเสียทันที (realized loss) แต่การสูญเสียนั้นเป็น unrealized loss ถ้าท่านยังไม่ได้ปิดจริงแต่ equity พอร์ตท่านก็ไม่ต่างกันจากที่โดน stop loss นอกจากนั้นเรื่อง hedging ถ้าท่านถือรอนานจนข้ามวันก็จะมีค่า swap เกิดขึ้นอีก อย่างหนึ่ง แม้ว่าฟอเรกจะให้ท่านเฮด positions ที่เปิดได้แต่ต้องดูเงื่อนไขการเทรดประกอบด้วยเพราะการเปิดแต่ละ position มีการเรียกใช้ margin เพราะบางโบรกเกอร์เมื่อท่านเปิดเฮดจิ้งตำแหน่งที่ท่านเปิดแต่เงื่อนไขโบรกไม่ได้ลด margin ให้ท่าน เมื่อท่านเปิดเทรดหลายออเดอร์ต่อไปถ้าเยอะมากอาจกระทบเรื่อง margin บัญชีเทรดท่านได้

               Stop loss ทางเลือกแรกที่จบปัญหาเร็วสุดเมื่อราคาวิ่งสวน

               เทรดเดอร์ทุกคนต้องได้ศึกษาเรื่อง stop loss และ take profit มาเมื่อมีการเปิดเทรด หลักการทั่วๆ ไปคือเมื่อเข้าเทรดจุดที่เป็น stop loss ก็จะเป็นพื้นที่ high หรือ low ที่ใกล้สุดมีการบวกเข้าไปอีกเล็กน้อย อีกวิธีการหนึ่งเป็นการกำหนดลงไปเลยหรือเรียกกว่า fixed stop loss ว่ารับการสูญเสียได้เท่าไร  ถ้าราคาผิดทางก็แค่ออกและค่อยหาโอกาสเข้าใหม่ ปัญหาก็คืออาจมีผลกระทบถ้าโดน stop loss บ่อยมากกว่าปิดทำกำไร ทุนท่านก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ทำให้สภาพจิตท่านแย่ลงไป เพราะการเสียที่ต่อเนื่องมีผลต่อการเทรดไม่มากก็น้อย ถ้าเป็นทุนที่ท่านรับการสูญเสียไม่ค่อยได้ก็ยิ่งกระทบการเทรดท่านเยอะ

price structure

               อย่างกรณีการเทรด GBPUSD เข้าด้วยการมองชาร์ต H1 ตรงที่ Sell Entry และ stop loss ด้วยการมองภาพรวมที่ใหญ่ขึ้นเป็น H4 swap level  บวกเหนือขึ้นมาอีกด้วยห่างจากจุดที่เข้าประมาณ 40 บีบได้ ท่านจะพบว่าราคายังดันมาแต่ stop loss โดนชนไปแล้วอีกไม่นานหลายบาร์ต่อมาก็ลงไปต่อตามทางที่ท่านเปิดเทรดซึ่งท่านก็ได้ปิดเสียไปแล้ว แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าท่านเลือกวิธีการ hedging แทนตรงที่ stop loss เช่นท่านเปิด short positions ที่ 0.10 ถ้าวิ่งมาตรงนี้ โดน stop loss และเสียไปท่านก็เสียไป 40 ดอล แต่ถ้าเปลี่ยนจาก stop loss มาเป็นตั้ง buy stop 0.10 ล็อตเท่ากันแทน พอราคามาถึงตรงนี้ท่านก็ติดลบ 40 ดอลเหมือนกันแต่ยังไม่เกิดการสูญเสียเพราะยังไม่ได้ปิด ถือเป็น unrealized loss อยู่ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มติมคือค่าคอมมิสชั่นสำหรับออเดอร์ที่เปิดเพิ่มและค่าสเปรด แต่เมื่อเทียบแล้วยังถือว่าน้อยมาก หลังจากราคาขึ้นไปเปิด stop ราคาก็อยู่ตรงนั้น 5 ชั่วโมงได้ดูจาก H1 บาร์ที่เกิดขึ้น

               ช่วงที่ราคาขึ้นไป แล้วหยุดแถวนั้นหลังจากที่ราคาแตะ stop แล้วขึ้นไปมี pin bar เกิดขึ้นยาวๆ แล้วตามมาด้วย หลายบาร์ทำให้เรารู้ว่านั่นเป็น False Breakout แสดงว่าพื้นที่ที่เราเปิดเทรดตอนแรกเป็นพื้นที่ที่ขาใหญ่จะล่า stop hunting เพื่อให้ตลาดเปิด buy market orders พอดี แม้เราจะบวกเผื่อแล้วก็ยังโดน stop orders ที่ตั้งไว้ ข้อดีแบบถ้าตั้ง stop loss เลยคือถ้าราคาไปต่อไม่ได้ทำเป็น false breakout เราก็จำกัดความเสี่ยงได้ไม่ต้องมาปวดหัวหรือกังวล ไปหาโอกาสเทรดใหม่ แบบสมองปลอดโปร่งเพราะโอกาสเกิดขึ้นตลอด แต่ถ้าจาก stop loss เป็น buy stop แทนแม้ว่าจะมีการสูญเสียเกิดขึ้นเพราะติดลบแต่ท่านยังไม่ปิด แน่นอนว่า equity ท่านก็ลดแต่ท่านยังมีโอกาสที่จะเทรดกลับได้ เพราะด้วยวิธีการจาก stop loss เป็น buy stop มาเป็นการ hedging แทน ตรงนี้เมื่อเทียบ hedging กับ stop loss แม้การสูญเสีย position ที่เปิดอยู่เกิดเท่ากันจริง แต่ stop loss ปิดแล้วออกไปเลย ในขณะที่ hedging กลับรักษาโอกาสไว้ไม่ใช่การปิดจริง และมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นนิดหน่อย

               ท่านจะพบว่าหลังจากที่เกิด false breakout ทำให้ท่านรู้ว่าเป็นการ stop hunting เพื่อเข้าตลาด ท่านสามารถปิด หลังจากที่เห็น stop hunting หรือตอนราคาปิดต่ำกว่าบาร์ stop huting ก็ได้ แล้วตั้ง buy stop อีกทีที่เหนือ false breakout กันไว้ ข้อเสียของการเฮดจิ้งคือท่านต้องอ่านชาร์ตเป็นว่าอะไรเกิดขึ้น ได้เวลาตัดสินใจปิดตัวเฮดนี้ตอนไหน ท่านไม่สามารถหาทางแก้พวกนี้ได้จาก free signals หรือ free trade setups

               หรือถ้าไม่อยาก hedging จะใช้ stop loss เลย

               วิธีการง่ายที่สุดให้ price structure เป็นตัวยืนยัน แต่ราคาอาจวิ่งไปหน่อยแล้วและการตั้ง stop loss อาจกินพื้นที่มากขึ้น เป็นการตั้ง stop loss แบบอิง price structure เป็นหลักแต่โอกาสที่ราคาจะมาแตะ stop loss น้อยลงเพราะเป็นการเทรดเมื่อเห็นขาใหญ่เข้าเทรดอีกรอบ

               ท่านจะเห็นว่า USDCAD D1 ที่ตีกรอบสีเขียว เรามั่นใจว่าตรงนั้นเป็น supply เพราะราคามา rejection ให้เห็นแสดงว่ามี sell limit ครั้งแรกจะเห็นว่ามาจากการปิดทำกำไรของขาใหญ่ ดูที่ชาร์ต H1 แล้วราคาก็ลงมาทำ Low และขึ้นไปทำ high ที่ไม่สูงกว่า ตอนที่ปิดทำกำไรได้แล้วก็วิ่งอยู่ในกรอบ high ก็ถือว่าเป็น supply หรือ resistance ส่วนพื้นที่ low ก็ถือว่าเป็น demand หรือ support ราคาขึ้นไปแต่ก็ยังอยู่พื้นที่ D1 supply พื้นที่สีเขียว พอบาร์ที่เกิด key information บอกหมดว่าขาใหญ่สะสมออเดอร์พื้นที่ colsolidation เป็น short positions พวกเขาต้องดันราคาไปต่อ แบบนี้ง่ายต่อการเทรดเมื่อพวกเขาเปิดเผยและการตั้ง stop loss ท่านก็แค่ตั้งเหนือพื้นที่ consolidation เพราะราคาลงมาตรงบาร์ที่บอกว่า Key information เปิดเผยว่าขาใหญ่ทำอะไรตรงไหน แล้วพวกเขาต้องรักษาตำแหน่งนั้นไว้เพื่อหาโอกาสทำกำไร

ทีมงาน : thaiforexbroker.com