MACD – เข้าใจก่อนแล้วจะใช้เป็น

MACD – เข้าใจก่อนแล้วจะใช้เป็น

MACD – เข้าใจก่อนแล้วจะใช้เป็น

                MACD เป็นอินดิเคเตอร์อีกตัวที่ได้รับการนิยม เพราะง่ายต่อการใช้งาน และ ยังช่วยหาจุดเปลี่ยนเทรนได้ง่ายหรือ Divergence หลักๆ การใช้จะช่วยการหาเทรนใหม่และการจบเทรน ก็จะเปิดโอกาสแรกๆ ให้เทรดตามเกิดเทรนใหม่ด้วยหลักการ Divergence และยังเป็นการเทรดตามเทรนได้หลังจากเกิดเทรนด้วย

อินดิเคเตอร์ MACD ใช้อย่างไร และบอกอะไร

                เนื่องจากการนำเสนอเป็นแบบกราฟฟิกการใช้งานก็จะง่ายดูว่ามีตัวประกอบอะไรบ้างเส้นระดับ 0.00 (เส้น center)เส้นMACDเส้นSingalและMACD Histrogramและอีกอย่างในอินดิเคเตอร์ที่ยกตัวอย่างมาประกอบเป็นMACD Histrogramก็จะตีMACD Divergence ให้ด้วย(การดูเรื่องDivergenceเป็นการดูเรื่องการพัฒนาswing highs/lowsถ้าเทรนจะไปต่อต้องเป็นไปแบบเดียวกันเช่นอย่างด้านบนจุดแรกเป็น Lower High ตามด้วยLower Higherบนชาร์ตแต่เมื่อท่านมองที่MACDจะเป็นการทำ Higher Highs ตามด้วย Higher Lows เป็นต้น)  การตีความก็ดังนี้

                อย่างแรกเลยดูระหว่างการนำเสนอเส้นMACDและSingnalก่อนเมื่อเส้นMACDตัดเส้นSignalขึ้นก็จะบอกว่าเส้นMACDมีทิศทางแนวโน้มเป็นขาขึ้นหรือถ้าเส้นMACDตัวเส้นSignalลงมาบอกเส้นMACDมีทิศทางแนวโน้มเป็นขาลงและให้ดูเส้นประกอบกับเส้นตรงกลางหรือเส้น0ด้วยและส่วนของHistrogramก็จะแสดงผลสัมพันธ์กับเส้นMACDและเส้นSignalเมื่อเส้นMACDตัดเส้นSignalก็จะแสดงผลMACD Histrogram เป็นบวกหรือเหนือเส้นCenterหรือเส้น0

                 โดยสัดส่วนของHistrogramก็จะขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างเส้นMACDและเส้นSingnalและเมื่อค่าMACD Histrogramเป็นลบก็บอกว่าเส้นMACDตัดเส้นSingnalจากบนลงล่างมา การเปลี่ยนแปลง Histrogramก็จะสัมพันธ์กันระหว่างเส้นMACDกับเส้นSignal

                หรือกรณีที่สองเป็นการตัดกันระหว่างเส้นMACDกับเส้นSignalหลักการเบื้องต้นถ้าเส้นMACDตัดเส้นSignalขึ้นเป็นสัญญาณการBuyหรือทางกลับกันถ้าเส้นMACDตัดเส้นSignalจากบนลงล่างบอกเป็นสัญญาณการเปิดSellให้การตัดสัมพันธ์กับเส้นCenterด้วยจะดีเพราะการตัดขึ้นอยู่ล่างก็ยิ่งดีหรือถ้าการตัดลงอยู่เหนือเส้นCenterก็ยิ่งดีถ้าระยะห่างด้วยก็ยิ่งดี

                และกรณีเป็นการใช้หาDivergenceเป็นจะเกิดขึ้นหรือเปล่าเรื่องของDivergenceเป็นเรื่องการกลับตัวของราคาโดยจะดูว่าการนำเสนอของMACDของสัดส่วนswing highs/lowsเป็นไปทางเดียวกันกับ price actionที่เปิดโดยที่ชาร์ตเปล่าเรื่องนี้สามารถใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆเป็นStochastic Oscillator,CCIหรือRSI เป็นต้นช่วยกำหนดหรือเป็นตัวเสริมกันได้เมื่อจะดูว่าเกิดBullish DivergenceหรือBearish Divergence

MACD กับเรื่องของเทรนและ Divergence

ต้องเข้าใจเรื่องการพัฒนาการของเทรนเป็นอย่างไรก่อน ด้วยการดูการพัฒนา swing highs/lows ต่อเนื่องกัน การที่ราคาทำเทรนขึ้น ราคาต้องทำ Higher Highs ตามด้วย Higher Lows ต่อเนื่องกัน ต้องเข้าใจเหตุผลที่ทำให้เกิดเทรนหรือ higher highs ตามด้วย higher lows  ก่อน จะเห็นว่าส่วนสำคัญของ swing คือตอนที่ราคาหลังจากทำ Higher High แล้วย่อตัวมาทำ Higher Low ตั้งแต่จุด Higher Low นี้จนขึ้นไปทำ Higher High ใหม่เกิดขึ้นได้อีกตัว จะเห็นว่าส่วนสำคัญคือการที่ราคาเบรค High เก่า หรือถือว่าเป็น Resistance ที่เพิ่งเกิดขึ้น ราคาเกิดเบรคได้เพราะเทรดเดอร์อยากดันราคาไปทางนั้นต่อ ส่วนมากก็จะเป็นผลจากการที่ขาใหญ่มีส่วนรวมเลยเกิดขึ้นได้ เพราะขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนเยอะ มากพอที่จะดันราคาไปทางที่พวกเขาเทรดได้ ยังตามด้วยการที่ราคาเบรค High ก่อนได้ทำให้เกิด price structure ใหม่เกิดขึ้น ก็จะส่งข้อมูลออกไปทั้งเทรดเดอร์ที่รอเข้าและเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด ได้ข้อมูลใหม่หมด เทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะเข้าตามทั้ง breakout traders และ trend traders  ก็จะหาโอกาสเทรดตามเทรน เลยทำให้เกิดเทรนขึ้น เช่นอย่างขาขึ้นเพราะเทรดเดอร์หันมาเทรดตามข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้นและเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดที่ติดลบก็จำต้องออกพื้นที่เดียวกัน เลยทำให้เกิด Higher Highs ตามด้วย Higher Lows ต่อเนื่องเกิดขึ้นได้

                โดยปกติการใช้อินดิเคเตอร์เป็นข้อมูลเสริมหรือยืนยันการเคลื่อนไหวของราคาทั้งการเคลื่อนไหวทั้งราคาและอินดิเคเตอร์ต้องไปทางเดียวกันหรือเรียกกว่าConvergenceเช่นราคาทำเทรนขึ้นหรือBullish Convergenceเมื่อราคาปรับตัวขึ้นหรือไปทำHigher Highใหม่ได้ทางข้อมูลที่มาจากอินดิเคเตอร์ต้องทำ Higher Highได้เช่นกันหรือถ้าเป็นเทรนลงหรือBearish ConvergenceราคาทำLower Lowได้อินดิเคเตอร์ก็ต้องแสดงผลเช่นกัน แต่เมื่อไรก็ตามการเคลื่อนไหวของอินดิเคเตอร์สวนทางกันหรือขัดแย้งกับการเคลื่อนไหวของราคา นั่นคืออาการที่เรียกกว่า Divergence เกิดขึ้น ก็จะเป็นสัญญาณว่าอาจจะมีการเปลี่ยนเทรนตามมา ก็จะแบ่งออกเป็น 2 อย่างเช่นกันมี Bullish Divergence และ Bearish Divergence

                ดูอย่างที่กรอบเลข 1 เมื่อมองดูที่ชาร์ตจะเห็นว่าราคาสามารถทำ Lower Low –> Lower High -> Lower Low ได้ แต่เมื่อมองที่ MACD จะเห็นว่ากลับทำ Higher Low เกิดขึ้นแทนที่จะเป็น Lower Low ตรงจุดเดียวกันนี้เรียกว่า Divergence  หรือที่เลข 2 ราคาทำ Higher High และอีกตัว Higher High ตามที่เส้นตี แต่พอมามองที่ MACD กลับเป็น Lower High  และ Divergence ยังเกิดขึ้นต่ำกว่าและหนือกว่าเส้น Center ด้วย บอกถึงเกิดพื้นที่ OverBought หรือ OverSold (เรื่อง OverBouhght/Oversold ใช้ CCI, RSI เข้ามาประกอบจะเห็นชัด)

การหาสัญญาณเทรดจาก MACD

                เมื่อท่านเข้าใจเรื่องการทำเทรน และการพัฒนาการของเทรน วิธีการง่ายสุดในการใช้อินดิเคเตอร์ในการเทรดคือใช้ timeframe ย่อยประกอบกับ trade setup ที่ใช้อินดิเคเตอร์เป็นตัวช่วยในการเข้า ข้อมูลที่ได้จากอินดิเคเตอร์ต้องเป็นไปทางเดียวกันกับ timeframe ของ trade setup เนื่องจากการใช้ใน timeframe ย่อยกว่า ก็จะแสดงผลเร็วกว่า ต้องรอให้ในชาร์ตเวลาน้อยลงมายืนยัน ด้วยการปิดแท่งเทียนและเกิดแบบเดียวกัน เช่นอย่างในชาร์ต M15 ราคาที่ชาร์ตทำ Lower Low แล้วมา Lower Low ได้อีก แต่มองที่ MACD กลับทำ Higher Low เกิดขึ้น เปิดเทรดเมื่อราคาปิดและ MACD ยืนยันใน M15

                นอกจากนั้นแล้วยังสามารถใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นเข้าไปประกอบเป็นการยืนยันได้อีก เช่นที่จุดเข้าเทรดที่ชาร์ต M15 ได้ใช้ CCI และ RSI ว่าเปิดเผยข้อมูลแบบเดียวกันหรือเปล่า เพราะถ้าไม่ใช้ timeframe ย่อยประกอบการเทรดที่อิงสัญญาณจาก timeframe ของ trade setup อย่างเดียว จะเห็นว่าราคาได้วิ่งไปแล้วเลยทำให้เข้าเทรดได้ช้า และที่สำคัญอีกอย่างของการใช้อินดิเคเตอร์เพื่อหา trade setup  เนื่องจากการทำงานของอินดิเคเตอร์ใช้ข้อมูลราคาที่เกิดขึ้นแล้วเป็นหลักในการประมวลผล สำหรับชาร์ตที่ท่านกำหนด trade setup ต้องรอให้แท่งเทียนปิดก่อน เพราะราคาปิดเป็นการยืนยันว่าเมื่อเกิด trade setup แล้วราคายังยืนยันที่เกิดขึ้น เพราะถ้าราคายังไม่ปิด แม้ว่าจะเกิด trade setup ให้เป็น แต่พอราคากลับ อาจกลายเป็น false signal ก็ได้ เพราะราคาปิดได้จะยืนยันด้วยข้อมูลจากอินดิเคเตอร์  

การกำหนด stop loss และ take profit

                อย่างที่ยกตัวอย่างมาประกอบเป็นการเทรดแบบDivergenceที่เกิดขึ้นจากสัญญานการพัฒนา swing high/slowsระหว่างราคาและอินดิเคเตอร์ดังนั้นการกำหนดstop lossก็จะอิงจุดhigh/lowพวกนี้ที่เกิดเป็น Divergence เป็นหลักเพราะถ้าราคาเกิดDivergenceจริงราคาต้องไปต่อไม่ลงมาส่วนการกำหนดtake profit ถ้าเป็นการดูเรื่องอินดิเคเตอร์อย่างเดียวเพราะบอกเรื่องการเปลี่ยนเทรนและการจบเทรนสามารถถือรอจนกว่าอินดิเคเตอร์เปิดสัญญาณตรงข้ามกับทางที่เปิดเทรดมา

                จะเห็นว่าการใช้งานMACDไม่ได้ยากทำความเข้าใจตัวแปร และการนำเสนอและโอกาสการเทรดจะเกิดอย่างไรข้อดีที่เห็นชัดๆคือช่วยในการหาDivergenceได้ง่ายและให้รอดูprice actionประกอบtrade setup ที่เกิดขึ้นสำคัญรอให้แท่งทียนที่ชาร์ตสำหรับtrade setupจบลงก่อนแล้วใช้timeframeย่อยลงมาประกอบเพื่อหาจุดเข้าให้สัมพันธ์กับtimeframeของtrade setupดูว่าการตัดกันระหว่างเส้นเกิดที่ไหนถ้าเป็นพื้นที่ oversouldหรือoverboughหลังจากที่เห็นDivergenceเกิดขึ้นใจtimeframeของtrade setupยิ่งดีเข้าใจเรื่องการทำเทรนด้วยการพัฒนาswing highs/lowsด้วยและออเดอร์ที่อยู่เบื้องหลังการทำเทรนอย่างที่อธิบายมาก็จะทำให้เทรดด้วยความเข้าใจและใช้เป็น

ทีมงาน : thaiforexbroker.com