เทรดชาร์ตเปล่า ตอน key levels และ price action พร้อมปริบท

เทรดชาร์ตเปล่า ตอน key levels และ price action พร้อมปริบท

เทรดชาร์ตเปล่า ตอน  key levels และ price action พร้อมปริบท

                พื้นฐานการเทรดชาร์ตเปล่า ตั้งแต่แท่งเทียนที่เกิดขึ้นบอกว่า trading transactions ตรงไหน มาสู่การมองแนวรับแนวต้าน หรืออาจมองเป็น demand/supply zone เมื่อต้องการโฟกัสเรื่อง unfilled orders ที่เหลือและคาดจะมีเพิ่มอีกหลังจากมีการยืนยัน dedmand/supply zone จนมาถึงการเข้าเทรดเมื่อเห็นว่ามี market orders เปิดเผยออกมาและมีเงื่อนไขที่จะทำให้มี market orders เกิดที่ตรงนั้นอีก การตีความ price action ที่เกิดขึ้นแต่ละ key levels จำเป็นสำหรับการเทรดชาร์ตเปล่าเพราะบอกว่าตอนนั้นตลาดกำลังบอกว่าอะไรเกิดขึ้น

                Key levels ในที่นี้  ข้อแรกเลยให้มอง support/resistance เป็นพื้นที่หรือโซนราคาแบบเดียวกับการมอง demand/supply zone ที่เกิดขึ้นเมื่อราคายืนยัน ข้อสอง key levels จะเป็นการมองพื้นที่ๆ มีการโต้ตอบหลายรอบจนโดนเบรคและกลายเป็น key levels ฝั่งตรงข้ามหรือเรียกกว่า flip level ระหว่าง support และ resistance หรือระหว่าง demand และ supply

                จากตัวอย่างจะเห็นว่า key level ตีเป็นกรอบราคาหรือเป็นโซน ให้สังเกตการโต้ตอบของราคา โต้ตอบอย่างไรเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับบาร์ที่สามารปิดบนหรือปิดล่างพื้นที่ key levels และลักษณะบาร์ประกอบด้วย  หลักเรื่องออเดอร์และเรื่องของเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดทำให้รู้ว่ามีเงื่อนไขที่จะทำให้ออเดอร์ที่จะเกิดขึ้นพื้นที่พวกนี้ เทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะใช้ข้อมูลพวกนี้เป็นการวิเคราะห์และตัดสินใจ เลยมักจะได้มีการเรียกพื้นที่พวกนี้ว่ามี liquidity เยอะ

                ดูที่เลข 1 ว่า price action บอกอะไรเมื่อราคามาถึง key level 2 ทำไมจึงสนใจ key level 2 นี้เพราะก่อนที่ราคาจะได้กลายมาเป็น support zone ก่อนนี้ได้เป็น resistance zone แล้วราคาเบรค ดูบาร์นั้นราคาลงแรง แทงต่ำกว่ากรอบล่างของ support zone ราคาเด้งขึ้นเกิดหางบาร์เพราะเทรดเดอร์ที่เทรดตามเทรนหรือ swap level นี้หรือ support zone นี้เข้าด้วย แต่ราคาไม่สามารถตีกลับไปได้ แถมบาร์ต่อมาที่เลข 2 ราคาดันลงและปิดล่าง แทบไม่มีหางบาร์เลย และตามด้วยอีกบาร์ เมื่อมองทั้ง 3 บาร์นี้ก็จะบอกถึง Momentum ของการเข้าเทรด และสิ่งที่ price action เปิดเผยถึงตอนนี้กับที่ key level 2 คือราคาสามารถปิดต่ำกว่าได้

                ตอนนี้มาดูปริบทประกอบว่ามีสิ่งที่ทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะเปิด sell ที่เลข 3 ได้หรือเปล่า ข้อ 1. ดูลักษณะที่บาร์ปิดต่ำกว่า key level 2 อย่างไร ข้อ 2. ดูสาเหตุที่ทำให้ราคาปิดต่ำกว่าได้ จะเห็นว่าเป็น Momentum บอกการเข้าเทรดเพราะราคาวิ่งทางเดียวเลย บอกว่ามีแต่ sell market orders มาก แรง และต่อเนื่อง ไม่งั้นไม่สามารถปิดต่ำกว่าได้ ข้อ 3 ดูต่อไปว่า Momentum เกิดจากอะไร จากการเข้าเทรดเป็นหลักหรือเปล่า เมื่อท่านเอาเรื่อง swing highs/lows เข้าไปประกอบเพื่อดูเรื่องการทำเทรนด้วย ราคาสามารถทำ lower low ได้ เพราะเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามที่ทำให้เกิดกรอบราคา key level 2 ได้  ราคาทำเทรนขึ้นไปเปิดโอกาสให้ขาใหญ่เปิดเทรด sell ได้ง่าย และเมื่อดันราคาลงมาก็จะเกิด trapped traders เมื่อราคาเบรคจุด swing ลงมา ก็จะมีออเดอร์จากเทรดเดอร์กลุ่มนี้ช่วยดันราคาให้ด้วยเมื่อพวกเขาออกจากตลาด

                ที่เลข 3 เป็นการย่อตัวกลับไปหาพื้นที่ราคาเบรคลงมาคือ key levels 2 พอดี ก่อนจะเปิดเทรดต้องดูว่ามีเงื่อนไขอะไรอีกหรือเปล่าที่จะทำให้เกิด sell market orders มากกว่า ก็จะเห็นว่า momentum หรือ Impulsive move ก็จะเปลี่ยนข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดทั้งเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่และเทรดเดอร์ที่รอเข้า ราคาเบรคทำให้รู้ว่ามี trapped traders เกิดขึ้นเมื่อราคาย่อตัวกลับไป ราคาไม่ขึ้นไปต่อ trapped traders พวกนี้ก็จะเดือดร้อน ก็จะหันมาออกเพื่อจำกัดความเสี่ยง และเทรดเดอร์ที่รอเข้าเห็น breakout เกิดขึ้นและเอาชนะ ก็จะมองว่าราคาทำเทรนใหม่เพราะราคาทำ lower low ได้ก็จะหันมาปิด sell เป็นหลัก

                การอ่าน key levels จำต้องเข้าใจที่มาออเดอร์ที่จะเกิดจากเทรดเดอร์ที่ยังถือ positons ที่อยู่แถวนั้นหรือจากจุดอื่นที่จะใช้ที่นั้นว่าจะถือต่อหรือจะออก พอราคาโต้ตอบและเปิดเผยด้วย price action ข้อมูลก็จะมีผลต่อเทรดเดอร์ทั้งที่ถือ positions อยู่ในตลาดและเทรดเดอร์ที่รอเข้าด้วย  การอ่านปริบทประกอบแต่ละ trade setup ที่จะเกิดขึ้นเมื่อราคาเปิดเผยที่ key levels จำเป็น เพราะจะรู้ว่ามีเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่แถวไหน ถ้าราคาไปทางไหน ที่ทำให้เทรดเดอร์พวกนี้เดือดร้อน และที่ตรงไหน เพราะราคาวิ่งขึ้นหรือลงได้ก็เพราะ market orders แต่ market ordersไม่ได้มาจาการเปิดเทรดอย่างเดียว แต่มาจากการออกจากการเทรดด้วย โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด เมื่อ trade setup เกิดขึ้น ถ้าราคาไปทางที่ทำให้เทรดเดอร์พวกนี้จำต้องออกด้วยยิ่งจะทำให้ราคาวิ่งไปได้ง่าย

                ที่เลข 4 ราคาถึง key level 4 หลังจากราคาลงไปต่ำกว่า level เกิด consolidation สะสม positons บาร์ที่ลูกศรชี้สามารถปิดเหนือกว่าได้ มองปริบทประกอบ ราคาได้วิ่งเกิน key level 3 หลายรอบแล้ว ก่อนที่ราคาจะขึ้นจาก Key level 4 ก็เห็นว่ามีการกลับมาเทสที่ level 3 ก่อนด้วย จะเห็นว่า key level 4 ราคาลงไปหลายรอบ แต่ราคาขึ้นมาได้หมด พอปิดเหนือเลข 4 ด้วยบาร์ยาวๆ เลยเปิดว่า market orders เข้ามาและอื่นๆ ที่เป็นปริบทเมื่อ price structure เปลี่ยนไป ก็จะทำให้เปิด buy market orders ขึ้นมาทั้งจากที่ถือ Positons อยู่และจากที่รอเข้า

                นี่คือตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง key levels และ price actionพร้อมทั้งปริบทเมื่อจะเทรด ต้องดูให้ไปทางเดียวกัน เพราะปริบทจะเป็นตัวบอกว่าขาใหญ่ต้องการทำอะไร อย่าเทรดเพียงแค่มองจาก key levels และ price action ที่เปิดเผยออกมาเท่านั้น

ทีมงาน : thaiforexbroker.com