Fibonacci Retracement แบบง่ายๆ

Fibonacci Retracement แบบง่ายๆ

เทรด Fibonacci Retracement แบบง่ายๆ แต่ให้ได้ผล

หลักการในการเข้าเทรดเรื่อง Fibonacci เป็นอีกเรื่องที่นิยมใช้กันมาก  ถือได้ว่าง่ายต่อการเข้าเทรดเมื่อท่านรู้จักว่าจะกำหนดราคาจากตรงไหน ไปตรงไหน เพื่อกำหนด Fibonacci Retracement และกำหนด Retracement level เพื่อเข้าเทรด

จะเห็นว่าตามชื่อมีคำว่า Retracement จึงเป็นการบอกว่าหลักการหลักๆ ของการเทรดแนวนี้คือการเทรดตอนราคาย่อตัว (retracement)  ก็จะมีการกำหนดระดับการย่อตัวต่างกันออกไปเพื่อเป็นจุดสำหรับเข้าเทรด และเพราะเทรดการย่อตัวเป็นหลักการเทรด Fibonacci จึงจำเป็นต้องเทรดตอนที่ตลาดทำเทรนเป็นหลักด้วย

ตลาดทำเทรน หัวใจหลักของการเทรด Fibonacci Retracement

การย่อตัวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อราคามีการทำเทรน ไม่ว่าจะเป็นเทรนขึ้นหรือลง การเข้าใจเรื่องที่ราคาทำเทรนเป็นเรื่องที่ต้องมาอันดับแรก ที่ต้องเข้าใจเมื่อจะเทรด Fibonacci เมื่อราคาทำเทรน หลักการดูเรื่องว่าราคาทำเทรนหรือเปล่า ง่ายที่สุด ไม่ต้องใช้อินดิเคเตอร์เลย แค่ดูเรื่อง swing highs และ swing lows ว่าเกิดขึ้นอย่างไรเช่น

เมื่อกำหนดเรื่องราคากำลังทำเทรนขึ้นท่านต้องเห็นราคาทำ Higher High ได้แล้วตามมาด้วย Higher Low แล้วตามมาด้วยราคาเบรค High ก่อนทำ Higher ได้ใหม่ และราคาย่อตัวแต่ไม่ต่ำกว่า Higher Low ก่อน และราคาขึ้นไปทำ Higher High ใหม่ได้อีก

ตราบใดที่ราคายังคงเป็นแบบนี้ถือว่าราคาทำเทรนขึ้น  ในทางกลับกันสำหรับเทรนลง ท่านจะเห็นว่าราคาทำ Lower Low ได้แล้วตามด้วย Lower High และราคาลงมาเบรค Low ก่อน และก็มา Lower Low ใหม่เกิดขึ้นและเด้งขึ้นมาแต่ไม่เกิน Lower High ก่อนทำเป็น Lower High ใหม่เกิดขึ้นแล้วราคาลงมาเบรค Low ก่อน และทำเป็น Lower Low ใหม่ ตามด้วย Lower High

ถ้าราคายังคงทำไปแบบนี้ถือว่าราคากำลังทำเทรนลง  เมื่อไรก็ตามการพัฒนาเรื่อง swing high/swing low เปลี่ยนไปนั่นเป็นสัญญาณว่าเทรนจะเปลี่ยน อย่างภาพด้านบนจะเห็นว่าเมื่อราคาย่อตัวลงมาไม่สามารถเด้งกลับได้แต่เบรค Higher Low ได้ด้วย นี่เป็นข้อมูลแรกที่เกิดขึ้นเรื่องของเทรนว่าอาจเกิดการเปลี่ยนตามมา ก็ให้ดูว่าราคาสามารถทำ Lower High ตามได้หรือเปล่า

เข้าใจ Impulsive move กำหนดแรง swing high/low ส่งผลต่อ Fibonacci Retracement

การที่ราคาสามารถทำ Higher High ได้ราคาย่อตัวลงมาและราคาสามารถเบรค High ขึ้นไปและสามารถทำ Higher High ใหม่ได้ การเคลื่อนไหวแบบนี้เรียกว่า impulsive move (ในทางกลับกันสำหรับเทรนลงราคาทำ Lower Low ได้ราคาย่อตัวกลับมาและราคาสามารถลงไปเบรค Low และทำ Lower Low ใหม่ได้เรียกกว่า impulsive move)

โดย impulsive move จะประกอบด้วยพื้นที่ราคาเคลื่อนไหวผ่านที่เป็นตัวต้าน (Higher High ถือว่าเป็น resistance สำหรับเทรนขาขึ้น ราคาเบรคไปได้และ Lower Low ถือว่าเป็น support ราคาเบรคไปได้สำหรับเทรนขาลง)  ราคาต้องเบรคผ่านไปได้ และดูว่าเบรคอย่างไรประกอบ

เพราะการที่ราคาเบรคผ่านไปได้ บอกถึงว่ายังมีเทรดเดอร์อยากเทรดกันราคาไปทางนั้นมากกว่า เลยทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์เกิดขึ้น ถ้าความไม่สมดุลย์มากลักษณะที่ราคาเบรคก็จะเห็นเป็นแท่งเทียนยาวๆ ราคาปิดทางที่ราคาเบรค แทบไม่มีหางบาร์และไปต่อ

ดังนั้นเมื่อเข้าใจว่าการเทรด Fibonacci Retracement เป็นการเทรดตามเทรนและ Impulsive move ทำให้รู้ว่าราคาทำเทรน อย่างแรกเลยก็ให้กำหนดจุด Fibonacci Retracement จากแต่ละ impulsive move แล้วเทรดการย่อตัว

กำหนด Fibonacci Retracement อย่างไร

อย่างแรกเมื่อท่านกำหนด impulsive move จากการที่ราคาทำเทรนเป็น เพราะต้องการเห็น impulsive move เพราะบอกว่าขาใหญ่เข้าเทรดเลยทำให้เทรนพัฒนา ดังนั้นพยายามเลือก impulsive move สัมพันธ์แต่ละจุดที่ท่านต้องการกำหนด Fibonacci ให้ออก อย่ากำหนดจากภาพที่กว้างเกินไป เพราะจะทำให้การโต้ตอบราคานานและส่งผลต่อการกำหนด stop loss ที่ต้องกว้างมากขึ้นด้วย

เมื่อท่านเห็น Impulsive move อย่างที่ภาพเพราะราคาลงอย่างแรงและมีการเอาชนะจะเห็น Higher Low โดนเบรคลงจากผลของการเข้าเทรดแรงๆ ที่เห็นเป็นรูป momentum bar เกิดขึ้น พอราคาลงไปต่ำสุด ราคาเริ่ม rejection ขึ้นก็ให้ท่านกำหนด Fibonacci Retracement จากจุดเลข 1 ไปยังจุดเลข 2 ท่านก็จะได้ Retracement สำหรับการย่อตัว impulsive move

หรือที่บอกว่าราคากำลังทำเทรนตรงนี้ ระดับการย่อตัวหรือ Retracement level ก็ตั้งแต่ 0-100.0 เมื่อท่านกำหนดโปรแกรมก็จะมาพร้อมกับค่า Retracement level ที่นิยมใช้กันคือ 23.6 38.2 50.0 61.38 100.0 ที่เป็นค่า default  แต่เมื่ออธิบายด้วยเรื่องออเดอร์ ก็จะบอกว่าการย่อตัวขึ้นอยู่กับว่าแรงเข้าเทรดทางที่ทำให้เกิด impulsive move เป็นหลัก เมื่อมีการเทรดทางนั้นเยอะ ทำให้ sell market orders เกิน buy orders  

ทำให้ buy orders ที่เข้ามาโดนซึมซับไปเร็วและมากพอ ก็จะทำให้เกิดการย่อตัวน้อย หรืออาจอยู่ที่ระดับ 23.6 หรือ 38.2 ตรงจุดนี้ เมื่อมีการย่อตัวน้อยเลยทำให้อธิบายเรื่องการย่อตัวว่าเป็นเทรนแรงก็จะมักย่อตัวน้อย เทรดเดอร์ที่เทรดแนว Fibonacci Retracement ก็จะให้ความสำคัญตัวเลขพวกนี้เพื่อเข้าเทรด

สิ่งที่เกิดตามมาคือ แต่ละระดับก็จะมีเทรดเดอร์ที่เฝ้ามอง รอเข้าและรอออก ก็จะกลายเป็นจุดดึงดูดให้เกิด liquidity เยอะแต่ละจุด เมื่อมี Liquidity มากก็อาจตามมาด้วยเรื่อง stop hunt เป็นเรื่องปกติ ต้องเข้าใจพวกนี้เมื่อเทรดไม่ว่าจะเทรดแนวไหนก็ตาม

ตัวเลข Retracement level ที่นิยม

การกำหนด Fibonacci Retracement level ไม่ใช่เรื่องยากเพราะหลักการง่ายๆ คือเมื่อคำนึงถึงเรื่องของเทรนที่เป็นตัวทำให้เกิดหลักการเทรดแบบนี้ เพราะต้องการเทรดตอนราคาย่อตัวมา แต่ก็มีตัวเลขระดับย่อตัวหรือ Retracement levels ที่นิยมกันคือ 23.6% 36.2%  50.0% 61.8% และ 76.4%  

ดังนั้นเมื่อราคาย่อตัวมาถึงระดับตัวเลขพวกนี้ก็จะทำให้เทรดเดอร์ที่เทรดแนวนี้อยากได้เงื่อนที่จะเปิดเทรดหรือออกเทรด จะเกิดการโต้ตอบมากเพราะเรื่อง liquidity ที่มาจากการเทรด แนวนี้  

แค่ Retracement level ไม่พอ เข้าใจเรื่องออเดอร์ จะเทรด Fibonacci ง่ายขึ้น

การเปิดเทรดไม่ว่าจะเทรดด้วยวิธีไหนก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าการตลาดทำงานอย่างไรและขาใหญ่เทรดอย่างไร และออเดอร์ทำงานอย่างไร  เพราะขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนออเดอร์ที่มีวอลลูมเยอะ เมื่อเขาเห็นว่าพวกเขาต้องการเทรดบ้าง แต่ถ้าออเดอร์ตรงข้ามไม่พอ พวกเขาก็จะปั่นราคาเพื่อให้รายย่อยวิ่งตามและเพิ่มออเดอร์ตรงข้ามที่พวกเขาต้องการก่อนดันราคาไปจริง พวกเขารู้ว่าพวกเขาได้ทำให้ Impulsive move เกิดขึ้น

แต่การที่พวกเขาจะหาทางเทรดเพิ่มต้องมีวิธีการที่เข้าเทรดได้ดีกว่า มีออเดอร์มากพอที่พวกเขาต้องการเปิด และเมื่อพวกเขาเปิดเทรดแล้ว พวกเขาไม่จำเป็นต้องเปิดตามราคาไป แค่เปิดเทรดพื้นที่ที่มีเงื่อนไขให้เทรดเดอร์อื่น (ในที่นี้หมายถึงรายย่อย) เทรดตามพวกเขาก็จะมี market orders มาดันราคาทางที่พวกเขาต้องการ ความไม่สมดุลย์ออเดอร์ก็จะเกิดตามมา

เพราะอย่างแรก พวกเขาเป็นฝ่ายหยุดราคาฝั่งตรงข้ามไม่ให้ไปต่อ อย่างที่สอง เปิดเทรดนำและปล่อยให้รายย่อยดันราคาไปทางที่พวกเขาต้องการ และอย่างที่สาม สร้างเงื่อนไขบังคับเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดที่อยู่ตรงข้ามกับที่พวกเขาเปิด ก็จะทำให้ market orders ตามมาอีกด้วย  

เปิดเทรดที่ Retracement level ไหนดี

เมื่อเข้าใจว่าหลัการเทรด Fibonacci Retracement เป็นการเทรดตามเทรน เปิดเทรดตอนที่ราคาย่อตัวมาและเทรดตามที่ Retracement level  แต่ไม่รู้ว่าจะเทรด level ไหน ให้ใช้เรื่อง confluence มาประกอบหรืออาจใช้แค่ความเข้าใจเรื่องออเดอร์ที่จะตามมาว่าเมื่อราคาถึงแล้ว level ไหนแล้ว มีเงื่อนไขที่จะทำให้เกิด market orders ที่จะทำให้ราคาเกิดการเด้งได้มากหรืออาจใช้ price action ที่บอกว่าเป็นการ rejection

ประกอบที่ตัวเลขเช่น Pin Bar หรือ Engulfing Bar เกิดขึ้นมายืนยันก่อนค่อยเปิดเทรด เช่นอย่างตัวอย่าง Fibonacci Retracement ที่เลข 1 เป็น Pin Bar, ที่เลข 2 เห็น Engulfing Bar เข้ามายืนยันก่อนค่อยเปิดเทรด หรือใช้หลักการทำงานของออเดอร์และเข้าใจเทรดเดอร์อื่นๆ ทั้งที่อยู่ในตลาดและที่รอเข้า ด้วยการอ่านปริบทที่เกิดขึ้นกับแต่ละการเทรด Fibonacci Retracement จะเห็นว่าจุดที่ราคาย่อตัวมาและเห็น Retracement level ที่ราคาเด้งจะเป็นพื้นที่ราคาเอาชนะออเดอร์ตรงข้าม เลยทำให้เกิดมี trapped traders ตรงนั้น

พอราคาลงมาไม่ไปต่อและพวกเขามั่นใจว่าราคาจะไม่ไปทางพวกเขาอีก เช่นเห็น pin bar, engulfing bar ก็จะออกเป็นหลัก การออกเท่ากับการเปิด buy market ตรงนั้น เทรดเดอร์ที่เปิดเทรดสวนเทรน ตอนที่ราคาจบการทำ impulsive move เห็นราคาไม่ไปต่อก็จะออกก็เป็น buy market orders และเทรดเดอร์ที่เห็นราคาเบรคทำให้เกิด impulsive move บอกว่าตลาดยังทำเทรนก็จะหันมาเข้าตรงนั้น

Stop loss และ take profit เบื้องต้น

การกำหนด stop loss ให้ต่ำกว่าจุดที่เข้าเทรด แต่แนะนำให้ดูเรื่อง stop hunt ประกอบต้องเพิ่มเข้าไปด้วย หรือเปิดเทรดเมื่อเห็น price action ยืนยันเช่น pin bar, หรือ engulfing bar เกิดขึ้นก่อน  ส่วนการกำหนด Take profit ให้ดู price level ตรงข้ามที่ราคายังไม่ได้เอาชนะ

ทีมงาน : thaiforexbroker.com