โลกขับเคลื่อนด้วยพลังงานและพลังงานก็ขับเคลื่อนตลาด Forex เช่นกัน! ดังนั้น เทรดเดอร์ไม่ควรมองข้าม “สินค้าประเภทพลังงาน (Energies)” โดยบทความนี้จะพาคุณมาเปิดโลกผลิตภัณฑ์ประเภทพลังงาน เพือเข้าใจในมุมมองของสินค้าประเภทนี้มากขึ้น
ฉบับย่อโดย Thaiforexbroker.com
- พลังงาน (Energies) ถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีหลากหลายรูปแบบ เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันถูกแยกออกมาจาก Hard Commodity เนื่องจากมีความหลากหลายมากขึ้น
- น้ำมันดิบ เป็นพลังงานหลักของโลก มีผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง การลงทุนน้ำมันดิบทำได้ผ่าน Spot Contract และ Futures Contract โดยมี WTI และ Brent Crude เป็นน้ำมันดิบหลัก 2 ชนิด
- ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลราคาถูก แต่การขนส่งมีต้นทุนสูง การเทรดก๊าซธรรมชาติ ทำได้ผ่าน Futures, Options, หุ้น และ ETFs ซึ่งล้วนเป็นตราสารอนุพันธ์ (Derivatives)
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสินค้าประเภทพลังงานโดยภาพรวมก็คือ อุปสงค์และอุปทาน ของผู้คนทั่วโลกรวมถึงปัจจัยภายนอกอย่างภัยธรรมชาติด้วย
รู้จักกับสินค้าประเภทพลังงาน (Energies)
- สินค้าประเภทพลังงาน (Energies) ในที่นี้หมายถึง ตลาดที่ทำการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทพลังงานต่างๆ ซึ่งพลังงานเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
- เดิมทีพลังงานถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าโภคภัณฑ์ประเภท “Hard Commodity” แต่ในปัจจุบัน พลังงานได้แยกออกมาเป็นสินค้าอีกประเภทหนึ่ง เนื่องจากตลาดพลังงานไม่ได้มีน้ำมันและก๊าซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลมและเชื้อเพลิงชีวภาพด้วย
- ตลาดพลังงานประกอบด้วยสินค้าโภคภัณฑ์หลากหลายประเภท เช่น
- น้ำมันดิบ
- น้ำมันเตา
- ก๊าซธรรมชาติ
- เอทานอลจากชีวมวล
- พลังงานหมุนเวียน (พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ)
สินค้าประเภทพลังงานที่ได้รับความนิยมในการเทรด
ทีนี้เรามาเจาะลึกกันในเรื่องของสินค้าประเภทพลังงานว่า มีสินค้าประเภทไหนบ้างที่เทรรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมทำการเทรดหรือซื้อขายเพื่อทำกำไรกัน รวมถึงข้อมูลสำคัญอย่างปัจจัยที่กรระทบต่อราคาพลังงานนั้นๆ
น้ำมันดิบ (Crude Oil)
- น้ำมันดิบ หรือ Crude Oil ก็คือของเหลวที่เกิดจากซากเหล่าสัตว์ดึกดำบรรพ์ทั้งหลายที่ถูกทับถมด้วยชั้นทราย โคลนและหิน ภายใต้ความร้อนและแรงกดดันสูง จนในที่สุดก็กลายเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลชนิดหนึ่ง
- ซึ่งเราสามารถนำมา “กลั่น” เพื่อแยกเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้งานได้ เช่น น้ำมันเบนซิน ดีเซล ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
- น้ำมันดิบเป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดในโลกและราคาน้ำมันดิบมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง หากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น ก็จะส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าขนส่งและต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆ สูงขึ้นตามไปด้วย
การลงทุนและประเภทของน้ำมันดิบที่เป็นที่นิยม
- การลงทุนในน้ำมันดิบนิยมทำอยู่ 2 แบบ คือ
- สัญญาซื้อขายทันที (Spot Contract) : ซื้อขายในราคาตลาดปัจจุบัน รับน้ำมันทันที เหมาะกับผู้ใช้งานจริง แต่นักลงทุนทั่วไปไม่นิยม
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures Contract) : ตกลงซื้อขายในอนาคต ราคาและวันที่กำหนดไว้ เหมาะกับการเก็งกำไร ล็อกราคา ป้องกันความเสี่ยง
- และราคาน้ำมันดิบอ้างอิงมี 2 ชนิดหลักๆ ที่ในตลาดให้ความสนใจ คือ
- West Texas Intermediate (WTI) ซื้อขายในตลาด New York Mercantile Exchange (NYMEX) เป็นมาตรฐานสำหรับน้ำมันดิบในอเมริกาเหนือ
- North Sea Brent Crude ซื้อขายในตลาด Intercontinental Exchange (ICE) เป็นมาตรฐานสำหรับน้ำมันดิบในยุโรป แอฟริกาและตะวันออกกลาง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบ
ผลกระททบที่จะส่งผลต่อราคานำมันดิบนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ ปัจจัยทางอุปทานและทางอุปสงค์ ซึ่งแต่ละทางก็มีรายละเอียดแยกย่อยไปอีก
อุปทาน (Supply)
- OPEC+ : กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(ส่วนใหญ่คือกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง) พยายามควบคุมราคาโดยจำกัดกำลังการผลิต แม้อิทิธิพลจะลดลงช่วงหนึ่งจาก shale oil ในสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันกลับมาทรงพลังอีกครั้ง
- ภูมิรัฐศาสตร์ : ความขัดแย้ง สงคราม ในประเทศผู้ผลิต ส่งผลต่ออุปทานโดยตรง ทำให้ราคาน้ำมันผันผวน เช่น เหตุการณ์ในอิหร่าน วิกฤตเศรษฐกิจ ล้วนมีผลกระทบ
- เทคโนโลยี : การใช้ Fracking ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันจากชั้นหิน ทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นผู้ส่งออก มีผลต่ออุปทานในตลาดโลก
อุปสงค์ (Demand)
- เศรษฐกิจ : เศรษฐกิจเติบโต อุตสาหกรรมแข็งแกร่ง ความต้องการน้ำมันก็พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา (จีน อินเดีย ซาอุฯ) ช่วงปี 2000-2010 กลุ่มประเทศ OECD ใช้น้ำมันลดลง แต่กลุ่มที่ไม่ใช่ OECD กลับใช้เพิ่มขึ้น > 40%
- ปัจจัยอื่นๆ : การขนส่ง จำนวนประชากร และฤดูกาล (เช่น หน้าร้อนคนเดินทาง หน้าหนาวใช้ฮีตเตอร์) ก็มีผลต่อความต้องการน้ำมันเช่นกัน

ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)
- ก๊าซธรรมชาติ คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งเราใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า ให้ความร้อนแก่บ้านเรือนและในกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรม
- ก๊าซธรรมชาติเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีราคาถูกที่สุดและมีอยู่มากมายตามธรรมชาติ แต่! การขนส่งก๊าซธรรมชาติต้องทำผ่านท่อส่งก๊าซหรือแปลงเป็นของเหลวที่มีความดัน จึงมีค่าใช้จ่ายสูงจากต้นทุนพวกนี้
- ตลาดก๊าซธรรมชาติขึ้นชื่อเรื่องความผันผวนของราคา ซึ่งสร้างโอกาสในการทำกำไร จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุน โดยเราจะเจาะเรื่องการลงทุนใน ก๊าซธรรมชาติ ต่อไป
การเทรดก๊าซธรรมชาติ
การเทรดก๊าซธรรมชาติ เราจะใช้ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) เพื่อเก็งกำไรบนราคาตลาดของ Futures, หุ้น และ ETFs โดยที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของก๊าซธรรมชาตินั้นจริงๆ แต่จะเป็นการวางสถานะว่าราคาตลาดจะขึ้นหรือลง นั่นเอง
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) ก๊าซธรรมชาติ
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ล็อกราคาซื้อขายในอนาคต เมื่อสัญญาหมดอายุ ผู้ซื้อขายจะได้รับมอบก๊าซธรรมชาติหรือชำระราคาเป็นเงินสด
- แนวคิดการลงทุนแบบนี้คือ บริษัทและนักลงทุนสามารถล็อกราคาไว้ล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากความผันผวนของราคาตลาด ที่อาจส่งผลกระทบในทางลบ
- ตลาด Future อ้างอิงราคาส่งมอบจากHenry Hub ในรัฐลุยเซียนา ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของท่อส่งก๊าซหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา
สัญญาออปชั่นก๊าซธรรมชาติ
- Options เป็นตราสารอนุพันธ์เช่นเดียวกับ Futures แต่แตกต่างจาก Futures ตรงที่ผู้ถือ Options สามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิตามสัญญาหรือไม่ เมื่อสัญญาหมดอายุ
- สัญญา Options มีสองประเภท คือ Call และ Put เราจะซื้อ Call Option หากคาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติจะสูงขึ้นและซื้อ Put Option หากคาดว่าราคาจะลดลง
- หากราคาก๊าซธรรมชาติเคลื่อนไหวเกินกว่าราคาที่กำหนด (Strike Price) ออปชั่นจะอยู่ในสถานะ “In the Money” และสามารถใช้สิทธิเพื่อทำกำไรได้
หุ้นก๊าซธรรมชาติ
- หุ้นก๊าซธรรมชาติ คือ หุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ เช่น บริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (ท่อส่งก๊าซ) ผู้ส่งออกและผู้ผลิต
- ตัวอย่างหุ้นก๊าซธรรมชาติที่เป็นที่รู้จัก เช่น BHP Billiton, Antero Resource Corp และ Enterprise Products Partners
- การลงทุนกับหุ้นบริษัทประเภทนี้เมื่อรคาคาของก๊าซธรรมชาติสูงขึ้น บริษัทก้จะได้กำไรและหุ้นก็มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้
กองทุน ETF ก๊าซธรรมชาติ
- ETFs เป็นตราสารทางการเงินที่ช่วยให้ผู้ซื้อขาย สามารถลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย (Basket of Assets) ได้จากการซื้อขายเพียงครั้งเดียว เช่น
- สามารถเทรด ETFs ที่ถือครอง Natural Gas Futures หรือหุ้นของบริษัทในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ
- ตัวอย่าง ETFs เช่น
- WisdomTree Natural Gas 2x Daily Leveraged
- iShares STOXX Europe 600 Oil & Gas (DE)
- SPDR S&P Oil & Gas Exploration & Production ETF

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาก๊าซธรรมชาติ
ราคาก๊าซธรรมชาติก็เหมือนกับตลาดอื่นๆ ที่ราคามักจะได้รับอิทธิพลจากอุปสงค์และอุปทาน แต่เนื่องจากบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจ ราคาจึงอาจมีความผันผวนมากกว่าสินค้าประเภทอื่นๆ ไปบ้าง โดยปัจัยหลักๆ ก็มีดังนี้
- ระดับการผลิตก๊าซธรรมชาติ : เมื่อการผลิตเพิ่มขึ้น ราคามักจะลดลง เนื่องจากสินค้ามีมากขึ้นและการแข่งขันในตลาดทำให้ราคาลดลง
- ปริมาณก๊าซธรรมชาติในคลัง : เมื่อมีก๊าซธรรมชาติสำรองในปริมาณมาก หมายถึงอุปทานสูงและอุปสงค์ต่ำ ซึ่งจะทำให้ราคาลดลง
- เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง : ภัยพิบัติทางธรรมชาติส่งผลกระทบต่อการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาว (ที่มีความต้องการใช้ความร้อนสูง) และฤดูร้อน (ที่มีความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศ) อุปสงค์ที่สูงและอุปทานที่ต่ำจะทำให้ราคาสูงขึ้น
- ความพร้อมใช้งานและราคาของเชื้อเพลิงประเภทอื่น : ในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดทั่วโลก เชื่อกันว่าก๊าซธรรมชาติจะเป็นเชื้อเพลิงหลัก ซึ่งอาจทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้น ถึฃขั้นที่ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดการณ์ว่าความต้องการก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มขึ้น 29% ภายในปี 2040

วิดีโอเกี่ยวกับการเทรดน้ำมันดิบ
พูดถึงเรื่องการเทรดพลังงาน ทีมงานไปเจอคลิปวิดีโอจาก YouTube ที่แนะนำอินดิเคเตอร์และวิธีใช้งานในการเทรด น้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าที่เราเพิ่งพูดถึงไปก่อนหน้านี้ โดยที่เทรดเดอร์คนนี้อ้างว่า เทคนิคของเขานั้นสามารถทำ Win Rate ได้สูงถึง 97.3% ซึ่งในเนื้อหาก็น่าสนใจอย่างมากจึงอยากนำมาแชร์กับผู้อ่านทุกท่านครับ
- Focus นาทีที่ 00:00 วิธีใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) สําหรับการซื้อขายน้ํามันดิบ
- Focus นาทีที่ 1:51 ทําความเข้าใจพฤติกรรมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
- Focus นาทีที่ 2:49 อธิบายสถานการณ์การซื้อขาย : ตั้งค่าและเริ่มเทรด
- Focus นาทีที่ 6:45 กลยุทธ์การซื้อขายโดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average)
สรุป
อ่านจบแล้วคงจะรู้แล้วว่า สินค้าประเภทพลังงาน นั้นไม่ได้มีแค่ น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ เท่านั้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า 2 ชนิดนี้คือสินค้าประเภทพลังงานที่เทรดเดอร์นิยมซื้อขายมากที่สุดอยุ่ดี แม้ว่าช่วงหลังจะมีการซื้อขายพลังหมุนเวียนเพิ่มขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก เหตุผลหลักๆ ก็เนื่องมาจากคุณสมบัติของทั้ง 2 ที่แทบจะเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั่วโลกเลยก็ว่าได้
ดังนั้นแล้ว เทรดเดอร์อย่างเราๆ มีหน้าที่ศึกษา ติดตาม อัพเดทและอัพเกรดตัวเองอย่างเสมอ เพราะโลกนี้กำลังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทรัพยากรต่างๆ ถือกำเนิดขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ การรู้จักสิ่งเหล่านี้ไว้ย่อมเป็นความรู้ที่จำเป็นสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการมองการไกลในอนาคต