กลยุทธ์เทรด Forex ด้วย EMA 3 เส้น เทคนิคเรียบง่าย ทำกำไรสม่ำเสมอ

ในบทความนี้เราขอ Back to Basic กันครับ ขอข้ามอินดิเคเตอร์เจ๋งๆ แบบแอดวานซ์กันก่อน วันนี้เรามาเริ่มต้นใช้เครื่องมือพื้นฐานในการเทรด Forex นั่นก็คือ “เส้น EMA” กันครับ ดูว่าจะเทรดทำกำไรได้เจ๋งเท่าอินดิเคเตอร์อื่นๆ หรือไม่? มีจุดเด่น จุดด้อยตรงไหนจะได้รู้กันครับ


ฉบับย่อโดย Thaiforexbroker.com

  • เส้น EMA แตกต่างจากเส้น MA แบบธรรมดาในเรื่องของการคำนวณที่ให้น้ำหนักกับราคาล่าสุดมากกว่า ทำให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เร็วกว่า
  • ในบทความนี้จะสอนการใช้เส้น EMA 3 เส้นในการเข้าเทรดคือ
    • EMA 50
    • EMA 100
    • EMA 200
  • กลยุทธ์ในการเทรดโดใช้เส้น EMA เบื้องต้นคือหากเส้น EMA ตัดขึ้นให้เข้า Buy หากเส้น EMA ตัดลงให้เข้า Sell
  • ข้อดีของ EMA คือช่วยดูแนวโน้มได้ชัดเจน ใช้งานง่ายและยืดหยุ่น แต่ควรระวังในช่วงตลาด Sideway หรือผันผวนสูง ซึ่งอาจเกิดสัญญาณหลอก

เส้น EMA 3 เส้นพื้นฐาน

  • ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าเส้น EMA ย่อมาจาก Exponential Moving Average คือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล จะต่างจากเส้น MA (Moving Average) แบบธรรมดา
  • ความแตกต่างอยู่ตรงที่เส้น EMA คำนวณโดยการให้น้ำหนักกับข้อมูลราคาล่าสุดมากกว่าข้อมูลราคาในอดีตและยังตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เร็วกว่าเส้น MA
  • การใช้งาน EMA จึงมักจะใช้สำหรับดูแนวโน้มและวิเคราะห์ระยะสั้นถงึระยะกลาง แต่ความจริงเราสามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกช่วงเวลาถ้าเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ครับ
  • โดยในบทความนี้เส้น EMA ที่จะใช้ได้แก่ EMA 50, EMA 100, EMA 200 ความสัมพันธ์ของเส้น 3 เส้นนี้ จะทำกำไรได้จริงหรือไม่? ติดตามให้จบนะครับ
ความแตกต่างระหว่างเส้น EMA และเส้น SMA
ความแตกต่างหลักๆ ระหว่างเส้น EMA และเส้น SMA คือการคำนวณโดยเส้น EMA จะคำนวณโดยให้น้ำหนักกับราคาล่าสุดมากกว่าราคาในอดีต จึงทำให้เส้นนี้ตอบสนองไวต่อการเปลี่ยนแปลง เทรดเดอร์สามารถใช้เส้นนี้ดูแนวโน้มเพื่อเข้าเทรดได้ แต่ก็ต้องระวังสัญญาณหลอกที่มีมากกว่าเส้น SMA

EMA 50

  • เส้น EMA 50 คือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Exponential ที่คำนวณจากราคาปิดย้อนหลัง 50 Period (เช่น 50 วัน, 50 ชั่วโมง, 50 นาที ขึ้นอยู่กับกรอบเวลาที่ใช้)
  • เส้น EMA 50 บ่งบอกถึง
    • การวิเคราะห์แนวโน้มระยะกลางของราคา
    • ใช้เป็น แนวรับหรือแนวต้าน แบบไดนามิกได้ เช่น หากราคาอยู่เหนือเส้น EMA 50 แสดงว่าแนวโน้มเป็นขาขึ้น และเส้น EMA 50 อาจทำหน้าที่เป็นแนวรับ
    • การตัดกันของเส้น EMA 50 กับเส้น EMA ใช้เป็นสัญญาณซื้อขายได้
    • เส้น EMA 50 สามารถใช้เพื่อวัด โมเมนตัม ของราคาได้

EMA 100

  • ส่วนเส้น EMA 100 ก็แตกต่างจากเส้น EMA 50 ตรงที่ระยะเวลาที่เอามาคำนวณครับ โดยคำนวณจากราคาปิดย้อนหลัง 100 Period แทน
  • เส้น EMA 100 บ่งบอกถึง
    • แนวโน้มระยะกลางถึงระยะยาวของราคา
    • เส้น EMA 100 สามารถใช้เป็นแนวรับหรือแนวต้านแบบไดนามิกเหมือน EMA 50 แต่แข็งแรงกว่า
    • หากกราฟราคาวิ่งอยู่ห่างจากเส้น EMA 100 แสดงว่าโมเมนตัมแข็งแกร่ง เช่น วิ่งใต้เส้น EMA 100 และระยะห่างเยอะมากแสดงว่าโมมเนตัมขาลงกำลังสูง

EMA 200

  • EMA 200 ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาช้าที่สุดแต่มีความน่าเชื่อถือที่สุดในการบ่งบอกแนวโน้มระยะยาว เนื่องจากเส้นนี้คำนวนมาจากราคาปิดย้อนหลัง 200 Period
  • สิ่งที่เส้น EMA 200 บ่งบอกคือ…
    • ใช้เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มระยะยาวของราคา
    • ใช้เป็นแนวรับหรือแนวต้านแบบไดนามิกที่แข็งแกร่งมาก ถ้าราคาทะลุผ่านเส้นนี้หมายถึงแนวโน้มเปลี่ยนของจริง
    • รวมถึงโมเมนตัมของการซื้อขายหากราคาวิ่งห่างจากเส้นนี้มากเท่าไหร่ โมเมนตัมก็สูงเท่านั้น
การตั้งค่าเส้น EMA ในแพลตฟอร์ม MT5
การตั้งค่าเส้น EMA ในแพลตฟอร์ม MT5 สามารถเข้าไปที่หมวดหมู่ Trend และเลือก Moving Averageจากนั้นในปรับระยะ Period ที่เราต้องการ เช่น 50, 100, 200 และเลือก Method แบบ Exponential

ตัวอย่างการเทรดด้วยเส้น EMA

ในตัวอย่างการเทรดที่เราจะนำเสนอนี้เทรดเดอร์สามารถเลือกใช้ Timeframe ไหนก็ได้ตามสะดวก แต่ถ้าแนะนำคนที่ชอบเทรดสั้นก็เลือก 1H หรือ 4H ครับ ใครที่ชอบถือยาวๆก็เลือกเทรดกราฟ Day ได้ครับ ในตัวอย่างขอเน้นไปที่กราฟ 1H กับ 4H แล้วกันครับ

เทรด Timeframe 1H

การเทรดโดยใช้เส้น EMA ทั้ง 3 แบบ
ตัวอย่างรูปภาพการใช้เส้น EMA ทั้ง 3 เส้นคือ EMA 50, 100, 200 ให้สังเกตว่าเส้น EMA ตัดเส้นที่เหลือลงมาจุดไหนก็ให้เข้าเทรด Sell ที่จุดนั้น แต่หากเส้น EMA 50 ตัดขึ้น ให้เข้า Buy
  • หลักการของการเทรดด้วยเส้น EMA คือ ให้ดูว่าเส้น EMA 50 ไปตัดเส้น EMA 100, EMA 200 ที่จุดไหนก็ให้เข้าเทรดจุดนั้นเลยครับ รวมถึงเส้น EMA 100 ด้วยครับ ถ้าตัดเส้น EMA 200 จุดไหนก็เข้าเทรดเพิ่มไปได้เลย
  • เงื่อนไขคือ
    • ถ้าเส้น EMA 50 ตัดขึ้นไปให้เข้า Buy
    • ถ้าเส้น EMA 50 ตัดลงให้เข้า Sell
  • ซึ่งในรูปภาพจะเห็นว่ามีจุดตัดร่วมกันเป็นจุดเดียวทั้งเส้น EMA 50 และ 100 ตัดเส้น EMA 200 ลงมา เราก็เข้า Sell ที่จุดนั้นเลย
  • การตั้ง SL ในการเทรดลักษณะนี้แนะนำว่าตั้ง Trailing Stop Loss ดีกว่าครับ ตั้งไว้ห่างประมาณ 500 pips หรือตามความเสี่ยงที่รับได้ครับ ซึ่งตัวนนี้จะช่วยล็อคกำไรหากราคาวิ่งย้อนกลับมิศทางที่เราออเดอร์ไว้

เทรด Timeframe 4H

การเทรดด้วยกราฟ 4H โดยใช้หลักการเทรดแบบเส้น EMA
รูปตัวอย่างการเทรดด้วยกราฟ 4H โดยใช้หลักการเทรดแบบเส้น EMA บางครั้งราคาอาจจะเกิดการพักตัวลงมาจนแตะ Trailing Stop Loss ได้ แต่หากใครที่ไม่ได้ตั้งไว้ จากรูปภาพก็ได้กำไรทั้ง 3 ไม้
  • ตัวอย่างที่ 2 เรามาเทรดบน TF 4H กันครับหลักก็เหมือนกันเลยแต่จะใช้เวลานานกว่าสำหรับเทรดเดอร์ที่ทนถือระยะกลางๆ ได้ครับ
  • จากรูปภาพจะเห็นว่ามีจุด 3 จุดด้วยกัน ซึ่งเป็นการที่เส้น EMA ที่เล็กกว่าตัดขึ้นก็ให้เข้า Buy ตามจุดที่ตัด
  • จะเห็นว่าจากตัวอย่างนี้หากเราตั้ง Trailing Stop Loss ไม่ห่าจากจุดเข้าเทรดมากนัก จะมี 1 ออเดอร์ที่ถูกปิดกำไรไปก่อนเพราะราคาย้อนลงมาลึกกว่าจุดเข้าเทรด แต่เรายังมีอีก 2 ออเดอร์ครับ ไม่ต้องกลัว ซึ่งจากรูปภาพนนี้ก็ยังทำกำไรได้พอตัวเลยครับ

ข้อดี-ข้อควรระวังในการเทรดด้วยเส้น EMA

สุดท้ายนี้เรามาดูกันว่าการเทรดโดยการใช้เส้น EMA นั้นมันมีประโยชน์หรือข้อจำกัดในด้านไหนบ้าง เผื่อเทรดเดอร์จะได้ระวังและเข้าใจมากขึ้นครับ

ข้อดี

  1. เส้น EMA ช่วยให้เห็นแนวโน้มของราคาได้ชัดเจน การที่เส้นตัดขึ้นหรือตัดลงเราจะได้รู้ว่าควรเล่นหน้าไหน (Buy หรือ Sell)
  2. เส้น EMA สามารถใช้เป็นแนวรับหรือแนวต้านที่ยืดหยุ่นคือปรับไปตามราคาไม่ได้ Fix คงที่เหมือนแนวรับแนวต้านทั่วไป ซึ่งมันง่ายต่อการหาแนวรับ-แนวต้านเพื่อเข้าออก ออเดอร์
  3. เส้น EMA ใช้งานง่าย เหมือนกับเส้น MA ทั่วไป เป็นเครื่องมือที่เหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่มากๆ

ข้อเสีย

  1. บางครั้งในตลาด Sideway หรือตลาดที่มีความผันผวนสูง เส้น EMA อาจเจอสัญญาณหลอกได้ เทรดเดอร์ต้องระวังและบริหารความเสี่ยงให้ดี
  2. เส้น EMA จึงไม่เหมาะกับตลาดที่มีความผันผวนสูงหรือช่วงที่ตลาดผันผวนสูง ควรใช้เทรดในช่วงที่ตลาดมีแนวโน้มชัดเจนจะเห็นผลดีกว่า
  3. ควรใช้เส้น EMA ร่วมกับ อินดิเคเตอร์ อื่นๆ ด้วย เช่น MACD, Volume การเทรด เพื่อยืนยันแนวโน้มรวมถึงจุดเข้าเทรดที่เพิ่มความแม่นยำขึ้นไปอีก
ข้อดีและข้อเสียของเส้น EMA
การเทรดแบบใช้เส้น EMA มีข้อดีคือใช้งานง่าย วิเคราะห์ง่าย จึงเหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่ที่กำลังฝึกเทรด แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่างเช่น บางครั้งอาจเกิดสัญญาณหลอกได้ซึ่งมือใหม่อาจรับมือไม่ได้ จึงต้องอาศัยอินดิเคเตอร์อื่นๆ มาช่วยวิเคราะห์อีกทาง

วิดีโอ EMA vs SMA

ทางทีมงาน Thai Forex Broker อยากหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ความแตกต่างระหว่างเส้น EMA และ SMA ในแง่ของการใช้งานและการทำกำไร โดยเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของยูทูปเบอร์ท่านนี้ที่น่าสนใจไม่น้อย เลยอยากมาแชร์ให้ทุกคนครับ

  • Focus นาทีที่ 00:40 อธิบายเส้น SMA
  • Focus นาทีที่ 01:20 อธิบายเส้น EMA
  • Focus นาทีที่ 01:29 ความไวต่อการเคลื่อนไหวของราคา
  • Focus นาทีที่ 02:13 การเกิดสัญญาณหลอก
  • Focus นาทีที่ 02:29 การตรวจจับแนวโน้ม

สรุป

การใช้เส้น EMA มีการตั้งค่าการใช้งานที่ง่ายแต่หลายคนอาจจะสับสนกับ SMA ได้ เพราะ 2 เส้นมีความแตกต่างกันในการคำนวณและพล็อตเส้นลงบนกราฟ แต่ทั้งนี้เส้น EMA ก็ยังนิยมใช้ในการเทรดแบบพื้นฐานทั่วไปการทำกำไรจากแนวโน้มอย่างง่ายซึ่งเหมาะกับเทรดเดอร์ที่เริ่มต้นใหม่

อย่างไรก็ตามให้คำนึงไว้เสมอว่าการเทรด Forex แบบพื้นฐานทั่วไปนั้นง่ายกว่าก็จริงแต่ก็ต้องระวังถึงความผันผวนในตลาดแห่งนี้อยู่เสมอ เทรดเดอร์ควรเรียนรู้อินดิเคเตอร์และ ระบบเทรด อื่นๆ เพื่อความปลอดภัยและเติบโตของการเทรด

best broker forex

จัดอันดับ 10 โบรกเกอร์ Forex ดีที่สุดในไทย

ช่วยให้เทรดเดอร์ตัดสินใจเลือก โบรกเกอร์ Forex ได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา เทรดกับโบรกเกอร์ที่มีคุณภาพ ไม่ต้องเสี่ยงเรื่องการโดนโกงอย่างแน่นอน

โบรกเกอร์ Forex 10 อันดับ

ทีมงาน : thaiforexbroker.com

สารบัญบทความ