วิธีการเลือกโบรกเกอร์

วิธีการเลือกโบรกเกอร์ forex

วิธีการเลือกโบรก

ตลาดฟอเรกเป็นตลาดใหญ่เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเงื่อนไขในการเข้าตลาดไม่ยุ่งยากและซับซ้อนเหมือนแต่ก่อนที่ต้องผ่านคนกลางเป็นหลัก เนื่องจากปัจจุบันนี้ทุกอย่างเป็นอิเลคทรอนิคทั้งหมด การที่เกือบทุกบ้านมีอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดรูปแบบการเข้าถึงการบริการพวกนี้ได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีหลายๆ โบรกให้เลือกใช้บริการ แต่ก็มีหลายๆ อย่างที่นักลงทุนต้องศึกษาดูก่อนจะตัดสินใจเลือก

สิ่งแรกที่ต้องดูคือเรื่องของความปลอดภัย เพราะเราต้องเอาเงินเข้าไปฝากไว้ที่โบรก ความน่าเชื่อถือจึงต้องมาเป็นอันดับแรก โดยเบื้องต้นก็ดู  regulation ในบ้านเราจะเห็นเป็นโบรกที่ได้รับ  ASIC  หรือ Australian Securities and Investment Commission, Cyprus Securites and Exchange Commision ถ้าเป็นโบรกที่ขยายฐานไปในยุโรปก็จะเห็น Financial Conduct Authority (FCA) การดูว่าโบรกอยู่ภายใต้องค์กรไหนก็สามารถหาอ่านได้จากประวัติความเป็นมาของแต่ละโบรกเอง เพราะการแข่งขันที่เกิดขึ้นมาอย่างหนักเลยทำให้โบรกต้องเปิดเผยเพื่อแสดงถึงความมั่นคง และบางโบรกเองก็มี regulationary license พวกนี้มากกว่าหนึ่ง license

ตัวอย่างรายชื่อโบรกจาก myfxbook.com จะมีแจ้ง license เพื่อประกอบการพิจารณา

สิ่งที่ต้องดูที่ 2 คือ transaction cost ท่านจะเห็นว่าโบรกส่วนมากก็จะนำเสนอ 2 แบบประเภทบัญชีเทรด คือ บัญชีเทรดที่ไม่มีค่าคอม และบัญชีเทรดที่มีค่าคอม ทั้งสองแบบต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้โบรกมาจากไหน  รายได้โบรกมาจากค่าคอมที่เกิดจากการเทรดและสเปรดที่ถ่างระหว่างราคา bid/ask สำหรับให้ลูกค้า fill ออเดอร์ ดังนั้นพอบอกว่าเป็นบัญชีเทรดประเภทไม่มีค่าคอม รายได้ของโบรกก็ต้องมาจากระยะห่างราคา bid/ask ที่เรียกว่า spread และอีกประเภท คือบัญชีจะมีทั้งค่าคอมและสเปรด ประเภทหลังนี้สเปรดจะน้อยกว่าประเภทแรก เพราะรายได้ของ โบรกมาจาก 2 ทางคือคิดค่าเทรดแต่ละออเดอร์และระยะ spread   ตัว spread นี้มีผลต่อการ fill ออเดอร์ตอนเปิด ถ้าห่างมากตำแหน่งท่านเปิดที่ราคา แต่ออเดอร์จะได้ที่ราคาต่างออกไปจากจุดที่ตั้งใจเข้ามาก เรื่องการถ่างของสเปรดจะเห็นได้ชัดๆ ตอนมีข่าวแรงๆ

ตัวอย่าง ประเภทบัญชีจากโบรก pepperstone

โดบรายละเอียดพวกนี้ท่านสามารถเปิดบัญชีเดโมทดลองก่อนได้ว่าถ้าเปรียบเทียบรูปแบบการเทรดของท่านแล้ว ต้นทุนการเทรดตัวไหนจะน้อยกว่ากัน

อีกตัวที่ต้องดูคือรายการสินค้าที่ให้เทรด รายการสินค้าหลักก็จะเห็น Forex อาจมีบางโบรกเสนอสินค้าอย่างอื่นด้วยเช่น สินค้าประเทภ CFD เทรดเงิน ทอง และ หุ้น

โปรแกรมสำหรับเทรด หรือ Trading Platform ส่วนมากก็จะเป็น Metatrader 4/5 และ cTrader เพราะโปรแกรม 3 ตัวนี้ตันทุนสำหรับโบรกนั้นไม่สูง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงได้ ตอนนี้หลักๆ Metatrader 4 จะมีส่วนแบ่งตลาดเยอะกว่า metatrader 5 ซึ่งหลังจาก metatrader 5 ได้มีการใส่ hedging feature เข้าไปค่อยนิยมขึ้นมา คาดว่าน่าจะปีนี้ไปเริ่มมีการใช้ metatrader 5 เยอะเพราะเทคโนโลยีด้านการเทรดและการนำเสนอนั้นดีกว่า metatrader 4 ส่วน โปรแกรม cTrader นั้นส่วนแบ่งทางตลาดก็มีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต่อไปด้านเทคนิคชาร์ต แนะให้ท่านหาโบรกที่แสดงชาร์ตที่เรียกว่า New York close เพราะเป็นชาร์ตที่ขาใหญ่ใช้ดูในการวิเคราะห์ ทำไมจึงจำเป็น? ท่านจำเป็นต้องเห็นภาพข้อมูลจากชาร์ตเดียวกันกับขาใหญ่เพื่อใช้ในการวิเคาะห์ เพราะชาร์ตของบางโบรกไม่ได้เป็นชาร์ต new York close  ชาร์ตพวกนี้มีผลการแสดงต่างกันเมื่อดูชาร์ตที่เวลา h4 ขึ้นไป  ภาพชาร์ตที่แตกต่างกันไปมีผลต่อการมองชาร์ตเปล่าเพื่อวิเคราะห์แนว  price action เช่น พวก pin bar, engulfing bar

เพราะปกติแล้วเทรดเดอร์ส่วนมากเวลาเทรดก็จะดู timeframe ใหญ่ประกอบกับ timeframe เล็กที่เทรดเพื่อหาจุดเข้าหรือ price level และ timeframe ที่ใหญ่จะใช้มองภาพรวม ถ้าภาพรวมยังไม่เปลี่ยน การอดทนต่อการเทรดก็ยังอยู่ในทิศทางที่เทรดอยู่ เช่น ถ้าหาจุดเทรดจาก ชารต h1 h4 ชาร์ตใหญ่จะเป็น D1 ถ้าการเคลื่อนไหวราคาไม่เปลี่ยนการวิเคราะห์ D1 ก็จะไม่เปลี่ยน

เรื่องต่อไปที่ต้องดูคือการเรียกใช้ margin และการ hedging สำหรับเทรดเดอร์ที่มีทุนเยอะๆ หรือไม่ได้โอเวอร์เทรด อาจไม่เห็นความสำคัญพวกนี้เท่าไร แต่ข้อดีของตลาดฟอเรกคือ คนที่มีทุนน้อยสามารถเข้าตลาดได้ด้วย ท่านจะเห็นข้อเสนอที่โบรกบอกให้ leverage กันเยอะๆ เพื่อให้รายย่อยเปิดเทรด เปิดโอกาสให้คนทุนน้อยสามารถเข้าเทรดสัมผัสตลาดได้แบบคนทุนเยอะ ข้อดีอีกอย่างคือเนื่องจากฟอเรกให้เทรดเดอร์ทำกำไรจากการขึ้น-ลงของราคา ก็คือให้เทรดเดอรซื้อด้านขึ้นหรือด้านลง ก็ได้หมด แต่ถ้าราคาวิ่งสวนเราและเนื่องด้วยรายย่อยทุนอาจน้อย การ hedging เลยเข้ามามีความสำคัญในส่วนนี้ ท่านสามารถเทรดฝั่งตรงข้ามกับออเดอร์ที่ติดลบด้วยจำนวนเท่ากัน ปล่อยให้ท่านล็อคการติดลบตำแหน่งที่เปิดเทรดผิดพลาดได้ ถ้าไม่ได้ตั้ง stop loss ประกอบ พอเห็นราคาชัดเจนก่อนค่อยจัดการเทรดต่อได้

ความเร็วในการเปิด-ปิดออเดอร์ ก็จำเป็นต้องทดสอบดูให้แน่นอน ไม่งั้นจะเห็นอาการที่ราคาเข้าเทรดไม่สามารถเปิดได้หรือไม่สามารถจัดการออเดอร์ได้ requote บ่อยๆ อันนี้ไม่ดี

การฝาก-ถอน เดียวนี้หลายๆ โบรกเกอร์ยอมให้ฝาก-ถอนผ่านออนไลน์แบงกิ้งภายในท้องถิ่นได้เลย ก็ถือเป็นการอำนวยความสะดวกอีกทางหนึ่ง

การบริการตอบปัญหา ข้อสัยต่างๆ นี่ก็สำคัญ เดี๋ยวนี้หลายๆ โบรกถึงกับมีซับพอร์ตไทยด้วยเพราะตลาดเริ่มโตขึ้นเยอะ มีการลงทุนโดยตรงจากคนไทย หรือผ่าน IB (introducing broker) ที่ช่วยส่งเสริมดึงดูดนักลงทุนเข้าสู่ตลาดมากขึ้น

ทีมงาน : thaiforexbroker.com