วิธีการเทรด Breakout

วิธีการเทรด Breakout

วิธีการเทรด Breakout

                การเทรด breakout น่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่เทรดเดอร์พยามหาวิธีการเทรดและใช้กันมานาน อาจเนื่องเพราะตลาดส่วนมากมักจะ sideway หรือ consolidation เสียส่วนใหญ่จากหลักการ เทรดและออเดอร์ทำงาน เพราะส่วนมาก consolidation จะเกิดหลังจากที่ราคาวิ่งมาแรงๆ เป็นการพักตัว เพราะผลจากขาใหญ่ปิดทำกำไรออกจากตลาด และเป็นช่วงสะสมออเดอร์เพื่อเพิ่มจำนวน positionsไปในตัวด้วย

                เมื่อมีการ breakout ราคาค่อนข้างจะวิ่งแรงและเร็วจะเกิด retest ประจำ เป็นโอกาสครั้งที่สองที่เปิดโอกาสให้เทรดเดอร์ท่านเข้าใจตลาดทำงานอย่างไร ได้มีโอกาสเทรดไปกับขาใหญ่ ก่อนเกิด breaokut ราคาก็จะวิ่งอยู่ในกรอบราคา ใหญ่-เล็กแล้วแต่ timeframes ถ้าเป็น timeframe ใหญ่จะเห็นอาการ breakout แรง เพราะเป็นเรื่องออเดอร์ที่สะสมที่เปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ช่วงเวลาผ่านมาก่อนเปิด ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจโครงสร้างก่อน

                ราคา consolidation ในกรอบสีแดง ก่อนเกิด breakout เป็นการเพิ่ม positions ไปในตัวด้วย ยิ่งถ้ามีช่วงเวลานานประกอบ postions เป็นไปได้สูงที่จะมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างในภาพเป็นการ breakout ราคาขึ้นไปด้านบน ถ้าวิเคราะห์เรื่องออเดอร์ประกอบก็จะเข้าใจ ราคาอยู่ในช่วง consolidation หรือวิ่งอยู่ในกรอบราคาบน-ล่างพื้นที่เดียวกัน เทรดเดอร์ที่เปิดเข้าช่วงนี้ ก็จะมีการตั้ง stop loss ส่วนมากก็จะเป็นเหมือน high อย่างในภาพมีจุดอ้างอิง 2 จุด ที่จะตั้ง stop loss กลุ่มแรกพวกนี้ถ้าราคาวิ่งขึ้นอย่างรูปก็จะกลายเป็น trapped traders การตั้ง stop loss คือการจำกัดความเสี่ยงนี้คือแหล่งที่มา buy market orders กลุ่มแรกอีกกลุ่มคือเทรดเดอร์ที่รอเข้า เห็นราคาอยู่ในกรอบนานก็เข้าหลักการ stop ทำงาน อาจจะตั้ง buy stops เหนือกรอบราคาแถว 2 จุดที่กลุ่มแรกตั้ง stop loss  นี้เป็นอีกกลุ่มถ้าราคาวิ่งขึ้นไปแต่ด้านบน stop orders จาก เทรดเดอร์ทั้งสองกลุ่มนี้ก็จะทำให้เกิดโดมิโนของ market orders ทันที และอีกกลุ่มเทรดเดอร์ที่รอเปิดเทรดเอง อาจเปิดเทรดใน timeframe ที่เล็กลงไป เห็น breakout เกิดขึ้นก็จะเปิด market orders เข้าตลาดด้วยตัวเอง จากความเข้าใจแบบนี้ท่านจะเห็นว่า เป็นไปได้ที่ขาใหญ่จะเทรดเพื่อให้เกิด breakout เพื่อใช้ประโยชน์จาก stop orders พวกนี้ เพราะเป็นออเดอร์ที่บังคับเปิดเองเมื่อราคาไปแตะ stop orders กลายเป็น buy market orders ก็จะแตะ stop orders ตัวต่อไปเองโดยอัตโนมัติ เป็นสิ่งที่ขาใหญ่ชำนาญและจัดการง่าย นั้นเลยเป็นเหตุผลว่าทำไมพอราคา breakout ราคาจึงวิ่งเร็ว แต่ในทางกลับกันเพราะ stop orders พวกนี้เป็นออเดอร์โดนบังคับและเกิดตรงที่ราคาสูงไป และมี liquidity น้อยเพราะไม่ได้มาจากการเปิดเทรด เลยเปิดโอกาสให้ขาใหญ่ปิดทำกำไรราคาเลยลงมาอย่างรวดเร็วและอีกพวกที่เป็น breakout traders ที่เปิด buy postions ตรงจุดที่เกิด พอเห็นกำไรเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ ก็จะออกจากตลาดให้เร็วที่สุด เลยทำให้ราคามาหาจุดที่เกิดได้เร็ว และเปิดโอกาสให้ขาใหญ่เทรดอีก เพราะขาใหญ่ก็จะใช้ออเดอร์จากพวกที่เปิด buy positons ออกจากตลาดมา ด้วยคำสั่งปิด ก็คือ sell orders เพื่อจะได้เปิด buy positions อีกรอบ นี้คือหลักการเมื่อเข้าใจการทำงาน breakout แล้วจะใช้ความรู้เพื่อเข้าเทรด retest อย่างไร

                พื้นที่ retest ในการเข้าเทรดก็อ้างอิงจากพื้นที่ราคาเบรกขึ้นไป อย่างกรอบสีน้ำเงิน เวลาเทรดก็ลงไป timeframe ที่เล็กกว่าเพื่อหา price action ประกอบ เช่น engulfing bar, pin bar เป็นต้น ก็เปิดเทรด

                อย่างภาพด้านบนนี้เป็นการเข้าเทรดเมื่อเห็น breakout เกิดขึ้นและเข้าใจหลักการที่กล่าวมาด้านบน ที่จะเปิดโอกาสให้เทรดตอนราคากลับมาอีกรอบ หรือ retest ท่านจะเห็นมี pin bar เกิดพื้นที่ retest เกิดขึ้นก็จะเปิดโอกาสให้เปิดเทรด

                ถ้ามองเรื่องออเดอร์เป็นหลัก จะพบว่าหลักการทำงานคล้ายๆกับหลักการเทรด supply/demand หรือ support/resistance zone เพราะต้องการเห็นความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นเป็นการยืนยัน และความเข้าใจตลาดด้วยการใช้จุดอ่อนของเงื่อนไขตลาด คือ พวกเทรดเดอรที่เป็น trapped traders ไม่มีทางเลือก ยิ่งถ้าเป็นพื้นที่กดดันมาก ยิ่งต้องรับจัดการออเดอร์และ stop ordes จากพวกที่รอเข้า

                อีกอย่างต้องไม่ลืมเรื่อง liquidity และ postions ที่เปิดในพื้นที่ consolidaiton หรือกรอบราคาที่มาจากtimeframe ใหญ่ ยิ่งมีผลเยอะเพราะจำนวนออเดอร์สะสมที่มาจาก trapped traders จะเยอะ

                จากจุดretestเลข1 ราคาวิ่งขึ้นไป200กว่าบีบจุดretestเลข2ราคาวิ่งลงกว่า130บีบและจุดเลข3 ราคาวิ่งขึ้นกว่า100บีบและจุดretestเลข 4 ราคาลงกว่า200 บีบการข้าใจแหล่งที่มาออเดอร์หลังเกิดbreakout จำเป็นเพราะถ้าเงื่อนไขที่ให้market ordersเข้ามาเรื่อยๆทั้งแบบโดนบังคับคือstop lossหรือจากการที่ breakoutเอาชนะprice levelsฝั่งตรงข้ามอีกทำให้เกิดtrapped tradersหลายจุดหนุนกันและเปลี่ยนข้อมูลเทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะทำให้ออเดอร์ที่เข้ามาส่วนมากไปทางที่breakoutไปก็เลยทำให้ราคาวิ่งไปได้เยอะ

                ภาพสุดท้าย พอเห็น breakout ในชาร์ต D1 เปิดมา ชาร์ต H1 เห็นจุดอ้างอิงที่ชัดเจนราคามา retest รอบแรก เลข 2 ก็เปิดโอกาสให้เทรดสะสมได้หลัง pin bar พื้นที่เหนือเลข 2 ราคาขึ้นไป ลงมาอีกต่ำกว่าเลข 2 เป็นการล่า stop ก่อน ลงมาถึงอีกจุดที่สนใจแล้วราคาก็เปิดเผย พอบาร์ล่าง stops ลงแล็วก็รีบกลับไปที่เดิมและพื้นที่เป็นจุด breakout บอกนัยว่าเป็นการเข้าเทรดหลังจากล่า stop ถ้าท่านมองดูโครงสร้างตรงนี้ที่ชาร์ต D1 ท่านจะไม่เห็นเปลี่ยนอะไรมาก เป็นแค่ราคามาเทรด เพื่อให้พวก trapped traders ออกจากตลาด จากตัวอย่างล่าสุดจะเห็นชัดว่า ยิ่ง breakout เกิดกับพื้นที่มาจาก timeframe ใหญ่ยิ่งมี trapped postions ที่อยู่เป็นส่วนประกอบ breakout ยิ่งเยอะ

ทีมงาน : thaiforexbroker.com