ใช้ Bollinger Bands ช่วยในการอ่านชาร์ตและหาความเป็นไปได้ในการเทรด

Bollinger Bands forex

ใช้ Bollinger Bands ช่วยในการอ่านชาร์ตและหาความเป็นไปได้ในการเทรด

                Bollinger Bands เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์สำหรับเทรดที่น่าเชือถือและเทรดเดอร์ใช้กันมาก เพราะสามารถใช้เพื่ออ่านความแข็งของเทรนเป็นอย่างไร เพื่อหาดูว่าจะเข้าเทรดตอนไหน และยังใช้หา tops และ bottoms ได้ง่ายด้วย เพราะอินดิเคเตอร์จะใช้เรื่องของ volatility ของตลาดเป็นตัวกำหนดสิ่งแวดล้อมในการเทรดปัจจุบัน ยิ่งถ้าใช้กับความเข้าใจเรื่อง order flow ด้วยก็จะเห็นโอกาสการเปิดเทรดเกิดขึ้นง่าย

ข้อกำหนด Bollinger Bands

                เมื่อท่านใส่Bollinger Bandsที่ชาร์ตพร้อมกับค่าdefaultก็จะได้3เส้นหลักๆคือUpper Band, Middle Bandและเส้นLower Bandก็จะแบ่งออกเป็น2กรอบระหว่างเส้นmiddle bandกับเส้นupper band เป็นกรอบบนหรือupper channelสำหรับเทรนขาขึ้นและระหว่างmiddle bandกับlower bandเป็นกรอบล่างหรือlower channel สำหรับเทรนขาลงการกำหนดว่าเทรนขึ้นหรือเทรนลงให้ดูว่าราคาอยู่กรอบไหนและเทรนจะแข็งมากหรือไม่ก็จะดูระยะห่างเส้นBandsประกอบถ้าเป็นช่วงที่ตลาดsidewayเกิดขึ้นจะเห็นว่ามีการไหวตัวของทั้งเส้นupper bandและlower bandมาใกล้ๆเส้นmiddle band

การอ่านเทรนและวิเคราะหชาร์ตด้วย Bollinger Bands

      

เนื่องจากBollinger BandปรับตามPrice actionที่เกิดขึ้นและยังใช้เรื่องของ volatility เพื่อบอกสถานะตลาดปัจจุบันเลยถือว่าข้อมูลที่เกิดขึ้นไม่ได้ล่าช้ามากเกิดไปแบบอินดิเคตอร์อื่นๆBandsต่างๆก็จะปรับตาม price action ที่เกิดขึ้นแล้วแต่ timeframe ที่ใช้ประกอบ

                เมื่อท่านใช้Bollinger Bandดูเรื่องของเทรนอย่างแรกเลยระหว่างช่วงเทรนแข็งๆราคาจะอยู่ใกล้กับเส้นupper bandหรือlower bandแล้วแต่ทำเทรนทางไหนถ้าเห็นราคาไปเกินเส้นupper bandหรือlower bandแล้วแต่ตามเทรนด้านไหนแล้วเทรนไปต่อให้ระวังว่า momentumกำลังจะลดลงแต่ถ้าเห็นการดันราคากลับไปยังเส้นupper bandหรือlower bandแต่ราคาไม่สามารถถึงเส้นได้บอกว่าความแข็งของเทรนลดลงไม่มีเทรดเดอร์มากพอที่จะอยากดันราคาไปต่อ

                ดังนั้นเมื่อมองตรรกะตรงนี้ก็จะมีการเทรด2แบบคือ การเทรดแบบแรกตามเทรนคือเทรดตอนที่ราคาย่อตัวที่เส้นmiddle bandและสอง เทรนตอนที่ราคาเกิดเส้นouter bandsทั้งเส้นupper bandหรือlower bandเป็นการเทรดสวนเทรน

                เช่นการอ่านชาร์ตด้วยBollinger Bandsที่เลข1 ราคาขึ้นไปส่วนของupper bandบอกเทรนขึ้นแต่ที่เลข1 ราคาเกิดrejecitonเห็นเป็นบอกว่าไม่มีMomentum ตามมาทางนั้นอีกราคาเลยเบรคลงได้เปลี่ยนข้าง ราคาปิดต่ำกว่าmiddle bandได้ลงมากรอบล่างระหว่างmilddle bandและlower bandที่เลข2 ราคาเกิด rejectionที่mindle bandในกรอบล่างถึงsellersยังอยากดันราคาไปต่อจนเกิดเป็นเทรนลงและราคาอยู่แถวเส้น lower bandที่เลข3 ก็จะเห็นเทรนต่อเนื่องกันมา

                พอมาที่เลข4 เห็นราคาลงไปแต่ไม่ถึงเส้น lower band แล้วเด้งกลับขึ้นมาด้วย momentum ถือว่าเป็น Engulfing Bar ได้บอกถึง momentum ทางลงไปน้อยจนเกิดเป็นบาร์นี้ได้ราคาขึ้นมากรอบบนปิดเหนือ middle band และต่ำกว่า upper band ได้ขึ้นมาด้วย momentum และราคาอยู่แถว upper band บอกถึงความแร็งของเทรนขาขึ้นที่เกิดขึ้นมา

               แต่พอมาที่เลข7 ราคาเกิน upper band และเกิดการrejection 2 บาร์พื้นที่เดียวกันเป็นช่วงcorrective moveหลังจากที่เกิดImpulsive moveเปิดโอกาสให้เทรดสวนเทรนได้และราคาลงมาที่middle bandที่เลข8 เห็นราคาrejectionในรูปของ pin bar ก็เป็นโอกาสเปิดเทรดตามเทรนที่เกิดมาตั้งแต่เลข5 เป็นต้น

Order flow กับสำหรับ Bollinger Bands

                เนื่องจากการเทรดตลาดฟอเรกการเทรดหรือการออกเทรด(การออกเทรดเท่ากับการเปิดเทรดฝั่งตรงข้ามที่เปิดเทรด)จะเกิดขึ้นได้ต้องมีออเดอร์ตรงข้ามเสมอที่ match-and-fill ที่ราคานั้นๆการที่ราคาวิ่งไปทางใดทางหนึ่งได้เพราะ market orders ทางนั้นเกิดเกิดออเดอร์ตรงข้ามที่ราคาเดียวกันตอนเปิดเมื่อจำนวนหรือวอลลูมเทรดไม่พอmarket ordersก็จะไปหาออเดอร์ตรงข้ามที่ราคาต่อไปเลยเกิดทำให้ราคาขึ้นหรือลงออเดอร์

มี3 ประเภทหลักๆคือ  

1. market orders ที่เปิดเทรดเมื่อต้องการจะเปิดเทรดที่ราคาตลาดปัจจุบัน

2. Limit ordersที่กำหนดการจะเปิดเทรดได้เมื่อราคาวิ่งไปหาจุดที่กำหนดว่าจะเปิดเทรดที่ราคาไหน เลยบอกว่า limit ordersก็จะเพิ่มLiquidityเข้าไปตลาดที่ราคานั้นๆเพราะLiquidityจำเป็นเมื่อต้องการจะเปิดเทรดที่ราคานั้นๆ ด้วยmarket ordersถ้าliquidityไม่พอราคาที่มาจากmarket ordersที่เกินก็จะไปหาliquidityที่ราคาต่อไปเลยทำให้ราคาขึ้นหรือลงและ

3.Stop ordersเรื่องstop ordersนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดีเพราะทำหน้าที่2 อย่างต่างจากmarket orders และlimit ordersที่บอกมาstop ordersก็คือstop loss ordersและbuy stopหรือsell stop ordersต้องแยกให้ออกว่าstop loss, buy stopและsell stop ทำงานอย่างไรstop lossคำสั่งที่ออกจากตลาดส่วนsell stop ordersและbuy stop ordersคือคำสั่งที่เข้าตลาดการทำงานคือเมื่อstop ordersก็จะเพิ่ม liquidityเข้าไปที่ราคานั้นๆแบบเดียวกันกับlimit ordersพอราคาไปแตะstop ordersพวกนี้ก็จะกลายเป็น market ordersแบบเดียวกับการเปิดเทรดmarket ordersราคานั้นๆ

                เนื่องจากlimit ordersทำให้เกิดliquidityที่ราคานั้นๆสำหรับmatch-and-fillสำหรับmarket ordersที่เปิดเทรดเข้าไปทางตรงกันข้ามดังนั้นเมื่อจำนวนlimit ordersที่ราคานั้นๆมากพอและเกิดก็จะทำให้หยุด market ordersได้เลยบอกว่าพื้นที่ๆมีlimit ordersมากพอก็จะกลายเป็นแนวรับหรือแนวต้านได้ก็จะหยุด market ordersและถ้ามีmarket ordersมาทางlimit ordersและเกินด้วยก็จะทำให้ราคาวิ่งสวนเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ

                หรือการออกจากตลาดด้วยการปิดเองก็เท่ากับการเปิดmaket ordersตรงข้ามที่เปิดที่ราคานั้นๆหรือแม้แต่take profitก็เท่ากับLimit ordersที่ราคานั้นๆดังนั้นเมื่อเข้าใจเรื่องออเดอร์และมองไปที่มาคือเทรดเดอร์ ก็จะเห็นว่าเกี่ยวกับเทรดเดอร์ที่ถือpositionsอยู่ในตลาดและเทรดเดอร์ที่รอจังหวะเข้าว่าจะเข้าตรงไหนดี เทรดเดอร์ที่รอเข้าก็เลยหาtrading strategyต่างๆเพื่อหาโอกาสเข้า

                ส่วนเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดถ้ากำไรถึงจุดที่พอใจก็ออกหรือชาร์ตยังเข้าข้างก็ถือรอเทรดเดอร์กลุ่มนี้ไม่เดือดร้อนแต่เทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดและถือ positonsที่ติดลบคือกลุ่มที่แบกความเดือดร้อนหรือเรียกเทรดเดอร์กลุ่มนี้ว่าtrapped tradersต้องไม่ลืมว่าเมื่อวิเคราะห์ตลาดเมื่อข้อมูลเปลี่ยนไปโดยเฉพาะเห็นเป็นprice structureที่ชัดเจนล้วนส่งผลต่อเทรดเดอร์ที่รอเข้าและเทรดเดอร์ที่ถือpositionsเหมือนกัน

                ตัวอย่างด้านบนการใช้ order flow ให้เข้ากับ Bollinger Bands อย่างไร พอราคาทำเทรนขึ้นไป ดูราคาอยู่แถวเส้น upper band หลังจากที่ราคาทำ Higher High ที่เลข 1 ตรงพื้นๆ ที่เป็น resistance พอดีและราคาเกินเส้น upper band ออกไปด้วย ราคาก็ย่อตัวลงมาทดสอบเทรนที่เส้น middle band ราคาก็ทำ Higher Low เกิดขึ้นได้ เทรนราคาก็ขึ้นไป ราคาได้เบรค High ที่เลข 1 ไปทำ Higher High ที่เลข 2 เทรดเดอร์ก็มองว่าราคาจะไปต่อ แต่สังเกตุดูราคาดันไม่ถึงเส้น upper band เกิดการ rejeciton พอราคาย่อตัวลงมาเทรดเดอร์ที่รอเทรดตามเทรนก็ได้เปิดเทรด ส่วนเทรดเดอร์ที่เปิดสวนเทรนที่เลข 2 sell ลงมาเห็นราคาไม่ลงต่อก็ออก

                 หรือกำหนด stop loss ด้านบน เลยทำให้ขาใหญ่เห็นว่ามี stop loss ด้านบน ถ้าจะเข้าก็กำหนด limit orders ด้านบนและดันราคาไปแตะ stop loss พวกเขาก็จะมีออเดอร์ตรงข้ามสำหรับเปิด sell  ก็ได้เข้าตลาดที่เลข 3 ขณะที่ราคาพอถึงเส้น upper band ก็เกิด pin bar ให้เห็น และราคาไม่สามารถปิดเหนือกว่า upper band ได้บอกถึง sell pressure พอราคาลงมาเบรคตรงที่วงกลม และเปลี่ยนจากที่อยู่กรอบบนลงมากรอบล่าง เรื่องของเทรนเปลี่ยน จะเห็นว่า กรอบสีแดงเป็นผล sell orders ที่มาจากการออกจากตลาด ตอนที่เปิดตอนราคาทำเทรนขึ้นด้วยและ price structure เปลี่ยนไป ก็ทำให้เทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะหันมาเปิด market orders ทางนี้ด้วย เลยทำให้ราคาลงเป็นหลัก

                เมื่อเข้าใจการทำงานเรื่องออเดอร์และการนำเสนอของ Bollinger Bands การหา Tops และ Bottoms เพื่อเทรดเป็นเรื่องง่าย แต่การเทรดกว่าราคาจะวิ่งไป เป็นเรื่องของเวลาและเทรดเดอร์ต้องอดทน ขึ้นอยู่กับว่า trade setup ที่เรากำหนดมาจาก timeframe ไหนด้วย

ใช้ Bollinger Bands  แบบ multi-timeframes ประกอบกันเพื่อเข้าและออกเทรด

            เมื่อเข้าใจหลักการทำงานของอินดิเคเตอร์และorder flowแล้วการกำหนดtrade setupและกำหนด trade entry/exitต้องทำให้เป็นโดยหลักการแบบง่ายสุดให้กำหนด trade entry/exit สำหรับเข้าเทรดและออกเทรดในtimeframeย่อยลงมาจากtimeframeสำหรับtrade setupและการอ่านข้อมูลที่มีผลต่อการกำหนดstop lossและtake profitต้องให้ความสำคัญที่timeframe ของtrade setupดูที่timeframe H1

                สำหรับTrade Setupราคามาlower bandและเกิดrejectionหรือfalse breakในมุมของorder flowแล้วราคาเด้งกลับมาทำimpulsive moveขึ้นเกิดเส้นmiddle bandและไปเกินเส้นupper bandด้วยมองดูมุมมองของorder flowกรอบสีแดงด้านบนเป็นพื้นที่trapped tradersทันทีและprice structureที่เกิดขึ้นดึงเทรดเดอร์ที่รอเข้าให้หันมาเปิดเทรดทางนั้นพอมาดูM15 สำหรับเปิดเทรดที่ราคาลงมาเทสจะเห็นว่าเป็นพื้นที่ราคาเบรคทำให้เกิดtrapped tradersและราคามาหยุดที่Middle bandพอดีอีกด้วยเลยทำให้เกิดเงื่อนไขbuy market ordersเข้ามาทั้งเทรดเดอร์ที่รอเข้าและเทรดเดอร์ที่ติดลบพอราคาไม่ลงต่อก็จะออก

 

ทีมงาน: thaiforexbroker.com