ระบบเทรด forex อย่างไหนดี ตอน 1

ระบบเทรด forex อย่างไหนดี ตอน 1

จะเลือกระบบเทรดForex  อย่างไหนดี (  ตอน 1 )

ระบบการเทรดForex มีหลายแบบ แล้วแต่กำหนด ถ้าแบ่งตามรูปแบบเงื่อนไขในการเข้าเทรดและออกเทรดเป็นหลัก ก็จะมี

  1. การเทรดตามเทรน (trend trading)  
  2. การเทรดสวนเทรน (counter trading )
  3. การเทรดตอนราคาเบรค (Breakout Trading)  
  4. การเทรดตาม chart patterns
  5. การเทรดด้วย Fibonacci Retracement
  6. การเทรดด้วยการใช้อินเดิเคเตอร์
  7. การเทรดข่าว
  8. การเทรดด้วย price action
  9. การเทรดด้วยหลักการ Elliot Wave
  10. การเทรดแบบแนวรับ-แนวต้าน
  11. การเทรดแบบ supply/demand หรือการเทรดแบบ order flow หรืออื่นๆ

แต่ละรูปแบบการเทรดสามารถทำกำไรและเสียได้หมด อยู่ที่เงื่อนไขและความชอบของแต่ละเทรดเดอร์และเทรดอย่างไร

ระบบเทรด ไหนง่ายสุด

เมื่อดูเรื่องการศึกษาได้ง่าย แค่ทำความเข้าใจหลักการทำงานแต่ละตัวและการเรียนรู้ไม่นาน น่าจะเป็นระบบเทรดด้วยอินดิเคเตอร์และ chart patterns เพราะเป็นระบบที่เปิดเผยข้อมูลเยอะ แต่ข้อเสียคือ ระบบพวกนี้อ่านข้อมูลเก่าจนชัดเจนเกินไป พอชัดเจนเกินไปถ้ารู้ไม่ทันหมายความว่า ราคาได้วิ่งไปทางนั้นสักระยะแล้วแต่เรื่อง risk:reward ก็จะลดลง เพราะเมื่อราคาวิ่งไป

ถ้าท่านเปิดเทรดส่วน risk ก็จะมากขึ้นและส่วนของ reward ก็จะน้อยลง วิธีการแก้ง่ายๆ คือพยายามหา trade setup ที่มี risk:reward มากพอ เช่น 1:10  และพยายามเทรดจาก setup ที่มาจาก time frame ใหญ่เป็นหลักเพราะ reward จะมากพอ และให้เรียนรู้ความอดทน และอย่าเปิด positions รวมกันอย่ามากเกินไป เช่นใช้ D1 เป็นกรอบภาพใหญ่ที่ต้องการหา trade setup แล้วมาดูที่ชาร์ต H1 จะเห็นว่าชาร์ต D1 ดู Bollinger Bands ราคาแตะเส้นล่างของ lower bands และเกิด rejection บอกว่าราคาเกิด oversold แล้วกำลังจะเด้งกลับ

ตามหลักการเทรดของ Bollinger Bands และยังใช้ CCI เพื่อยืนยันอีกตัว จะเห็นว่าไปทางเดียวกัน ดูเส้นสีแดงแนวตั้ง จะเห็นว่าเงื่อนไขการเทรดจากอินดิเคเตอร์จะต้องมี price action หรือแท่งเทียนมายืนยันก่อนค่อยเกิดเงื่อนไขการเทรด แล้วมาดู trade setup ที่ H1 จะเห็นว่าราคาได้ขึ้นแล้ว risk ได้เกิดขึ้น เลยต้องรอให้เงื่อนไขเดียวกันกับที่เห็นในชาร์ต D1 มาเกิดที่ชาร์ต H1

เงื่อนไขความเป็นไปได้สูงจะเกิดขึ้นเพราะ ตรงที่ราคาวิ่งไปตอนแรกในชาร์ต D1 ก่อนที่ราคากลับมา มองเป็นว่าราคาได้ทดสอบได้ จะเห็นชัดว่าราคาทำ Higher High ได้ที่ชาร์ต H1 ขณะเดียวกัน ถ้าท่านสามารถอ่าน chart patterns เป็นท่านก็จะเห็นว่าเกิด Head and Shoulders ที่เลข 2  เกิดขึ้นที่จุดเดียวกันด้วย และยังเกิด key level ที่ราคาได้เอาชนะ resistance กลายมาเป็น support ที่เลข 3 ด้วย จะเห็นว่า เมื่อ technical analysis เกิดที่เดียวกันแบบนี้ เลยนำมาสู่ระบบเทรดฟอเรกที่เรียกกว่า confluence trading ได้อีกแบบ

ระบบเทรด Forex ตามเทรนและสวนเทรน

เรื่องการเข้าใจเทรนถือว่าเป็นพื้นฐาน โดยหลักการง่ายสุดในการกำหนดเทรนคือใช้เรื่องการพัฒนา swing high และ swing lows เข้ามาประกอบ  เทรนขาขึ้นก็จะกำหนดด้วย Higher Highs ตามด้วย Higher Lows และเทรนลงก็จะกำหนดด้วย Lower Lows ตามด้วย Lower Highs หลักการทำเทรน อธิบายง่ายๆ แบบนี้  เช่นเทรนขาขึ้น เมื่อราคาทำ Higher High ได้ ราคาทำ Higher Low

ราคาต้องสามารถทำ Higher High ใหม่ได้ด้วยการเบรค High ก่อนได้และ Higher Low ต้องไม่โดนเบรค และสร้าง Higher Low ขึ้นใหม่มาตาม ถ้ายังเป็นแบบนี้อยู่ยังถือว่าเป็นเทรนขาขึ้น  แต่ถ้า Higher Low โดนเบรค ก็จะมองว่าเริ่มเป็นจุดแรกที่จะเปลี่ยนเทรนแบบภาพประกอบ ดังนั้นหลักการเทรดตามเทรน ก็จะมี 2 อย่างหลักๆ คืออย่างแรกเทรดตอนราคาเบรค High และสอง เปิดเทรดตอนที่ราคากลับมาทดสอบเทรนที่จุดราคาเบรคขึ้นไป  ส่วนการเทรดสวนเทรน แบ่งได้ 2 อย่าง

คือเทรดตอนที่ราคาเปลี่ยนเทรนเลย แบบที่ด้านบนที่เปลี่ยนเป็นทรนลงมา ด้วยการที่ราคาสามารถทำ Lower Low ได้ก่อนด้วยการเบรค Higher Low ฝั่งตรงข้าม แล้วราคาก็ทำ Lower High ได้ตามมา และก็ทำ Lower Lows ตามด้วย Lower Highs ต่อเนื่องกันลงมา เมื่อการพัฒนาเทรนเกิดขึ้น จะเห็นว่าเมื่อราคาทำ Lower Low ได้เพราะเอาชนะ Higher Low ฝั่งเทรนขาขึ้นได้ และตามด้วย Lower High และมีการเข้าเทรดแล้วราคาเบรค Lower Low อีก กลายมาเป็นเทรนเกิดขึ้น

หลักการเปิดเทรดตามเทรนก็เทรดแบบเดียว การเทรดสวนเทรนจะเป็นการเทรดสวนเทรนเลยแบบด้านบน และอีกอย่างสำหรับการเทรดสวนเทรน เช่นอย่างกรณีที่เทรนขาลง ท่านจะเห็นว่าเมื่อราคาทำ Lower Low ได้ราคาจะมีการเด้งกลับมาทำ Lower High เสมอ ตรงพื้นที่ตรงนี้ก็เปิดโอกาสให้ท่านเปิดสวนเทรน (ระยะสั้น) ได้เช่นกัน จะเห็นว่าระบบเทรดฟอเรกที่เทรดตามเทรนหรือสวนเทรน ต้องมาจากการเข้าใจเรื่องของเทรนก่อน

ระบบเทรด แบบแนวรับ-แนวต้าน มองเกินการทำเทรน

การเทรดแบบการใช้ความรู้เรื่องแนวรับแนวต้านหรือ support/resistance ถือได้ว่าเป็นรูปแบบการเทรดที่นิยมมาก การเข้าใจแนวรับแนวต้านเกิดได้อย่างไร และนอกจากนั้นเมื่อเข้าใจการเทรดฟอเรกแนวนี้แล้ว จะทำให้ท่านเข้าใจการเทรดแบบ supply/demand ด้วยแค่หลักการมุมมองต่างกัน การเทรดแนวรับ- แนวต้าน เน้นที่เห็นราคาเกิดเด้งหรือ rejection หรือ Break ที่พื้นที่ตรงนี้เป็นหลัก อย่างน้อยราคามาพื้นที่นี้  2 ครั้งขึ้นไป

พอมาเด้งเทรดเดอร์ก็จะมองว่าครั้งต่อไปที่ราคามา ราคาก็น่าจะเด้งอีกจนกว่า support/resistance จะโดนเบรค และก็จะหาโอกาสเทรดฝั่งตรงข้าม หรือเรียกว่าการเทรด flipping level เช่นจากแนวต้านกลายเป็นแนวรับ หรือจากแนวรับกลายเป็นแนวต้าน หลักการดูนอกจากเรื่อง rejection และ break และต้องดูลักษณะแต่ละครั้งที่ราคากลับมาพื้นที่ๆ ทำให้เกิด rejection และ breakout ผลตามมาเป็นอย่างไร

การเปิดเทรดก็จะเปิดเมื่อราคากลับมาที่แนวรับหรือแนวต้าน และอีกอย่างต้องมองแนวรับหรือแนวต้านเป็นพื้นที่ หรือกรอบราคาตามแนวนอนเพราะเรื่องการทำงานของออเดอร์ เพราะเทรดเดอร์แม้จะเทรดพื้นที่เดียวกันแต่ไม่ได้เปิดเทรดที่ราคาเดียวกัน วงกลมคือจุดที่ราคาเบรค การเปิดเทรดก็เปลี่ยนข้างไปตามที่ลูกศรชี้  

นอกจากนั้น เมื่อมองจากมุมการทำเทรนที่ให้หลักการ swing high/swing low ประกอบ ท่านจะเห็นว่าเมื่อราคาทำ Higher High ได้ ราคาลงมาเท่ากับการสร้าง Resistance พอราคาเบรคได้ ก็กลายเป็น support เพราะหลักการเทรดแนวรับแนวต้าน เลยจะเห็นว่าราคามาเด้งตรงที่เบรค หรือที่เป็น support ในตอนทำเทรนขึ้นเป็นเรื่องปกติ

ระบบเทรด Breakout เข้าใจออเดอร์และเทรดใส่เทรดเดอร์

รูปแบบการเทรดอีกอย่างที่นิยมและเห็นประจำ หลังจากที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบสักระยะโดยหลักการทำงานของออเดอร์เป็นเพราะขาใหญ่ต้องการสะสม positions ในการเทรดต่อ ในกรอบที่ก่อนเกิด Breakout จะเรียกว่าเป็น consolidation โดยในกรอบนี้เทรดเดอร์ที่อยากเปิด sell ก็จะได้เปิด ที่อยากเปิด buy ก็จะได้เปิด

แต่ราคาไม่ไปไหน อยู่ในกรอบเป็นหลัก โดยกรอบที่เป็นพื้นที่ consolidation ส่วนด้านบนก็เป็นแนวต้านหรือ resistance และส่วนด้านล่างก็เป็นแนวรับหรือ support  หรือการ breakout เกิดที่กรอบแนวรับหรือแนวต้านที่ใช้พื้นที่ consolidation ก็ได้ หลักการทั่วๆ ไปของการเทรด Breakout คืออยู่ที่ว่า

ราคาได้เกิด Breakout จากอะไร เช่นภาพด้านบนเป็นการ breakout ที่ support/resistance และที่กรอบราคา หรือพื้นที่ราคาทำ consolidation สักระยะจะเห็นว่าเมื่อเปิด Breakout มักจะตามมาด้วยโอกาสการเปิดเทรด ดูที่กรอบสีเขียวที่เกิดขึ้นตามหลังจากการเกิด Breakout ก็จะเปิดโอกาสให้เทรดตามมาทางที่เกิด Breakout

ระบบเทรด Breakout สามารถปิดเทรดตอนที่ราคาเกิด Breakout ขึ้นหรือตอนที่ราคากลับมาเทสแบบข้างบนได้ เพราะหลักการเทรดจะเป็นการเน้นเทรดใส่เทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด ดังนั้นการเปิด Breakout มักจะเห็นว่าเป็นพื้นที่มีการเปิด trading transactions เยอะๆ หรือกรอบราคาที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันก่อน

เพราะเทรดเดอร์ที่อยู่ในกรอบพวกนี้ก็จะตั้ง stop loss ห่างจากทางที่ตัวเองเทรดไม่มาก ขาใหญ่ที่เข้ามาตรงนี้ก็จะใช้ประโยชน์จากเรื่อง stop loss ที่มาจากเทรดเดอร์ทั้งสองข้างเพื่อช่วยในการเทรดของพวกเขา

จะเห็นว่าก่อนราคาจะลงมาได้ทำ false breakout เพื่อล่า stop loss ของเทรดเดอร์ที่เปิดเทรด buy ในกรอบ consolidation เพราะขาใหญ่ต้องการเข้าตลาดอีกด้วย  พอราคาเบรคลงมาก็จะมีทั้งราคาและ stop loss ของเทรดเดอร์ที่เปิดbuy ในกรอบนั้น และยังมี sell stop orders จากพวก breakout traders ที่ต้องการเทรดด้วย

และราคากลับมาแล้วโดนดันลงไปอย่างเร็วเป็น quick test รายย่อยที่รอเข้าตาม breakout ก็ได้โอกาสเปิดเทรดทั้ง stop loss และ sell stop และ sell market orders จากที่รอเข้าเทรด มีแต่เงื่อนไข sell market orders เลยทำให้ราคาลงเร็ว

ทีมงาน : thaiforexbroker.com