Throwback และ Pullback

Throwback และ Pullback

Throwback และ Pullback

                การเทรดการย่อตัวของราคาหลังที่ท่านเห็นการเบรคแนวรับหรือแนวต้าน หรือ supply/demand หรือ pivots  จะเห็นวิธีการเทรดที่อาจบอกได้ว่าหารูปแบบหรือ traped setup ได้ง่ายที่สุด และค่อนข้างจะเป็น trade setup ที่มีความเป็นไปได้สูงด้วยเพราะเห็นการเทรด เมื่อเห็นว่ามีการเข้าเทรดของขาใหญ่ก่อน ปล่อยให้ตลาดเปิดเผยว่าจะเทรดทางไหนดี

                หลักการจะทำงานแบบเดียวกันเพราะตรรกะเดียวกันในการเกิด และอื่นๆ แค่คนละทางเท่านั้นเอง Throwback หรือ Pullback เป็นการเรียกชื่อให้ตรงกับรูปแบบและลักษณะที่เกิดขึ้นเลยไม่ใช่คำกลาง ว่าเป็นการย่อตัว Pullback (Pull Back = ดึงกลับ ) และ Throwback (Throw Back = กดลง) และองค์ประกอบมี ข้อ 1. แนวรับหรือแนวต้าน (ในที่นี้ขอแทนคำว่าแนวรับหรือแนวต้านหมายรวมหมดทั้ง support/resistan, supply/demand และ pivots ที่เป็นตรรกะเดียวกัน)  ข้อ 2. มีการเบรค การเบรดแนะนำให้ฝึกดูการเบรคประกอบให้เป็นเพราะจะมีผลต่อการเข้าเทรด Throwback และ Pullback โดยจะเห็นเป็นบาร์ยาวๆ และเร็วในการปิด และราคาปิดจะต้องปิดเกินจุดที่เบรคไป และหางบาร์หรือ wick ทางที่ราคาเบรคไปมีน้อยหรือไม่มียิ่งดี เพราะการเบรคเช่นนี้บ่งบอกถึงการเข้าเทรดจริง บอกถึง market orders ที่มีเยอะและต่อเนื่อง และข้อ 3. ต้องเป็นการเบรคจริง (Genius Breakout) ไม่ใช่เบรคหลอกหรือ False Breakout เพื่อล่า stop orders เพื่อเข้าเทรดแล้ววิ่งกลับไปทางที่วิ่งมา

                วิธีการทำความเข้าใจเพื่อให้การเทรดที่ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ เรื่องแนวรับแนวต้าน เรื่องการเบรคและให้เป็นการเบรคจริง ภาพด้านบนจะเห็นว่ามีการเบลอส่วนหลังจากเลข 2 ไว้ก่อนเพื่อทำความเข้าใจ ปกติเมื่อท่านจะเทรดท่านก็จะเห็นแค่นี้ว่าท่านจะเทรดทางไหน สมมุติราคาอยู่เกิดการเบรคที่เลข 2 คำถามแรกที่ต้องถามว่าเบรคเพราะอะไร ในที่นี้คือเบรคแนวรับ เมื่อศึกษาถึงที่มาท่านจะเห็นว่าก่อนที่จะมาเป็นแนวรับที่ราคาเบรคลงไปก่อนหน้านี้เคยเป็นแนวต้าน เพราะราคาแตะ 2 ครั้ง มีการเบรคครั้งที่ 2 แล้วดันราคาขึ้นไปเลย ราคาเบรคจากแนวต้านกลายเป็นแนวรับ พอราคาลงมาก็มีการเทรด ที่ตีกรอบสีแดงหน้าเลข 1 เป็นการกลับมาเทสครั้งแรกของแนวรับนี้ ท่านดูราคาเด้งกลับผลจากการลงมาครั้งที่ 1 ที่แนวรับนี้ ราคาไม่สามารถเด้งกลับเกินแนวต้านด้านบนได้แสดงว่ามีการเข้าเทรดลงมา พอราคามาถึงจุดนี้ถ้ามองแบบแนวรับแนวต้าน จะบอกว่าเป็นการทดสอบพื้นที่แนวรับนี้ได้ แต่เมื่อมองมุมเรื่องออเดอร์การที่ราคาลงมามีการใช้ unfilled orders หรือ buy limit orders อยู่แถวนี้ไปด้วย และพร้อมกันนั้นจากออเดอร์พวกนี้กลายเป็น long positions ที่อยู่ในตลาดด้วย ราคาเด้งกลับมาสามารถเบรคที่มาได้แสดงว่าไม่มี buy market orders มากพอและต่อเนื่อง ถ้ามากพอและต่อเนื่องราคาต้องเบรคไปได้ แต่ไม่เลยส่งผลให้พอราคากลับมาตรงที่เลข 2 หรือจุดที่วงกลมเป็นจุดเบรค ราคาเบรคได้ง่ายเพราะมีการมาลด unfilled orders หรือ buy limit orders ไปแล้ว ราคาเกินลงไปได้แสดงว่าไม่มีการเพิ่มเข้ามา หรือเพราะ sell market orders ที่ลงมาทำการเบรค มากกว่าก็ได้

                เมื่อเกิดการเบรคท่านก็ดูลักษณะการเบรคประกอบที่อธิบายไว้ด้านบน เรื่องลักษณะบาร์ที่เบรค ราคาปิดอย่างไร ท่านจะเห็นว่าเป็นการเบรคจริงเพราะบาร์ปิดและยังมีบาร์ต่อเนื่องด้วย แบบนี้ท่านก็สามารถยืนยันได้ว่าเป็นการเบรคจริงท่านก็รอราคากลับมาพื้นที่ที่จะรอเทรด หรือแบบนี้เรียก Pullback ราคาเบรคลงไปและเด้งขึ้นมาจุดที่เบรคแล้วจะลงไปต่อ ท่านก็จะได้พื้นที่ Pullback

                การเข้าเทรดเมื่อท่านเข้าใจหลักการและมองจุดเบรคและมองจุดแนวรับเป็นแบบที่อธิบายมา ท่านไม่จำเป็นต้องรอ price action signal ประกอบท่านเปิดเลยได้ stop loss ก็ด้านบนที่เป็นต้นตอ ส่วน take profit แนวรับต่อไปจากที่ราคาลงไปตอนเบรคแล้วเด้งขึ้นมา

                Throwback ก็ตรรกะเดียวกันแต่แค่ราคาวิ่งต่างกันคนละทาง ให้ความสำคัญ 3 จุดที่บอกเมื่อท่านจะหาว่าจะเทรด Throwback ใน trade setup ท่านได้หรือเปล่า  เรื่องแนวต้านมองที่มาพร้อมทั้งเข้าใจตรรกะเรื่องออเดอร์ที่เกิดขึ้นด้วย มองการเบรคว่าเบรคอย่างไร ได้ลักษณะที่ต้องการหรือเปล่า และสุดท้ายว่าเป็นการเบรคแท้ไม่ใช่การเบรคปลอมหรือ false breakout เพื่อล่า stop orders เพื่อเข้าตลาด

                เมื่อท่านเข้าใจหลักการ ท่านจะมองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นเพื่อเทรด Pullback และ Throwback เกิดขึ้นตลอด โดยเฉพาะเมื่อตอนที่ราคากลับมาทำ pullback หรือ throwback เป็นช่วงที่ตลาดคู่เงินที่ท่านเทรดเปิดทำการด้วย  เพราะที่เกิดขึ้นบ่อยนั้นเป็นเพราะตลาดไม่ได้เปลี่ยนแปลงบ่อย การวิ่งไปทำเทรนพื่อไปต่อล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด pullback หรือ throwback เกิดขึ้น  หรือถ้าจะมองอีกมุมหนึ่งท่านมองให้ออกว่าลักษณะที่ราคาเบรคเป็น impulsive move หรือเปล่า ส่วนเรื่อง pullback หรือ throwback ก็อยู่อีกเรื่องคือ corrective move

                เมื่อท่านเข้าใจหลักการทำงานตลาดและออเดอร์ ไม่ว่าจะเรียก pullback หรือ throwback จะเห็นว่าเป็นตรรกะเดียวกันแค่เรียกตามลักษณะที่เกิดขึ้นเท่านั้น

ทีมงาน : thaiforexbroker.com