ขั้นตอนมองชาร์ตเปล่าเพื่อหา trade setup เพื่อเข้าและเทรดตาม
การหาว่าราคาจะหยุดหรือเบรคตรงไหนเป็นจุดหลักที่วิธีการ technical analysis ต่างนำมาประยุกต์เพื่อว่าจะอยู่ตรงไหนจะได้หาโอกาสเปิดเทรดหรือจัดการ positions ที่อยู่ในตลาด ราคาวิ่งขึ้นหรือลงเป็นผลการทำงานของออเดอร์จากฝ่าย sellers และ buyers ที่สู้กันในตลาด ดังนั้นการเข้าใจหลักการทำงานของออเดอร์และเทรดเดอร์ประเภทต่างๆ ที่เข้าตลาด ตัดสินใจอย่างไร และข้อมูลอะไรมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่จะเกิดขึ้นตามมา ที่ต้องสนใจในการหาจุดที่ราคาจะหยุดและเบรค เพราะเป็นการหาจุดเพื่อที่จะเข้าเทรดสำหรับเทรดเดอร์ที่รอเข้าและเทรดเดอร์ที่มี positions อยู่ในตลาดก็จะรู้ว่าจะออกที่ไหน ดังนั้นเมื่อเข้าใจก็จะสามารถคาดการณ์ว่า market orders น่าจะไปทางไหนได้ จะเห็นโอกาสเทรดไม่ว่าจะขึ้นหรือจะลง
หลักการทั่วๆ ไปในการวิเคราะห์ price chart เปล่า เริ่มด้วยการมองที่ราคาปัจจุบันที่ A แล้วมองเป็นพื้นที่ เช่นอย่างที่ตีกรอบสีเขียวแล้วเราก็มองย้อนกลับมาทางช้ายมือ จนถึงจุดที่ราคาวิ่งผ่านแล้วก็มองขึ้นเพื่อหาว่าตอนราคาลงมาราคาโต้ตอบตรงไหนและอย่างไร เพื่อหาว่าจะเป็นแนวต้านหรือ resistance zone/supply zone และมองลงไปด้านล่างเพื่อดูว่าราคาโต้ตอบตอนไหนและอย่างไร เพื่อดูว่ามีแนวรับหรือ support zone/demand zone หรือเปล่า
เริ่มที่มองทางขึ้นก่อน
อย่างแรกที่จะเห็นคือราคาเอาชนะเทรดเดอร์ที่เปิด short positons ในกรอบตรงที่ตีสีส้มไว้ เทรดเดอร์พวกนี้ตอนนี้กลายเป็น trapped traders เมื่อมองจากหลักการตั้ง stop loss ทั่วๆ ไปพื้นที่ stop loss orders พวกนี้น่าจะเริ่มเยอะตรงที่ 1.13 ขึ้นไป เทรดเดอร์กลุ่มนี้จะเดือดร้อนเมื่อราคาวิ่งขึ้นไปอีก แล้วเมื่อมองจะเห็นที่เลข 1 ร่องรอยที่ราคาโต้ตอบหรือ price reaction ตรงพื้นที่ๆ เป็น demand เดิม ราคากลับมาเทสแล้วราคาลงไปต่อ เมื่อมองโครงสร้างจะเห็นว่าเป็นโครงสร้างที่ราคาวิ่งผ่านได้ง่ายคือ Drop-Base-Drop สำหรับ supply นี้ และอีกจุดที่เลข 2 ถือว่าเป็น supply ที่แข็ง เพราะราคาลงแรงและเป็นต้นตอที่ผ่าน demand ได้ เป็น impulsive move ที่ยืนยัน supply 2 และเลข 2 บนสุด
มองดูสถานการณ์ปัจจุบัน ตอนนี้ราคาดันมาเกิน short positions เป็นไปได้ว่า ราคาจะวิ่งไปต่อเพราะขาใหญ่พวกที่เก็งกำไรระยะสั้นเป็น short-term speculators อาจจะดันราคามาแตะ stop loss พวกนี้ แล้วมาปิดแถวๆ ก่อนถึง 1.135 ที่อาจจะมี sell limit orders ตรงนั้นแล้วดันราคาลงมาก่อน แต่ถ้าราคาดันเกินขึ้นไป อาจมีการล่า stop ที่อิง supply 1 แล้วไปหยุดที่เลข 2 ให้กลายเป็นจุดที่น่าจะเปิด sell ดังนั้นเมื่อจะเข้าเทรดอีกต้องดูว่าราคาโต้ตอบพื้นที่กรอบแดงด้านบน 2 กรอบอย่างไรประกอบกัน
แต่ถ้ามองลงด้านล่าง ภาพแรกที่ต้องเห็นก่อนคือว่าราคาเปิดต่ำกว่า พื้นที่ long positions ให้ได้ก่อนเพราะนั่นคือว่าเป็นข้อมูลสำคัญ ถ้าไม่อย่างนั้น ยังไม่มองหาโอกาสเปิด sell เพราะพวกเทรดเดอร์ที่เปิด long positions ก็จะกลายเป็น trapped traders และก็จะมี sell stop order จากเทรดเดอร์ประเภทที่เป็น breakout traders วางออเดอร์ไว้พื้นที่ตรงนั้นด้วย และพื้นที่ๆ เป็น Demand ที่เลข 1 ราคายังมีการย่อตัวหรือแทงหางมา หรือซึมชับออเดอร์ไปแล้วด้วย buy limit orders ตรงพื้นที่ demand เลข 1 น่าจะไม่มากพอที่จะหยุด stop orders ที่เกิดขึ้นได้ ถ้าราคาปิดต่ำกว่า long positions ได้ จะเป็นโอกาสเปิด sell และพื้นที่ take profit แรกก็จะที่ Demand ที่เลข 2 การหาโอกาสเทรดกลับน่าจะเป็นที่ต่ำกว่า demand เลข 2 ลงมาจนถึง demand เลข 2 เพราะอาจมีการ ล่า stop ก่อน ขาใหญ่ค่อยเข้าเทรดแถวที่ demand เลข 3
ที่เหลือเป็นเรื่องเวลาและความอดทนถ้า price structure ไม่ได้เปลี่ยนก็อดทนหรือเทรดตามไป การเทรดไม่ใช่เรื่องการจะเอาชนะตลาด เทรดเพื่อทำกำไร ราคาเปลี่ยนต้องกล้าที่จะเปลี่ยนตามอย่ายึดติด
หลักการเดียวกันมามองชาร์ตที่จบไปแล้ว
สมมุติ ราคาตลาดอยู่ตรงกรอบสีแดง จะเห็นว่าราคาเบรคพื้นที่ long positions ลงมาได้เป็นครั้งแรก เทรดเดอร์ที่เปิด long positions พวกนี้กลายเป็น trapped traders และหลังจากราคา consolidation ก็จะมี breakout traders ด้วยที่ตั้ง sell stop ที่ต่ำกว่าพื้นที่ long positions หลักการสำหรับเทรดอย่างหนึ่งที่ต้องมองให้ออกว่าทางที่เราเทรดไปหรือทางที่ราคาจะวิ่งไปราคาวิ่งไปได้ง่ายหรือเปล่าหรือที่เรียกว่า path of least resistance ในกรณีนี้ตัวต้านก็เป็นพื้นที่ demand 1 2 และ 3 จะเห็นว่าพื้นที่ demand เลข 2 ไม่มีอะไรบ้างบอกว่าเป็น demand ที่แข็งแถมราคายังได้ย่อตัวมาแล้วด้วย (ดูหางบาร์ด้านล่างในกรอบ) แต่กลายเป็นว่าซึมชับแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าราคาจะวิ่งไปทันที ดูจนกว่าบาร์ที่แทงหางลงมาเกิดพื้นที่ demand 2 เกิดขึ้นจึงสร้างความกดดันให้พวก trapped traders ที่เปิด long positions ที่ demand เลข 1 และ 2 ที่ต้องทำอะไรบางอย่างเพราะข้อมูลเปลี่ยนไปจาก price structure ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าบาร์หลังบาร์บาร์ที่แทงลงไปเปลี่ยนข้อมูลพอราคาเด้งกลับมาอยู่แถวพี้นที่เดียวกันหมดเพราะ trapped traders จากเลข 1 และ 2 เริ่มออกจากตลาด สังเกตดูพอราคาโต้ตอบที่ supply แต่เป็นการโต้ตอบจาก demand ที่เลข 3 ราคาสามารถอยู่ในพื้นที่ได้หลายบาร์และเด้งขึ้นไปเกินนิดหน่อยแถมโดน seller ตรงที่ supply กดลงมาตลอดด้วย เมื่อเปิด shorp positons ที่พื้นที่ supply ถ้าโครงสร้างไม่เปลี่ยน มีแค่เวลาและความอดทนที่ต้องผ่านให้ได้ สุดท้ายราคาก็ลงแบบแรงไปด้านล่าง
จะเห็นว่า trade setup ที่เลือกจะเทรด ยิ่งถ้าเป็น timeframe ที่ใหญ่เวลาและความอดทนก็ยิ่งสูงไปด้วย ระยะห่าง stop loss มากไปด้วยตามส่วนกำไรก็มากไปด้วย เราจะเทรดฝั่งไหนต้องรู้ฝั่งตรงข้ามเป็นอย่างไร เพราะต้องไม่ลืมว่า market orders ที่เข้ามาถ้าเกิน limit orders ฝั่งตรงข้ามได้ราคาก็จะวิ่งต่อไปได้ง่าย การดูโครงสร้างเพื่อดูเงื่อนไขที่จะทำให้เกิด market orders จากเทรดเดอร์ที่จำต้องออกหาได้ง่ายกว่าเทรดเดอร์ที่จะเข้า เพราะเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดไม่มีทางเลือก ถ้าราคาวิ่งสวนเขาก็จะเปิดโอกาสให้เปิดเทรดเพิ่มได้
ทีมงาน : thaiforexbroker.com