Risk/Reward จำเป็นอย่างไร
แต่ละ trade setup มีสิ่งหนึ่งที่ต้องกำหนดหรือมองให้เห็นทุกครั้งก่อนที่จะเปิดออเดอร์คือ Risk และ Reward ว่าเป็นอย่างไร เรื่อง Risk/Reward เป็นการจำกัดความเสี่ยงและความเป็นไปได้ของกำไรที่จะเกิดขึ้นแต่ละออเดอร์ที่เปิด โดยเฉพาะความเสี่ยง เพราะการเทรดเป็นเรื่องความเป็นไปได้ แม้ว่าเราจะเทรดเมื่อเราเห็นความเป็นไปได้สูงอยู่ข้างเรา แต่อะไรเก็เกิดขึ้นได้เมื่อเปิดออเดอร์ไปแล้ว ไม่มีอะไรแน่นอน มีแค่ความเป็นไปได้
Risk คือ จำนวนทุนที่เรารับการสูญเสียแต่ละออเดอร์ที่เปิดเทรดได้
Reward คือ กำไรที่แต่ละออเดอร์เมื่อเราเทรดแล้วราคามาทางเรา เราคาดหวังแต่ละออเดอร์
โดยหลักการทั่วไปของการดูว่า Risk และ Reward เป็นอย่างไร เรามักจะพูดเป็นสัดส่วน เช่น 1:3 สำหรับ Risk:Reward สำหรับออเดอร์นี้เช่น เปิดล็อตเทรด 0.10 เราเสี่ยงหรือรับการสูญเสียได้ 30 ดอลหรือ 30 บีบ เราก็คาดหวังกำไรที่จะได้ 90 ดอลหรือ 90 บีบเป็นต้น ความจำเป็นของเรื่อง Risk/Reward คือการจัดการความเสี่ยงแต่ละออเดอร์เพื่อไม่ให้กระทบทุน การกำหนดเรื่อง Risk:Reward ต้องรู้ว่าใครอยู่ฝั่งตรงข้ามการเทรดของคุณ แต่ละรูปแบบเทรดเพราะต้องคำนึงถึงทุนประกอบและ timeframe ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจแต่ละ trade setup ด้วย
เช่นเทรดเดอร์ที่เป็นแบบ Scalper หรือเก็บไม่กี่บีบ เทรดเน้นสะสม เข้าและออกบ่อยเป็นหลัก เทรดเดอร์พวกนี้จะคาดหวังที่กำไรเกือบทุกไม้หรือมากกว่าเสียเทรดเดอร์พวกนี้ก็จะกำหนด risk:reward ที่ 1:1 หรือถ้าเป็น level traders เช่น supply/demand zone, key levels หรือ support/resistance levels การกำหนด risk:reward ก็จะอิง price structure เป็นหลัก แต่สัดส่วนส่วนมากก็จะ Risk:Reward 1:3 ขึ้น
ยกตัวอย่างการเทรด trade setup แบบ supply/demand zone ประกอบ การเข้าเทรดที่เลข 1 เป็นการยากสำหรับรายย่อย ขาใหญ่เข้าเทรดเพราะเงื่อนไขออเดอร์ได้ แต่อาจลงไปอีกหน่อยก็ได้ รายย่อยนั้นสิ่งที่ต้องการเห็นก่อนเทรดคือต้องการเห็นว่าขาใหญ่เข้าเทรดหรือเปล่าก่อน การเข้าเทรดที่เลข 1 แม้ว่าเป็นเรื่องง่ายที่ราคาจะขึ้นมาแต่จะเห็นว่า supply 1 ยังมี supply 2 ด้านบนอีก ราคาแม้จะเอาชนะ supply 1 ก็จริง แต่ supply 2 ไม่ได้ห่างเยอะ อาจเป็นกลยุทธ์ supply เหนือ supply ก็ได้ เพราะถ้าเข้าเทรดตอนราคาเอาชนะ supply 1 ถ้าราคาย่อตัวลงไปถึงต้นตอคือกรอบสีเขียวด้านล่าง ราคาก็กลับมาแค่ supply 1 เพราะราคาไม่ได้เกิน supply 2 เพราะราคายังไม่ได้ชนะ supply 2 การที่ราคาจะวิ่งผ่านก็เป็นไปได้ยาก เพราะถึงขึ้นมาก็ยังต้องเจอ supply 2 อยู่ดี
แต่พอมาดูลูกศรที่ราคาเอาชนะ supply 2 ด้วย impulsive move สถานการณ์ต่างกันออกไป เพราะราคาได้เอาชนะพื้นที่ตรงข้ามหมด ก่อนราคาย่อตัวลงมา ความสำคัญของการเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามคือลด limit orders พื้นที่นั้นๆโอกาสที่ราคาจะวิ่งไปง่ายมีสูง หรือทำให้เกิดการวิ่งที่เรียกว่า path of least resistance การดู risk:reward เราก็จะดูที่จุดที่เราเข้าเทรด และจุดที่ราคาจะวิ่งไปแบบที่ trade setup กำหนดการเทรด ที่เลข 3 จะเห็นว่าเป็นผลหลังจากที่ราคาเบรค suppply 1 แล้วเด้งราคาไปเกิน supply 2
ดังนั้นเมื่อเห็น trade setup แบบนี้มี 2 จุด เพราะราคาเด้งที่จุดเลข 2 หรือ เลข 3 ก็ได้ ก็ดูอาการที่ราคาโต้ตอบประกอบ การวัด risk:reward ก็ไม่ต่างกันแต่ต่างกันที่ระยะที่ว่าตรงนี้มี 2 ทางเลือกเพราะหลังจากราคาเด้งจากการเข้าเทดรครั้งที่ 2 ราคาสามารถเอาชนะ supply 2 ได้ด้วย เปิดช่องว่างที่ราคาจะวิ่งไปชัดเจนกว่าตอนที่เข้าเทรดตอนเลข 1 เพราะราคาไม่สามารถเอาชนะ supply 2 ได้ กรอบสีแดงที่เลข 2 คือพื้นที่ Risk สำหรับการเข้าเทรดที่เลข 2 และกรอบสีเขียวที่ขึ้นมาถึง TP คือการคาดหวังกำไรเบื้องต้น หรือ initial Take-profit เพราะการตั้ง tp เราจะไม่กำหนดเกินที่ราคาวิ่งไปเปิดทางให้เป็นก่อน แต่ถ้าเป็นการเข้าเทรดที่กรอบสีแดงที่เลข 3 พื้นที่ก็จะสูงขึ้นเมื่อเทียบ Risk:Reward วิ่งไปที่จุดเดียวกันเรื่องระยะ Reward อาจลดลง แต่ก็ยังมากพอที่จะทำกำไร
ดังนั้นหลักการพื้นฐานเบื้องต้นการกำหนด Risk:Reward คือ หาพื้นที่จะเข้าเทรดและดูว่าพื้นที่ตรงนั้นกว้างมากหรือเปล่า ด้วยการดู filled orders หรือต้นตอ demand/suppply ให้เกิด impulsive move และดูว่าราคาวิ่งไปถึงไหน โดยเฉพาะเห็นตอนที่ราคาวิ่งไปเอาชนะ demand/supply พื้นที่ตรงข้ามด้วยประกอบยิ่งดี ก็วัดระยะพื้นที่ๆ ราคาวิ่งไป เป็น Reward แล้วเอามาเทียบกับพื้นที่ๆ เป็นต้นตอ สำหรับเข้าเทรดก็จะเป็น Risk เมื่อเทียบดสัดส่วน Risk:Reward ได้มากกว่า 1:3 ขึ้น เช่น 1:5 หรือ 1:7 หรือ 1:10 สรุปว่า ส่วน Reward ยิ่งมากยิ่งดี
การกำหนด Risk เบื้องต้นคือใช้ Stop loss ต่ำกว่ากรอบล่างหรือกรอบบน Risk เล้กน้อย แต่ให้ดูเรื่อง stop hunt ประกอบด้วย (เรื่อง stop hunting เคยกล่าวในบทความก่อนนี้) ส่วนเรื่องที่กำหนดพื้นที่ๆ ราคาวิ่งไปมาก่อนเป็นเบื้องต้น
อีกตัวอย่าง Risk:Rewardจะเห็นว่าพื้นที่Buyเป็นDemand2นัยที่สำคัญตรงนี้คือที่บอกว่า impulsive move คือราคาเปิดเผยการเข้าเทรดเพราะราคาเอาชนะพื้นที่ supply 1และ supply 2ได้ ทำ higher high ได้ จุดที่ Buy เป็น Higher Low ตรงพื้นที่ demand 2 ถือว่าเป็นพื้นที่ Risk ด้วย เมื่อเข้าเทรดและจุดที่ราคาไปสูงสุดก่อนกลับมาถือว่าเป็น initial TP เบื้องต้นหรือนับจากพื้นที่ demand 2 ถึงจุดนี้ถือว่าเป็น Reward เมื่อเทียบ Risk:Reward ประมาณ 1:10 ได้
จากตัวอย่างที่ยกมา สิ่งที่ยากสำหรับเรื่อง Risk:Reward ไม่ใช่เรื่องสัดส่วนแต่ต้องดูให้ออกว่าส่วนที่เป็น reward ได้เห็นสิ่งที่เรียกว่า path of least resistance หรือเปล่า เพราะจะเป็นการกำหนดเพื่อเพิ่มความเป็นไปได้เมื่อราคาวิ่งไป
ทีมงาน : thaiforexbroker.com