วิธีใช้ fibonacci ใน Tradingview การใช้ fibonacci Retracement , extension ทำอย่างไร ?

Fibonacci เบื้องต้น

Fibonacci : เบื้องต้น

เทรด  Forex  ไม่รู้ เรื่อง Fibonacci  เห็นจะไม่ได้นะ เครื่องมือตัวนี้ เป็นที่นิยมกันนัก ก่อนจะเข้าเรื่องการกาง การใช้ ก็ขอเกริ่นนำ แนว ๆ ความเป็นมา กะวิชาการก่อนนะครับ  Fibonacci (ฟีโบนักชี) เป็นอิดิเคเตอร์ตัวหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับเทรดเดอร์ในตลาด Forex เนื่องจากว่ามีความแม่นยำที่เชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง โดยหลักการวิเคราะห์ของ Fibonacci (ฟีโบนักชี) คือวิเคราะห์หาแนวรับ-แนวต้านของกราฟราคา เพื่อวิเคราะห์ว่าราคาน่าจะเคลื่อนที่ไปถึงจุดไหน น่าจะพักตัวไปถึงจุดไหน และหากราคาไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ควรจะตั้ง Stop loss ไว้ที่จุดไหน เรียกได้ว่าครบครันเลยทีเดียว เชียวครับ

ผู้คิดค้น Fibonacci (ฟีโบนักชี) ขึ้นมาคือ Leonardo Fibonacci (ลีโอนาร์โด ฟีโบนักชี) เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ที่เมืองปิซ่า ประเทศอิตาลี เกิดในปลายทศวรรษที่ 12 ประมาณปี ค.ศ. 1170 – 1250 ซึ่งจริงแล้วเขายังมีชื่ออื่นๆอีกด้วย เช่น เลโอนาร์โด ปีซาโน (Leonardo Pisano) แต่ในปัจจุบันเรามักจะรู้จักเขาในชื่อ Fibonacci (ฟีโบนักชี) เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมากในยุคนั้น

โดยพ่อของเขามีชื่อว่า กูกลีเอลโม วิลเลียม (Guglielmo William) มีอาชีพเป็นศุลการักษ์ ในสมัยนั้นที่เมืองบูเกีย (Bugia) ซึ่งเป็นเมืองท่าอยู่บริเวณแอฟริกาเหนือ Fibonacci (ฟีโบนักชี) ได้ร่วมเดินทางมาอยู่กับบิดาของเขาด้วยตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งตอนนี้เองเขาได้เรียนรู้ระบบเลขอาราบิก

หลังจากที่เขาเรียนรู้เลขอาราบิกแล้ว เขารู้สึกว่าเลขอาราบิกนั้นง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่าเลขโรมมันเป็นอย่างมาก เขาจึงออกเดินทางไปย่าคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียนกับนักคณิตศาสตร์ชาวอาหรับ และได้เดินทางกลับมาในบ้านเกิดเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1200 และ ปี ค.ศ. 1202 เขาอายุได้ 32 ปี ซึ่งเขาได้เผยแพร่สิ่งที่เขาศึกษามาในหนังสือ  ลิเบอร์ อะบาชี (Liber Abaci) หรือ คัมภีร์แห่งการคำนวณ

Fibonacci (ฟีโบนักชี) โด่งดังเป็นอย่างมากถึงขั้นได้รับเกียรติให้เป็นพระราชอาคันตุกะของจักรพรรดิเฟรดริกที่ 2  ( ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย )

ตัวเลข Fibonacci (ฟีโบนักชี) ถูกคิดค้นเมื่อทศวรรษที่ 13 โดยเขาสังเกตุและศึกษาจากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เช่น รูปแบบเปลืกหอยทาก รูปแบบผลไม้ รูปแบบของฟ้าแลบ คิดค้นออกมาเป็นสัดส่วนจนได้สัดส่วนที่เรียกว่า “สัดส่วนทองคำ”

โดย Fibonacci (ฟีโบนักชี) ได้ตัวเลขทางคณิตศาสตร์ คือ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233….. ไปเรื่อยๆ โดยตัวเลขเหล่านี้มีวิธีคิด คือ นำตัวเลขตัวหน้า 2 ตัวมาบวกกัน ก็จะได้ตัวเลขปัจจุบัน 1, 1, 2(เกิดจาก 1+1), 3(เกิดจาก 2+1), 5(เกิดจาก 2+3), 8(เกิดจาก 3+5), 13(เกิดจาก 5+8), 21(เกิดจาก 8+13), 34(เกิดจาก 13+21), 55(เกิดจาก 21+34), 89(เกิดจาก 34+55), 144(เกิดจาก 55+89), 233(เกิดจาก 89+144)….

คุณสมบัติของตัวเลข Fibonacci

ตัวเลข Fibonacci ที่อยู่หลัง หารด้วยตัวเลข Fibonacci ที่อยู่หน้า

มีค่าใกล้เคียงกับ 1.618 เสมอ เช่น 233/144 = 1.618

ตัวเลข Fibonacci ที่อยู่หน้า หารด้วยตัวเลข Fibonacci ที่อยู่หลัง 2 อันดับถัดไป

มีค่าใกล้เคียงกับ 0.382 เสมอ เช่น 89/233 = 0.382

ตัวเลข Fibonacci ที่อยู่หน้า หารด้วยตัวเลข Fibonacci ที่อยู่หลัง 2 อันดับก่อนหน้า

มีค่าใกล้เคียงกับ 2.618 เสมอ เช่น 89/34 = 2.618

สัดส่วนที่ออกมา  0.618, 1.618, 0.382 และ 2.618 เป็นสัดส่วนที่พบในธรรมชาติ โดยสัดส่วนที่สำคัญคือ 0.618 และ 1.618 มีชื่อเรียกว่า “สัดส่วนทองคำ”

ย้อนรอย เกริ่นๆไปพอสมควร เรามาดูว่า ประเภทของ  Fibonucci  มีกี่แบบ แต่ละแบบหน้าตา รูปร่างเป็นยังงัยกันบ้าง

1. Fibonacci Fans

2. Fibonacci Expansion

3. Fibonacci Retracement แบบนี้ เป็นแบบที่ นักเทรดนิยมใช้กันมาก

มาดูการใช้งาน ของ  Fibonucci Fans  กันก่อน  ตามภาพที่ 2  กันเลย

ไปที่ เมนู  Insert => Fibonucci => Fans  จากนั้นก็เลือกกางจุดที่คิดว่า  ต่ำสุด หรือสูงสุด

ในภาพเป็นการกาง  Fibo  จากจุดต่ำสุด ไปยังจุดสูงสุด นี่เป็นการลาก เทรนขาขึ้นต่อมา ถอยกราฟมาหา เทรนขาลง

นี่เป็นการลาก Fibo  ในขาลง คือ หาจุดสูงสุด แล้วลากมายังจุดที่คิดว่าต่ำสุด 

วิธีการดูกราฟ  โดยตามธรรมชาติกราฟมักจะลงมาพักตัวที่เส้น 68.2 หากราคาทะลุผ่านอาจจะเป็นการเปลี่ยนเทรน ตาถ้าไม่ทะลุ ก็ มีแนวโน้มที่จะลงต่อ  มาดูการลาก แบบต่อมากันเลย

การใช้งาน  Fibonucci  Expansion 

 

ไปที่ เมนู  Insert => Fibonucci => Expansion จากนั้นก็เลือกกางจุดที่คิดว่า  ต่ำสุด หรือสูงสุด ในหน้าจอนั้น 

 

ในภาพเป็นการกาง  Fibo  จากจุดต่ำสุด ไปยังจุดสูงสุด นี่เป็นการลาก เทรนขาขึ้น  แบบนี้เหมือน ๆ จะดูง่ายกว่า แบบ  Fans โล่งกว่าเยอะ ต่อมา ถอยกราฟมาหา เทรนขาลง

 

นี่เป็นการลาก Fibo  ในขาลง คือ หาจุดสูงสุด แล้วลากมายังจุดที่คิดว่าต่ำสุด  กราฟดูดีมากเลย

การตั้งเป้าหมายก็ ไล่เริ่มต้นที่เส้น FE 61.8  แล้ว ไล่มา  FE100   สุดท้ายที่  FE161.8  โดยใช้งานทั้ง เทรนขาขึ้นและเทรนขาลง  

มาดูแบบสุดท้ายกัน

Fibonacci Retracement แบบที่เทรดเดอร์ใช้กันแพร่หลายมาก  ตัวนี้เราใช้ไว้เพื่อ อะไร  ส่วนมากเราใช้เพื่อ หาแนวรับ แนวต้าน และเพื่อหาราคาเป้าหมาย

 

ไปที่ เมนู  Insert => Fibonucci => Retracement  เปิดกราฟ แล้วมองหาจุดต่ำสุดหรือสูงสุดในหน้าจอนั้น

 

ในภาพเป็นการกาง  Fibo  จากจุดต่ำสุด ไปยังจุดสูงสุด นี่เป็นการลาก เทรนขาขึ้น  โดยเรามอง เป้าหมายแรกที่ 23.6  ตามมาด้วย 38.2 , 50  และ61.8  หรือ ถ้าจะถือนาน หน่อย ก็ รอที่ 100 ก็ได้  มาดูขาลงกันบ้าง

 

ก็จะลากจากจุดสูงสุดไปยังจุดต่ำสุด เป้าหมายก็เหมือนกันกับ เทรนขาขึ้น  เริ่มที่  23.6 , 38.2 ,50 ,61.8  ,100 ตามลำดับ

การกาง Fibonucci  นี้ ต้องฝึกฝนเหมือนกัน นะครับ ถ้าฝึกบ่อย ๆ ก็จะเกิดความชำนาญขึ้นเอง แต่ถ้าหากไม่อยากกางเอง ก็มีอินดี้ช่วยเหมือนกัน  ตัวนี้เลยครับ  Fiboossss

 

อินดี้จะคำนวณขาขึ้น หรือขาลงให้เอง  แค่นี้ ..  เราก็ วาง  TP  ตามไปเลย ..   23.6 , 38.2  ประมาณ นั้น   เอาเป็นว่า พบกัน ตอนต่อไปครับ

ทีมงาน : thaiforexbroker.com