ยังอยู่ใน โหมดของ Indicator ที่มีอยู่ใน MT4 โดยอินดิเคเตอร์ตัวนี่ หากมองโดยภาพรวมๆแล้ว ค่อนข้างจะยุ่งเยิง สับสน อลเวง อลม่าน ดูดูแล้วไม่ค่อยจะน่าใช้ชักเท่าไร แต่ในความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะอินดิเคเตอร์ตัวนี้ ให้ข้อมูล ให้สัญญาณ ที่มีความแม่นยำมากทีเดียว ในบทความนี้จะมากล่าวถึงประโยชน์และการนำไปใช้ง่าย ของเจ้า Ichimoku กัน โดยเนื้อหาจะอยู่ในรูปแบบฉบับย่อ สั้น กระทัดลัด เพื่อจะได้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
Ichimoku แบ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน ที่ประกอบด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 5 เส้นดังนี้
- เส้นถอย(Chikou ชิโคว) คือเส้นราคาปิดปัจจุบันที่ขยับตัวกลับ 26 ครั้ง
- เส้นกลางจะประกอบด้วย 2 เส้นคือ เส้น คือเส้น Tenkan (เท็งกัง) = ค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 ใน 9 ครั้ง, และเส้น Kijun (คิจุน) = คือค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 ใน 26 ครั้ง
- เส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆ(Kumo คุโมะ) ประกอบด้วย 2 เส้น ที่ Shif ไปข้างหน้า 26 ครั้ง คือเส้น Senkou span A (เซนโคว สแปนเอ) = ค่าเฉลี่ยจาก Tenkun+Kijun ÷ 2, และเส้น Senkou Span B (เซนโคว สแปนบี) = ค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 คำนวณย้อนหลัง 52 ครั้ง
ภาพที่ 1 ตัวอย่างองค์ประกอบของเส้นต่างๆที่อยู่ใน Ichimoku
นำ Ichimoku มาใช้เพื่อ
- บอกจุดชื้อ – ขาย โดยดูจากเส้นคู่กลาง (Tenkan,Tenkan) ถ้าแดงตัดน้ำเงินขึ้น=ซื้อ ถ้าแดงตัดน้ำเงินลง=ขาย
- ยืนยันการเกิดเทรนด์ใหญ่ๆโดยดูจากเส้นถอยตัดกับเส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆ (Chikou/Kumo) ถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับขึ้น = จะเกิดเทรนด์ใหญ่ขาขึ้น ถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับลง = จะเกิดเทรนด์ใหญ่ขาลง
- บอก pattern ของราคาว่ากำลังอยู่ในช่วงไหน มีเทรนด์หรือไซต์เวย์ โดยดูจากตำแหน่งของแท่งเทียนกับกลุ่มก่อนเมฆ
- เป็นแนว-รับแนวต้าน โดยดูจากเส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆกับแท่งเทียน
- บอกจุดที่ราคาจะมีการสวิงตัวแรงๆ ตามทฤษฎีbreak out
ภาพที่ 2
ที่ผมใช้ ก็ ยึดแค่ นี้หละครับ กะ การยืนยันในการเกิดเทรนใหญ่ ๆ และ เป็นแนวรับ-แนวต้าน
เส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆสามารถเป็นได้ทั้งแนวรับและแนวต้านโดยดูจาก
- เป็นแนวรับเมื่อราคา(แท่งเทียน) อยู่เหนือกลุ่มก้อนเมฆ
- เป็นแนวต้านเมื่อราคา(แท่งเทียน) อยุ่ใต้กลุ่มก้อนเมฆ
ส่วน ข้ออื่นๆ ไม่ค่อยได้ใช้ เนื่องจากดูเป็นแค่ เส้นแดงตัดน้ำเงิน
เดิม ๆ ครับ ขอใช้คู่ GBP/USD กะ กราฟ 4hr … ( แนว ๆ นาน ๆ เปิด ออร์เดอร์ ) เดือนละ 2 – 3 ไม้ ลด การ Drawdown … ใจร่ม ๆ เดี๋ยวเรามา ถอยกราฟย้อนหลังไปดูสัญญาณ ของ Ichimoku กัน
ภาพที่ 3
เกิดสัญญาณ Buy ยาว เลย มาดูสัญญาณ ขาลงกันบ้าง
ภาพที่ 4
สัญญาณ Sell ค่อนข้าง ยาว เลย
ภาพที่ 5
ถ้าเจอกราฟ Sideway แบบ นี้ ดู บอล รอเถอะครับ หรือไม่ก็ ซีรี่ย์เกาหลี
ภาพที่ 6
แท่งนี้ ข่าว ข่าว … นี่ก็ หลบเถอะครับ อย่ายุ่งเลย มาเริ่มกันเลย ถอยกราฟไปหาจังหวะเปิดออร์เดอร์ กันเลย … ตามมา ก่อนอื่นขอปรับเส้นแดง เส้นเขียว ที่ใช้ทำมาหากินก่อน เพราะว่า ค่า Default ที่มาเส้นเล็กนิดเดียว มองไม่ถนัด
ภาพที่ 7
ปรับตามนี้ ตามภาพที่ 8
ภาพที่ 8
ภาพที่ 9 ปรับเรียบร้อย สบายตา ชัดขึ้นเยอะ
ภาพที่ 9
ภาพที่ 10 เราเริ่มหาจังหวะเข้าเทรดแล้ว
ภาพที่ 10
ถอยกราฟมาในวันที่ 01-09-2018 เห็น สัญญาณ Buy มาแล้ว เส้นแดงตัดเส้นน้ำเงินขึ้น เข้า Buy ทันที ที่ราคา 1.29113 ไม้นี้ถือไว้ 54 แท่ง ( 54X4=216=9 วัน ) ปล่อยที่ราคา 1.32774บวกมา 366.1 pips กำไร 36.61 $ ( บัญชี STD , lots = 0.01 ) ถือแค่ เก้าวันเองครับ
ภาพที่ 11
ยังขึ้นอย่างต่อเนื่อง จัด Buy ต่อเนื่องอีกไม้ ที่ราคา 1.32623 ถือทนทน ไว้ 35 แท่ง ( 35X4=140=5.83 วัน ) ปล่อยตามสัญญาณ ที่ 1.35548 บวกมา 292.5 pips เกิดกำไร 29.25 $ รวมไม้แรก 36.61+29.25 = 65.86 $
ภาพที่ 12
รอมาถึง วันที่ 25-09-2018 ค่อยมี สัญญาณ Sell จัดไป ที่ราคา 1.35375 ถือรอสัญญาณไว้ 65 แท่ง (65X4=260=10.8 วัน ) รอบนี้ ถือแค่ สิบวันกว่า เกือบ สิบเอ็ดวัน ปล่อยที่ราคา 1.31541 บวกมา 383.4 pips กำไร 38.34 $ ไม้นี้ เลยจากเดือนกันยายน ข้ามมาถึง วันที่ 9 หรือ 10 ตุลาคม รวมกับสองไม้แรก = 36.61+29.25+38.34 = 104.2 $ จากการเทรดเพียง 3 ไม้ใน หนึ่งเดือน แต่นี้เป็นแค่การเอากราฟย้อนหลัง มาหาจังหวะการเปิด ออร์เดอร์ แต่การเทรดจริงก็จะอาจไม่ตามนี้แป๊ะ ท่านอื่นอาจจะมี เทคนิคที่เยี่ยมกว่านี้ … ก็ลองมาแชร์กันนะครับ พบกันใหม่ บทความต่อไป
ทีมงาน : thaiforexbroker.com