การลงทุนในรูปแบบของการเทรด Forex หลายๆ คนคงจะนึกถึง Copy Trade เป็นหลัก แต่ว่ามันมีระบบบัญชีอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจและมีรูปแบบการทำงานคล้ายๆ กับ Copy Trade นั่นก็ตือ PAMM โยเราจะไปเจาะลึกทำความรู้จักกับ PAMM ในบทความนี้กัน
ฉบับย่อโดย Thaiforexbroker.com
- PAMM เป็นระบบการจัดการเงินทุนที่โบรกเกอร์เปิดให้บริการ โดยนักลงทุนสามารถฝากเงินให้เทรดเดอร์มืออาชีพนำไปลงทุนในตลาด Forex แทน โดยผลกำไรจะถูกแบ่งตามเปอร์เซ็นต์ที่ตกลงกันไว้
- ระบบ PAMM มีผู้เข้าร่วมหลักสองฝ่าย ได้แก่ ผู้จัดการบัญชี (Manager) ที่มีหน้าที่บริหารการลงทุน และนักลงทุน (Investor) ที่ฝากเงินให้ผู้จัดการนำไปเทรด
- แม้ว่า PAMM, MAM และ Copy Trading จะเป็นระบบที่ให้นักลงทุนฝากเงินให้ผู้จัดการบัญชีลงทุนแทน แต่มีความแตกต่างกัน เช่น การแทรกแซงการซื้อขายใน Copy Trading, การจัดสัดส่วนที่ยืดหยุ่นใน MAM และการรวมเงินทุนทั้งหมดในบัญชี PAMM
PAMM คืออะไร?
- PAMM ย่อมาจาก “Percentage Allocation Management Module” คือระบบจัดการเงินทุนที่โบรกเกอร์เปิดโอกาสให้เราฝากเงินให้เทรดเดอร์มืออาชีพช่วยเอาไปลงทุนใน Forex ให้นั่นเอง
- ซึ่งผลกำไรจากการเทรด ก็จะแบ่งตามเปอร์เซ็นต์ที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งระบบ PAMM นี้จะมีบุคคลสำคัญ 2 ฝั่งคือ
- เทรดเดอร์ที่เปิดบัญชี PAMM หรือผู้จัดการบัญชี สามารถกำหนดค่าธรรมเนียมหรือเปอร์เซ็นต์แบ่งจากกำไร เช่น 20-30% ของกำไร
- นักลงทุน จะเป็นฝ่ายที่นำเงินลงทุนให้เทรดเดอร์ไปจัดการซื้อขาย
กลไกการทำงานของ PAMM
อย่างที่กล่าวไปว่า PAMM เป็นระบบที่มีบุคคล 2 ฝ่าย เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งก็คือผู้จัดการบัญชี (Manager) และนักลงทุน (Investor) ทั้ง 2 นี้มีบทบาทและการทำงานดังนี้
ผู้จัดการบัญชี (Manager)
- ก็คือเทรดเดอร์มืออาชีพที่มีประสบการณ์ในการเทรด Forex ส่วนใหญ่เทรดเดอร์ที่จะเปิดบัญชี PAMM ได้ มักจะผ่านเกณฑ์และเงื่อนไขของโบรกเกอร์นั้นๆ มาแล้ว
- หน้าที่ของผู้จัดการบัญชีคือรับผิดชอบในการบริหารจัดการเงินทุนในบัญชี PAMM วิเคราะห์ตลาด วางแผน และตัดสินใจซื้อขาย
- ผู้จัดการบัญชีสามารถกำหนดสัดส่วนการแบ่งปันผลกำไร ค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขอื่นๆ ได้ เพื่อให้นักลงทุนพิจารณาฝากเงินให้เราจัดการ
นักลงทุน (Investor)
- ก็คือเทรดเดอร์หรือบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการลงทุนใน Forex โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้จัดการบัญชี
- หน้าที่หลักก็คือ ศึกษา เปรียบเทียบและคัดเลือกผู้จัดการบัญชีที่ตรงกับความต้องการและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
- เมื่อเราฝากเงินให้กับผู้จัดการบัญชีแล้วเราก็ยังสามารถติดตามผลลัพธ์ของการลงทุนได้ และรอรับเงินปันผล แต่ถ้าหากผู้จัดการเทรดขาดทุน เราไม่สามารถขอเงินคืนได้
ความแตกต่างระหว่าง PAMM, MAM และ Copy Trading
อย่างที่รู้กันว่าทั้งสามระบบนี้ Copy Trade, MAM และ PAMM ล้วนเป็นรูปแบบการลงทุนที่นักลงทุนสามารถฝากเงินให้ผู้จัดการกองทุนหรือเทรดเดอร์มืออาชีพ นำไปลงทุนในตลาด Forex แต่มีข้อแตกต่างในรายละเอียด ดังนี้
Copy Trade
- เทรดเดอร์ผู้ให้บริการ Copy จะเทรดด้วยเงินทุนของตัวเองและระบบจะคัดลอกคำสั่งซื้อขายไปยังบัญชีของนักลงทุนตามสัดส่วนเงินลงทุน
- นักลงทุนสามารถแทรกแซงการซื้อขายได้ เช่น ปิดสถานะที่ไม่เห็นด้วยหรือเปิดสถานะใหม่เอง
- ค่าธรรมเนียมจะถูกคำนวณจากผลกำไรโดยอัตโนมัติ
MAM
- คล้ายกับ Copy Trade แต่ผู้จัดการกองทุนสามารถกำหนดสัดส่วนการคัดลอกคำสั่งซื้อขายไปยังบัญชีนักลงทุนแต่ละรายได้อย่างยืดหยุ่น โดยบัญชีแต่ละรายเงินทุนจะแยกกัน
- นักลงทุน ไม่สามารถแทรกแซงการซื้อขายได้
- ค่าธรรมเนียมจะถูกคำนวณจากผลกำไรโดยอัตโนมัติ
PAMM
- เงินทุนของผู้จัดการกองทุนและนักลงทุนจะถูกรวมอยู่ในบัญชีเดียวกัน
- ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ตัดสินใจซื้อขายทั้งหมด โดยนักลงทุน ไม่สามารถแทรกแซงได้
- ผู้จัดการกองทุนไม่สามารถถอนเงินของนักลงทุนได้และค่าธรรมเนียมจะถูกแบ่งตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้
ข้อดีและข้อเสียของ PAMM
เรามาดูในส่วนของข้อดีและข้อเสียของระบบ PAMM กันบ้างว่ามีอะไร
ข้อดี
- มีการจัดการอย่างมืออาชีพ : โดยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพจะช่วยบริหารการตัดสินใจในการลงทุน ซึ่งอาจช่วยเพิ่มผลตอบแทนได้โดยที่นักลงทุนไม่ต้องเทรดเอง
- กระจายความเสี่ยง : การลงทุนในบัญชี PAMM เป็นการที่นักลงทุนสามารถกระจายพอร์ตการลงทุนแทนที่เราจะเทรดเองทั้ง เราแบ่งกระจายให้ผู้จัดการ PAMM คนอื่นๆ ช่วยบริหารเงินให้
- เงินลงทุนค่อนข้างต่ำ : ส่วนใหญ่แล้ว บัญชี PAMM จะมีข้อกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำที่ต่ำ จึงเข้าถึงง่ายและเหมาะกับผู้ที่มีเงินทุนน้อย
- ความโปร่งใส : บัญชี PAMM มีระบบการแสดงผลที่โปร่งใส นักลงทุนสามารถติดตามผลลัพธ์การดพเนินการ เช่น กำไร ขาดทุน รายการซื้อขายต่างๆ
ข้อเสีย
- มีค่าธรรมเนียม : นักลงทุนต้องแบ่งส่วนกำไรให้กับผู้จัดการกองทุนตามที่ตกลงกัน ซึ่งบางรายอาจคิดค่าธรรมเนียมสูง
- ขาดการควบคุมอย่างสิ้นเชิง : นักลงทุนไม่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจและเข้ามาแทรกแซงการเทรดเอง ต้องพึ่งพาการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนทั้งหมด
- จำกัดการถอนเงิน : บางบัญชี PAMM อาจกำหนดระยะเวลาในการถอนเงิน
โบรกเกอร์ Forex ที่มีบัญชี PAMM/MAM
ต่อไปนี้คือรายชื่อโบรกเกอร์ Forex ที่ทางทีมงานได้รวบรวมเอาไว้ เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้ว่าโบรกเกอร์เหล่านี้มีบริการบัญชี PAMM/MAM ให้แก่เทรดเดอร์ลูกค้า
- FP Markets : PAMM/MAM
- ATFX : PAMM/MAM
- ZERO Markets : PAMM/MAM
- INFINOX : PAMM/MAM
- Fusion Markets : MAM
- FXOpen : PAMM
- FXCG : PAMM/MAM
- AETOS : PAMM/MAM
วิดีโอเกี่ยวกับระบบ PAMM
ก่อนจากกันทีมงานได้ไปเจอวิดีโอที่เนื้อหาตรงกับบทความในวันนี้ ก็คือ PAMM vs Copy Trade โดยในเนื้อหาจะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างบัญชี PAMM และการ Copy Trade ซึ่ง อยากแนะนำวิดีโอนี้มีการใส่รูปภาพที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยผู้อ่านสามารถโฟกัสเนื้อหาตามนี้ได้เลย
- Pamm คืออะไร? นาทีที่ 0:33
- ข้อดีของ Pamm นาทีที่ 1:09
- Copy Trading คืออะไร นาทีที่ 2:01
- ข้อดีและข้อเสีย Copy Trading นาทีที่ 3:15
สรุป
จากเนื้อหาทั้งสรุปได้ว่า บัญชี PAMM เป็นตัวเลือกการลงทุนที่น่าสนใจที่อีกช่องทางหนึ่ง จุดเด่นคือนักลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของผู้จัดการกองทุนมืออาชีพในตลาด Forex โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการเทรดเอง ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มนักลงทุนที่ไม่มีเวลาหรือยังไม่มีประสบการณืมากพอในตลาด Forex
อย่างไรก็ตาม การลงทุนใน PAMM ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงเหมือนกัน เราควรหาข้อมูลและทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ เลือกผู้จัดการกองทุนที่มีประวัติการเทรดที่ดี ตรวจสอบโบรกเกอร์ว่าเป็นโบรกเกอร์ที่มีความปลอดภัยและมีความโปร่งใส นอกจากนี้ ต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยง เนื่องจากกำไรและขาดทุนเกิดจากการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนคนเดียว
ทีมงาน : thaiforexbroker.com