Force Index ดัชนีชี้วิถีตลาด forex

Force Index ดัชนีชี้วิถีตลาด forex

Force Index (FI) คือ indicator ที่ถูกพัฒนามาเพื่อวัดความแรงและทิศทางของตลาด forex ซึ่งมันอาจจะช่วยให้เทรดเดอร์คาดการณ์อนาคตได้ง่ายขึ้นครับ ซึ่ง FI indicator จะทำการเปรียบเทียบราคา (Price) กับ ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ให้เราผ่านสมการที่น่าทึ่งแต่ไม่ซึบซ้อนเท่าที่หลาย ๆ คนคิด โดย FI indicator มันไม่ได้มีดีแค่นั้นนะ ผู้เขียนจะพาเทรดเดอร์มาดูพลัง Force ของมันกันครับ

จุดกำเนิดและความสำคัญของ FI indicator

FI indicator ถูกสร้างขึ้นจากฝีมือของเทรดเดอร์ผู้โด่งดังท่านหนึ่งชื่อว่า Alexander Elder (เจ้าของผลงานหนังสือ “Trading for a Living” ในปี 1993) ครับ โดย FI indicator ไม่เพียงแต่จะสามารถทำนายทิศทางและความรุนแรงของตลาด Forex ได้เท่านั้น แต่มันยังสามารถชี้จุดกลับตัว หรือ Divergence และช่วยเราหาจังหวะการพักตัวของราคาได้อีกด้วย

โฉมหน้าผู้สร้างพลัง Force Index
โฉมหน้าผู้สร้างพลัง Force Index เทรดเดอร์ผู้โด่งดังท่านหนึ่งในวงการ Forex

เจ้า FI indicator จะค่อยชี้ให้เทรดเดอร์เห็นถึงการเคลื่อนไหวของตลาด forex โดยจะมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วนที่สำคัญคือ ทิศทาง (ขึ้นและลง), ระยะทางในการปรับตัว (ความแรงของตลาดขาขึ้น/ลง), และปริมาณการซื้อขาย (Volume) ครับ ซึ่งทั้งหมดจะถูกอธิบายได้ชัดเจนขึ้นผ่านสมการในหัวข้อลำดับถัดไป

ลักษณะของ FI indicator จะประกอบไปด้วย เส้น 1 เส้นที่สะท้อนถึง Value ที่ถูกคำนวณโดยสมการของมัน และเส้น 0 ที่เป็นเส้นบอกความสมดุลแห่งพลัง สิ่งที่น่าสนใจอีกหนึ่งอย่างของ FI indicator คือ มันจะไม่มีเพดานบนและล่างเหมือน RSI indicator หรือ Stochastic Oscillator indicator ครับ ดังนั้นใครจะนำ FI indicator ไปใช้ควรจะระวังข้อนี้ด้วย

FI indicator forex
ตัวอย่างหน้าตาลักษณะของ FI indicator forex ขุมพลัง Force ของเหล่าเทรดเดอร์

หลักการทำงานของ FI indicator

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของ FI indicator กันให้มากขึ้นอีกนิดดีกว่าครับ… สิ่งแรกที่เราน่าจะต้องทราบ คือ ความเข้าใจเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวของราคาและปริมาณการซื้อขาย.. Strong Trend มันมักจะมาพร้อมกับ Volume ที่มากจริงไหมครับ ในทางกลับกัน Weak Trend มันก็จะมี Volume ที่น้อยกว่า ซึ่ง FI indicator จะวัดความแข็งความอ่อนของ Trend โดยการเปรียบเทียบราคาปิดของช่วงเวลาปัจจุบัน, ราคาปิดของช่วงเวลาก่อนหน้า, และ Volume ในช่วงเวลาต่าง ๆ ครับ

สูตรคำนวณ

หากใครอ่านหลักการแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจการทำงานของ FI indicator ลองมาดูสมการการคำนวณของเขากันครับ ไม่ซับซ้อนมาก และอาจจะช่วยให้เทรดเดอร์เข้าใจอะไร ๆ ได้มากขึ้นด้วย

ขั้นตอนแรกให้เราคำนวณ Force Index (1) ก่อนครับ

 

Force Index (1) = [Close(Current period) – Close(Prior period)] * Volume

 

เมื่อ

  • Force Index (1) = ค่า Force Index ปัจจุบัน
  • Close(Current period) = ราคาปิดปัจจุบัน
  • Close(Prior period) = ราคาปิดก่อนหน้า
  • Volume = ปริมาณการซื้อขาย

ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการหาค่า Force Index ใน Period ที่ 13 หมายความว่าเราต้องแทนค่า ราคาปิดช่วงเวลาก่อนหน้าลงไปครับ

 

Force Index (13) = 13 Period EMA ของ Force Index (1)

 

เมื่อเราคำนวณค่า FI ได้แล้วเราจะสามารถนำค่าเหล่านั้นมาพิจารณาออกได้เป็น 3 ส่วนประกอบที่สำคัญ ๆ ได้แก่

  1. ทิศทาง (Up trend / Down trend)
    • ค่าที่ได้มาจะเป็น (-1) และ (+1) ครับโดยค่านี้จะได้มาตอนที่เรานำราคาปิดปัจจุบันเทียบกับค่าราคาปิดก่อนหน้า ซึ่งหากเป็นค่าบวกหมายถึงเทรนขาขึ้น ในขณะที่ค่าลบจะเป็นเทรนขาลงครับ
  2. ระยะทางการปรับตัว (Extent)
    • Extent จะเป็นส่วนต่างของ ราคาปิดปัจจุบัน กับ ราคาปิดก่อนหน้า
  3. ปริมาณการซื้อขาย (Volume)
    • เมื่อนำราคาซื้อขายมาคูณด้วยปริมาณการซื้อขายจะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการนัยยะสำคัญของการเคลื่อนไหวราคา เพราะยิ่งปริมาณการซื้อขายมาก FI จะให้ความสำคัญมาก แต่ถ้าตัวคูณน้อย FI ก็จะให้ความสำคัญน้อยลงครับ
ตัวอย่างการคำนวณ FI แบบอัตโนมือ
ตัวอย่างการคำนวณ FI แบบอัตโนมือ

วิธีการติดตั้งและการเรียกใช้งาน

ข่าวดีคือ FI indicator เป็นอินดี้ที่แถมมาให้ใน Metatrader 4 (mt4) และ metatrader 5 (mt5) ครับ อิอิ เราแค่ทำการเรียกใช้งานเท่านั้นก็สามารถจัดได้เลย และมันดีต่อนักพัฒนา EA แบบ no code ด้วยนะ เพราะถ้าแถมมากับ metatrader แล้วมักจะมีบรรจุใน fxDreema แหละ

การเรียกใช้งาน Accelerator จาก MT4 / MT5

  • Manu -> Insert -> Indicator -> Oscillator -> Force Index

วิธีการตั้งค่า

การตั้งค่าของ FI ก็ไม่มีอะไรมากครับ เขาอนุญาตให้เราปรับค่า Period ได้และปรับค่าที่เกี่ยวข้องกับ Moving Average (MA method) และ Apply method ได้เลย เพราะพื้นฐานการทำงานนั้นยังคงอิงอาศัย MA อยู่ครับ

ตัวอย่างการตั้งค่า FI indicator
ตัวอย่างการตั้งค่า FI indicator

วิธีการใช้งาน FI indicator

เทรดเดอร์สามารถใช้ FI indicator ได้หลากหลายมากครับ ไม่ว่าจะเป็น การดูแนวโน้ม การหารอบสวิง การหาจุดกลับตัว เป็นต้น โดยผู้เขียนจะบอกทั้งหมดเลยครับ

การดูแนวโน้มแบบที่ 1

วิธีการหาแนวโน้มแบบแรกนั้นค่อนข้างง่ายและดูจะเป็นกำปั้นทุบดินไปซักหน่อย แต่ก็พอจะใช้ได้ครับ.. วิธีการคือ

  • หากเราตี Trend Line แล้วดูว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น ให้เรามาดูที่ค่า FI เพื่อยืนยันอีกชั้นหนึ่ง โดยค่า FI จะต้องอยู่เหนือเส้น 0 ครับ
  • ในทางกลับกัน หากเราตี Trend Line แล้วดูว่าเป็นแนวโน้มขาลง ค่า FI ที่เราควรจะได้จะต้องอยู่ต่ำกว่าเส้น 0 ครับ
ตัวอย่างการใช้ FI indicator วิเคราะห์ Trend ขาขึ้น
ตัวอย่างการใช้ FI indicator วิเคราะห์ Trend ขาขึ้น

การดูแนวโน้มแบบที่ 2

วิธีที่สองเป็นการหาแนวโน้มที่ Advance ขึ้นมาอีกระดับ เนื่องจากเป็นการใช้แนวรับ แนวต้านเข้ามาด้วย ข้อดีคือจะหาแนวโน้มได้แต่เนิ่น ๆ ครับ

  • หาแนวโน้มขาขึ้น: ให้เราตีแนวต้าน 1 มาก่อนทั้งในกราฟแท่งเทียนและบนหน้าต่าง indicator (รูปที่ 6) จากนั้นให้เราหาจังหวะเพื่อตีแนวต้าน 2 ขึ้นมาทั้งกราฟแท่งเทียนและบนหน้าต่าง indicator -> หากราคาวิ่งทะลุแนวต้าน 1 และ 2 พร้อมกับค่า FI ทะลุแนวต้าน 1 และ 2 ได้ -> หมายความว่าตอนนี้เป็น Up trend ที่แข็งแรงมาก ๆ แล้ว
  • หาแนวโน้มขาลง: ให้เราตีแนวรับ 1 และ 2 ขึ้นมาบนกราฟแท่งเทียนและหน้าต่าง indicator ในรูปแบบเดิม -> จากนั้นรอให้ราคาและค่า FI วิ่งทะลุแนวรับ 1 และ 2 ตามลำดับ -> จึงจะสามรถบอกได้ว่าเป็น Down trend ที่แข็งแรงครับ
ตัวอย่างการวิเคราะห์แนวโน้มด้วย FI indicator แบบที่สอง
ตัวอย่างการวิเคราะห์แนวโน้มด้วย FI indicator แบบที่สอง

การหารอบสวิง

การหารอบสวิงของการเคลื่อนที่ราคานั้นเราจะหาช่วงที่ตลาดเป็น Trend ครับ ซึ่งวิธีนี้เราจะใช้ Indicator อีกตัวเข้ามาช่วยนั่นคือ EMA (22) นั่นเอง วิธีการไม่ยากครับ เพียงเราต้องระบุแนวโน้มก่อนว่าเป็นเทรนขาขึ้นหรือลง โดยยังไม่ต้องสนใจว่าเป็นเทรนที่แข็งเกร่งหรือเทรนอ่อน หลักการคือการหาจังหวะย่อตัวครับ โดยผู้เขียนจะยกตัวอย่างการหารอบสวิงขาขึ้น

  • หาแนวโน้ม ด้วย EMA (22) โดยแท่งเทียนจะอยู่เหนือเส้น EMA ขึ้นไป
  • เมื่อราคาวิ่งลงมาใกล้ ๆ หรือ ชนกับเส้น EMA (22) ให้เรามาดูที่ FI indicator ครับ หากค่า FI อยู่ใต้เส้น 0 และแท่งเทียนดังกล่าวเป็น Bearish candle ให้เรามาร์คเอาไว้ว่าจุดนี้คือรอบสวิงของมัน อาจจะพร้อมดีดตัวขึ้นอีก ทั้งนี้จังหวังดังกล่าวไม่ควรอยู่ใกล้กับแนวรับที่แข็งแรงครับ
ตัวอย่างการหารอบสวิงขาขึ้นด้วย FI indicator และ EMA (22)
ตัวอย่างการหารอบสวิงขาขึ้นด้วย FI indicator และ EMA (22) ซึ่งบอกแล้วว่าต้องใช้บ่อย ๆ นะ มันจำชำนาญขึ้นครับ

การหาจุดกลับตัว

วิธีการหาจุดกลับตัว (Divergence) แบบนี้เป็นหนึ่งวิธีที่เหมาะกับคนเทรดมือมากครับ โดยเราสามารถหาจุดกลับตัวได้ง่าย ๆ เพียงสังเกตุกราฟแท่งเทียนไปพร้อม ๆ กับหน้าต่าง FI indicator

  • Bullish Divergence: จุดกลับตัวขาขึ้นนั้น เมื่อเราตี Trend Line แล้วกราฟแท่งเทียนจะต้องทำท่าเป็นขาลง แต่ Trend Line ในหน้าต่าง FI indicator จะต้องเป็นขาขึ้นครับ ความขัดแย้งแบบนี้บอกเราว่า นี่แหละคือจุดกลับตัวที่เรากำลังตามหา
  • Bearish Divergence: จุดกลับตัวขาลง หลักการในการวิเคราะห์ก็เหมือนกับแบบขาขึ้นครับ โดยตี Trend Line บนกราฟแท่งเทียนแล้วจะเกิดขาขึ้น แต่เมื่อมาดู Trend Line บน FI indicator กลับกลายเป็นขาขึ้น -> ลักษณะแบบนี้เองที่บอกเราว่า นี่แหละจุดกลับตัวขาลงที่เราต้องรู้
ตัวอย่างการหาจุดกลับตัวขาขึ้น หรือ Bullish Divergence ด้วย FI
ตัวอย่างการหาจุดกลับตัวขาขึ้น หรือ Bullish Divergence ด้วย FI indicator

สรุป

Force Index ถือว่าเป็นอินดิเคเตอร์ชั้นยอดของเจได แฮร่!! ไม่ใช่ เป็นอินดิเคเตอร์ชั้นยอดของเทรดเดอร์ ที่จะช่วยให้การวิเคราะห์ตลาด Forex เป็นไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ส่งผลให้การทำกำไรในตลาด Forex นั้นเป็นดั่งการเสกเงินจากอากาศเข้ากระเป๋าเลยล่ะครับ