เข้าใจ Impulsive move และ corrective move ช่วยเทรดดีขึ้น
การที่จะอ่าน หรือเทรด price action ได้ดี อย่างแรกที่ต้องข้าใจคือเรื่อง impulsive move และ corrective move เพราะทั้งสองอย่างเป็นผลของ price action ที่กำลังสือสารว่าขาใหญ่กำลังทำอะไร ไม่ว่าจะกำลังเปิด sell หรือกำลังเปิด buy หรือว่าเทรนกำลังขึ้น หรือกำลังลง
อย่าง impulsive move เป็น price action ที่บอกว่าขาใหญ่ได้เข้าเทรด เราจะเห็นว่า impulsive จะเป็นส่วนสำคัญเรื่อง strong move away ของเรื่อง demand/supply ที่ยืนยัน หรือแม้แต่ช่วงราคาทำเทรนขึ้นด้วย higher highs ที่ตามด้วย higher lows หรือราคาทำเทรนลงด้วย lower lows ตามด้วย lower highs ล้วนนำด้วย impuslive move หรือแม้แต่ตอนเทรนเปลี่ยนก็จะเห็น impulsive move ก็เกิดขึ้นตรงข้ามกับทางที่ทำเทรน เป็นสัญญาณอย่างแรกที่เกิดขึ้น
Impulsive move คือการที่ราคาเคลื่อนไปทางใดทางหนึ่งแรงๆ ระยะที่มากพอในระระเวลาอันสั้น การเคลื่อนไหวนี้บอกถึงความไม่สมดุลย์ที่เกิดขึ้นระหว่าง sellers และ buyers ที่มีการเข้าเทรดของขาใหญ่ ถ้ามองแท่งเทียนก็จะเห็นบาร์ยาวๆ ส่วนมากไปทางเดียวกันหรือถ้าเป็นบาร์สีก็จะสีเดียวกัน และราคาปิดก็จะเป็นทาง highs/lows ของทางที่ราคาเคลื่อนไหวไป ยิ่งหางบาร์น้อยหรือไม่มีเลยยิ่งดี
ข้อแรกบาร์ยาวๆ สื่อสารถึงสักษณะการเข้าเทรด เรื่องออเดอร์ที่อยู่หลังภาพบาร์ยาวๆ คือมีแต่เทรดเดอร์เทรดทางนั้น บอกถึง strong imbalance ได้เกิดขึ้นช่วงแท่งเทียนนั้นๆ ยิ่งเมื่อเราเห็นบาร์ยาวๆที่เกิดไปทิศทางเดียวกัน ยิ่งบอกถึงออเดอร์ที่เกิดขึ้นไปทิศทางเดียวกันอย่างมาก เพราะขาใหญ่เข้าเทรดเลยกลายเป็นร่องรอยที่เราสนใจเพราะบอกว่าขาใหญ่ได้ทำอะไรตรงไหน
ข้อสอง บาร์ที่อยู่ช่วง impulsive จะเป็นบาร์ทางเดียวกันเป็นหลัก เป็น bullish หรือ bearish บาร์ต่อกัน เพราะบอกถึงความต่อเนื่องและการเข้าเทรดของขาใหญ่ ถ้ามีบาร์ต่างประเภทแทรกมา บอกถึงมีออเดอร์ฝั่งตรงข้ามลด trading pressure อาจไม่มากพอ ถ้ามากจริงต้องไม่มีบาร์ที่สักษณะตรงข้ามกันมาแทรก
ข้อที่สาม จะเป็นราคาเ3ปิดของบาร์ในช่วง impulsive ควรเปิดทางเดียวกันที่เราวิ่งไป และมีหางบาร์ทางที่ราคาวิ่งไปแต่น้อยหรือไม่มีเลย ยังสือสารว่ายังมีการเข้าเทรดอย่างต่อเนื่อง ถ้ามีหางบาร์แสดงว่ามีการปิดทำกำไร
และที่สำคัญถ้าเห็น impulsive move นั้นๆ เอาชนะ price levels หรือ demand/supply ฝั่งตรงข้ามด้วยยิ่งดี เพราะสิ่งสำคัญที่ impulsive move บอกคือการเข้าเทรดของขาใหญ่ ยิ่งเห็นว่าความพยายามนั้นๆ เป็นการเอาชนะพื้นที่ฝั่งตรงข้ามด้วย
Corrective move เป็นลักษณะการเคลื่อนไหวที่ตรงข้ามกับ impulsive move มีบาร์เล็กๆ มีทั้งบาร์ที่เป็น bullish และ bearish ไปในทิศทางที่วิ่งไป และราคาปิดมีหางบาร์ยาวๆ ทิศทางที่ราคาวิ่งไป
ส่วนมากตรงส่วนcorrection moveจะเป็นส่วนสำคัญในการทดสอบimpulsive moveและมักจะเป็นจุดที่เทรดเดอร์ต่างๆหาโอกาสเทรดต่อเช่นอาจใช้swap levelที่เกิดขึ้นตอนราคาทำimpulsive moveหรือเป็นการใช้Fibonacci Retracementประกอบแล้วแต่วิธีการออกไปหรืออาจดูprice actionประกอบเลยcorrective moveเปิดโอกาสให้เทรดpullbackหรือretracementได้สำหรับรายย่อยเพราะขาใหญ่มักจะเปิดออเดอร์เพิ่มอีก
อีกมุมมองหนึ่งของการเข้าใจ Impulsive move คือทำให้ท่านมองเป็น momentum ล่าสุดที่เกิดขึ้นเปิดโอกาสให้ท่านสามารถเทรด momentum ที่เกิดจากการเข้าเทรดของขาใหญ่
Impulsive moveที่เลข1 เกิดจากการที่ขาใหญ่เทรดเพื่อเอาชนะฝั่งตรงข้ามดู3 บาร์ในกรอบไปทางเดียวกัน2 บาร์แรกมีหางบาร์ทางที่ราคาวิ่งไปแต่เป็นหางบาร์เทสพื้นที่ฝั่งตรงข้ามไปด้วยแต่หางบาร์อีกฝั่งแทบไม่มีเลย และบาร์ที่3 ยิ่งยาวและราคาปิดแทบไม่มีหางบาร์เลยบอกถึงออเดอร์ที่เข้ามาเยอะต่อเนื่องการเปิดเทรดแบบนี้มีแต่ขาใหญ่ทำส่วนที่ย่อตัวมาถือเป็นcorrective moveเป็นจุดที่หาโอกาสเทรดตามเพราะร่องรอยขาใหญ่เปิดเผยที่Impulsive moveในที่นี้จุดที่เปิดเทรดตามจะเป็นจุดที่มีtrapped tradersคือจุดที่ราคาชนะลงมาตอนแรก ต้องทำความเข้าใจอย่างหนึ่งโครงสร้างของimpulsive moveที่มีการเอาชนะพื้นที่ฝั่งตรงข้ามประกอบนอกจากจะได้ร่อยรอยการเทรดของขาใหญ่แล้วท่านยังได้ trapped tradersและราคาก็ไปเคลียร์ออเดอร์ทางนั้นๆให้ได้พูดง่ายๆถ้าท่านเห็นengulfingพื้นที่ออเดอร์ตรงข้ามเกิดขึ้นด้วยยิ่งดีสำหรับimpulsive move
จากตัวอย่างที่ยกมา เห็นว่า เมื่อเกิด impulsive move มักจะมี corrective move ตามมาเสมอ และหลังจากจบ corrective move มักจะมี impulsive move ตามมาขึ้นอีก จะเหมือนการทำเทรนที่อธิบายด้วยหลักการทำ higher highs ตามด้วย higher lows สำหรับเทรดขึ้นหรือ lower lows ตามด้วย lower highs สำหรับเทรดลง และราคาจะหยุดก็ต่อเมื่อเกิด Impulsive move จากออเดอร์ฝั่งตรงข้าม ทำนองเดียวกันกับการทำเทรนด้วยการพัฒนา swing highs/lows เป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนเทรน การวิ่งของราคาก็เป็นวัฏจักรแบบนี้ไป
จากตัวอย่างจะเห็นว่า หลักการ impulsive move และ corrective move ช่วยให้เข้าใจและเทรด price action ได้เยอะและช่วยให้รู้ว่าขาใหญ่เทรดอย่างไร เปิดเผยการเทรดตรงไหน เช่น เมื่อเข้าใจก็มองเทรนเป็น มองการพัฒนาการของเทรนเป็น หาโอกาสเทรดตามขาใหญ่เป็น ด้วยการรอเทสราคาย่อตัวตอน corrective move รู้ว่าเทรนจะไปต่อหรือใกล้จะกลับเทรนเป็น รู้ว่าฝ่ายไหนกำลังควบคุมตลาดเป็น
ตังนั้นเมื่อจะเปิดเทรด จงมั่นใจว่าท่านได้เห็น impulsive move เกิดขึ้น เทรดให้สัมพันธ์กับข้อมูลนี้เพราะเป็นการเทรดตามขาใหญ่
ทีมงาน : thaiforexbroker.com