หา Trade setup แบบง่ายสุดด้วย momentum

Trade setup

หา Trade setup แบบง่ายสุดด้วย momentum

               มีวิธีการไหนที่จะหาเทรด trade setup ได้ง่ายที่สุดและไม่ต้องรอเทรดนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองการวิเคาะห์ด้าน technical analysis ซึ่งอาจจะต่างจากการเทรดแบบข้อมูลจากข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับค่าเงินนั้นๆ  trade setup แต่ละ technical analysis ก็จะต่างกันออกไปแล้วแต่หลักการ แต่เมื่อท่านมองดูชาร์ตเปล่าอย่างเดียว ราคาไม่รู้จัก technical analysis พวกนี้ ราคาที่เคลื่อนไหวไปมาเป็นผลจากการเทรดของเทรดเดอร์เป็นหลักว่าจะเทรดและทำกำไรอย่างไรหรือจะจำกัดความสูญเสียอย่างไรเลยทำให้ demand/supply เกินกัน

               ข้อดีของการเทรดแบบ technical analysis แบบชาร์ตเปล่า คือมีชาร์ตเปล่าย้อนหลังให้ท่านศึกษาตลอด โดยแทบไม่ต้องใช้อินดิเคเตอร์อะไรประกอบเลย ถ้าเข้าใจตลาดทำงานอย่างไร ออเดอร์ทำงานอย่างไรและเทรดเดอร์ต่างๆ หลักการเทรดแบบ technical analysis จะมีสองแบบหลักๆ คือเทรดตอนราคาย่อตัวหรือเบรคแล้วย่อตัว กลับมาที่ต้นตอเห็นเป็นรูปตัว  V หรือเป็นต้นตอของ supply แบบ rally-base-drop หรือ demand แบบ drop-base-rally หรือเทรดตอนราคาเบรคประเภท demand/supply ที่เกิดตามเทรน หรือที่เป็นแบบ continuation pattern แล้วรอเทรดตอนราคากลับมา

               เมื่อมองดูจากรูปจะเห็นว่าสีแดงแบบกลับเทรน เมื่อราคาแตะต้นตอก็จะมีการกลับเทรนเป็นหลัก จะเป็นพื้นที่ที่จะดูง่ายพราะรูปโครงสร้างที่โดดเด่นและมีความเป็นไปได้สูงด้วย แต่ปัญหาคือไม่ค่อยเกิดบ่อย แต่ถ้าเป็นกรอบสีเขียวจะเห็นว่าเกิดบ่อยมากเมื่อเทียบกับสีแดงที่ตีไว้ สีแดงมีแค่ 3 กรอบ ขณะที่เขียวมีที่เห็นชัดๆ 8 กรอบ ถามว่าภาพที่ปรากฏดูง่ายเท่าแบบแรกหรือเปล่า คำตอบคือไม่ แต่ก็ดูไม่ยากเพราะยังมีอะไรที่บอก เช่นเรื่องบาร์ยาวๆ ที่เกิดขึ้นตอนราคาเบรค high หรือ low แล้วราคาไปต่อ

               ดังนั้นเมื่อมองจากชาร์ตที่ยกตัวอย่างมา H1 จะเห็นว่าตลาดทั่วๆ ไป ไม่ได้เปลี่ยนเทรนบ่อย เมื่อเกิดจุดกลับตัว ราคาก็จะวิ่งเป็นเทรนทางนั้นๆ เป็นหลัก ส่วนมากจะเป็นการเอาชนะพื้นที่ตรงข้าม เลยทำให้เกิดโอกาสเทรดเกิดขึ้นตลอด สิ่งที่ท่านต้องการคือ สิ่งที่บอกว่าขาใหญ่เข้าเทรดจริงหรือเปล่าหรือออกจากการเทรดตรงนั้นเป็นเพราะต้องการทำกำไร เมื่อท่านหาต้นตอที่ทำให้ราคาเปลี่ยนเทรน ท่านก็แค่หาโอกาสเทรดตามเป็นหลัก

               Impulsive move คือสิ่งที่บอกว่าขาใหญ่เข้าเทรดจริง และเมื่อท่านดูจากตัวอย่างท่านจะพบว่าเมื่อเกิด impuslive move แล้วส่วนมากก็จะเกิด ตามมาอีกจนกว่า impulsive move เกิดทางตรงกันข้าม ก็เกิดตามมาอีกเป็นวัฏจักรตลาดไป หรือเรียกกว่า การทำเทรน แล้วเปลี่ยนเทรน แล้วทำเทรนอีก

 

               เมื่อเทียบกัน กรอบสีแดงและกรอบสีเขียวท่านจะพบว่าโอกาสเกิดกรอบสีเขียวมากกว่า กรอบสีแดงนานๆ กว่าจะเกิดเพราะกรอบสีแดงเป็นรูปแบบเปลี่ยนเทรน ส่วนกรอบสีเขียวเป็นรูปแบบเทรดตามเทรน และอีกอย่างสังเกตดู ประเทรดกรอบสีเขียวเมื่อเปิดเผย ว่าเป็น impulsive move อีกไม่นานราคาก็จะกลับมาเปิดโอกาสให้ท่านเทรดต่อ เมื่อเทียบกับกรอบสีแดงที่นานกว่าราคาจะกลับมา ดูที่กรอบสีชมพูเมื่อราคาเบรค high หรือ low ก่อน แล้วราคาย่อตัวกลับมาแล้วราคาไปต่อตามเทรน

               จากที่ยกตัวอย่างมาจะเห็นว่าการหา trade setup แบบนี้จะหาได้ง่ายสุด และความเป็นไปได้ในการเทรดสูงด้วยเพราะเป็นการเทรดตาม momentum ที่เกิดขึ้นล่าสุด momentum ที่เกิดขึ้นล่าสุดนั้นเป็นส่วนประกอบของ impulsive move หรือวิธีการแบบนี้บางทีเรียกเป็นการเทรดตาม momentum บางเทรดเดอร์มองว่าเทรดทางไหนก็ได้ ขอให้ momentum นำมาก่อนพอเทรดได้หมด เหมือนมีพลังต่อเนื่องที่เกิดขึ้น แต่หาว่าจะเข้าเทรดตรงไหนด้วยการดู price structure ที่เกิดขึ้นประกอบกับ momentum แล้วเทรดตาม

               ดังนั้นเมื่อมองที่ชาร์ตเปล่าให้หา momentum bar เห็นเป็นบาร์ยาวๆ แล้วดูว่า momentum bar นั้นเป็นส่วนประกอบของ impulsive move หรือเปล่า เช่นขนาดบาร์ต้องยาวๆ ราคาปิดทางที่เกิด momentum ไป ไม่มีหางบาร์หรือ น้อยยิ่งดี มีบาร์ตามมาและเป็นไปทางเดียวกัน และการเปิด momentum มีการเอาเอาชนะพื้นที่ตรงข้าม (high/low ก่อนที่บอกว่าเป็นแนวรับ-แนวต้าน) ด้วยและมีบาร์ไปทางเดียวกันด้วย

               มาดูคู่ EURUSD อีกรอบ จะเห็นว่าเมื่อมองที่ชาร์ตเปล่าที่ลูกศรชี้เป็น momentum bar ยาวๆ ท่านจะพบว่ามองหาง่ายแค่ท่านใส่ตัวกรองที่ยืนยันว่า momentum bar นั้นเป็นส่วนประกอบของ impulsive move ท่านจะได้หา trade setup ได้แบบง่ายและรวดเร็ว

               ที่เลข 1 จะเห็นว่า momentum bar ตามด้วย อีก 2 บาร์ไปทางเดียวกัน เห็นจุดที่ราคาเบรค แต่ราคาย่อตัวมาไม่ถึง จุดที่ 2 เกิดต่อเนื่อง และราคาเบรค Low ที่เป็น demand แล้วราคาย่อตัวมาเปิดโอกาสให้เทรด และเกิดที่เลข 3 อีกแต่ราคาย่อตัวมาไม่ถึง

               ที่เลข 4 ราคาเกิด momentum bar ขึ้นและเอาชนะด้วยได้เงื่อนไข impulsive move สำหรับการเปิดเทรดก็ให้ดูว่าราคาเบรค high/low ที่เป็นแนวต้านหรือแนวรับตรงให้ ให้เปิดเทรดตรงนั้น ส่วน stop loss ก็เป็นพื้นที่ต้นตอที่ทำให้เกิด impulsive move ส่วน take profit ก็เป็นแนวรับ-แนวต้านตัวต่อไป ดูเส้นสีเขียวประกอบ  ส่วนที่เลขอื่นๆ ก็หลักการเดียวกัน

               จะเห็นว่า momentum bar ช่วยให้หา trade setup ได้ง่ายเพราะ momentum บอกถึงการเข้าเทรดจริงของขาใหญที่ต้องการดันราคาไปทางนั้นๆ และที่ต้องมาให้เห็นราคาเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามประกอบด้วย เพราะอย่างแรกเลยได้ใช้ประโยชน์จาก trapped traders ที่เกิดขึ้น อย่างที่สอง ข้อมูลเปลี่ยน อย่างชัดเจนเลยดึงดูดเทรดเดอร์ประเภทที่รอเข้าให้เข้าเทรดตรงนั้นด้วยเลยทำให้เกิด market orders ที่จะหนุนไปต่อทางที่เกิด momentum ได้ง่าย

ทีมงาน : thaiforexbroker.com