Take Profit , Stop Loss ขั้นเทพ เทรดForex

วาง Take Profit , Stop Loss ขั้นเทพ

Take Profit , Stop loss  ขั้นเทพ เทรดForex

     ตอนนี้ ก็ยังไม่ใช่เรื่อง อินดี้ ขอวนมาแนว ๆ หลักการนะครับ  คือเรื่อง  TP , SL ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่าTakeprofitกับStoplossมันมีความหมายว่าอย่างไร

Take Profit: คือ จุดทำกำไร คือการที่เรารอให้ราคามาถึง ณ จุดๆ หนึ่งโดยที่ราคานั้นเป็นจุดที่ทำให้เราได้กำไรตามเป้าหมายที่วางเอาไว้จากนั้นก็ปิดทำกำไรที่ราคา ณ จุดนั้น และเมื่อปิด Take Profit ไปแล้วและกำไรก็เข้ามาอยู่ใน Capital ของพอร์ตโดยไม่ว่าราคาจะไปในทิศทางใดก็ย่อมมีมีผลกระทบกับพอร์ตการลงทุนของเราเนื่องจากเราได้ออกจากตลาด ณ จุดนั้นไปแล้วนั่นเอง สรุป TakeProfit คือทำกำไรในจุดที่เหมาะสมที่เราพอใจด้วยเหตุผลที่เหมาะสม

Stop Loss: คือ จุดตัดขาดทุน คือจุดที่เรายอมรับได้ในการที่เราจะตัดการขาดทุนโดยไม่ปล่อยให้การขาดทุนดำเนินต่อไปทำให้พอร์ต หรือเงินลงทุนของเราสูญเสียไปมากกว่านี้เพื่อที่จะทำให้พอร์ตการลงทุนของเรามีทุนสำหรับการลงทุนในครั้งต่อไปโดยหลังจากตัดขาดทุน Stop loss ไปพอร์ตของเราจะมีขนาดที่ลดลงขึ้นอยู่กับจำนวนที่เราLossไปในแต่ละครั้งสรุป Stop loss คือการตัดขาดทุนในจุดที่เรายอมรับได้

best broker forex

จัดอันดับ 10 โบรกเกอร์ Forex ดีที่สุดในไทย

ช่วยให้เทรดเดอร์ตัดสินใจเลือก โบรกเกอร์ Forex ได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา เทรดกับโบรกเกอร์ที่มีคุณภาพ ไม่ต้องเสี่ยงเรื่องการโดนโกงอย่างแน่นอน

โบรกเกอร์ Forex 10 อันดับ

        เมื่อเรารู้ความหมายของ จุดทำกำไร Take Profit และ จุดตัดขาดทุน Stop loss แล้วทีนี้มาทำความรู้จักวิธีการหาจุด ทำกำไรและจุดขาดทุนกันต่อครับ ซึ่งการหาจุดทั้ง 2 นี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะต้องมี ในทุก คำสั่งซื้อขายไม่ว่าจะเป็นการลงทุนใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการ เทรด forex เทรด หุ้น เทรด กับกราฟ หรือ แม้กระทั่งการซื้อทองคำแท่งเพื่อเก็งกำไร โดยเนื้อหาที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้เป็นการเรียบเรียงจากประสบการณ์ในการเทรด Forex เนื้อหาจะเป็นการหา จุดทำกำไรและจุดขาดทุนจากกราฟ Forex โดยใช้ Technical Analysis ขั้นพื้นฐานโดยการพยากรณ์จุด ทำกำไรและจุดตัดขาดทุนที่เหมาะสมเพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักเทรด forex แต่เหนือสิ่งอื่นใดการเทรด forex หรือการลงมุนใดๆหากขาดการวางแผนใรการลงทุน Money management แล้วก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ดังนั้นไม่ว่าเทคนิคการเทรดใดๆก็อย่าลืมการจัดการเงินทุนของตัวเองนะครับมาดูกัน ว่า แนวทางหลัก ๆ  ใหญ่ มีกี่วิธี  เท่าที่ผม ค้นคว้า มา พบว่า มี อยู่  7  วิธี  

1.ตั้งค่าจากผลกำไรหรือเปอร์เซ็นต์ตามใจต้องการ
2. ตั้งค่าตามจุดเฝ้าระวังของรายใหญ่
3.ตั้งค่าตามแนวรับแนวต้านเชิงจิตวิทยาFibonacci
4.ตั้งค่าตามเส้น Trendline
5.ตั้งค่าตามจุดยอดของคลื่นก่อนหน้า
6.ตั้งค่าตามสัญญาณทางอินดิเคเตอร์ เช่น MACD, ADX, CCI, BB, PSAR เป็นต้น
7. ตั้งค่าตาม Price Action หรือแพทเทิร์นกลับตัวต่าง ๆ 

เรามาดูรายละเอียดของแต่ละวิธีกันเลย 

1.ตั้งค่าจากผลกำไรหรือเปอร์เซ็นต์ตามใจต้องการ  คือ ตั้งเอาเอง อาจจะตั้งไว้ในใจ ว่า ถ้าเปิดออร์เดอร์ตรงนี้ แล้ว มันจะลงไป กี่เหรียญ ก็ให้ปิดออร์เดอร์ เลย  หรือ ลงไป กี่ เปอร์เซ็นต์ แล้ว ปิดทำกำไร  ดังในภาพที่ 1  เข้า  Buy  ที่ราคา  80.828   ตั้ง  TP ไว้ เมื่อบวกครบ  10 $  ออกที่ 81.82

 

การตั้ง TP  แบบนี้ คือ การ ป้องกันความโลภ บังคับใจตนเอง นี่ก็วินัย  อีกแล้ว

2.การตั้งค่าตามจุดเฝ้าระวังของรายใหญ่  ด้วย กองทุน สถาบันใหญ่ ๆ นี่จะไม่เทรด บ่อยนัก ดังนั้นควรใช้กราฟ 4 hr เป็นอย่างต่ำ หรือไม่ก็ กราฟ Day  และบรรดากองทุนจะคำนวณกำไรการเทรดเป็นเลขตัวกลม ๆ  ในภาพที่ 2  แนวรับ แนวต้านใหญ่ ๆ ของ  AUD/JPY  กราฟ Day

 

เราจะเข้า ออร์เดอร์ ที่ แนว รับ  หรือ แนวต้าน แล้วก็ ออก ที่แนวตรงกันข้ามกัน 

3.ตั้งค่าตามแนวรับแนวต้านเชิงจิตวิทยา Fibonacci

ใช้  Fibo เข้ามาช่วย เพื่อหาจุดเข้า และตั้ง  TP  โดย กาง เส้น  Fibo  ลงบนกราฟ โดยจะตั้งค่าTP และ SL ตามเส้นต่าง ๆ ของ  Fibo เราจะเข้า ออร์เดอร์ ที่  Fibo 0   แล้ว ตั้ง  TP  ตามแนวเส้น 

 

23.6 , 38.2 , 50 , 61.8  ตามนั้น ครับ

4.ตั้งค่าตาม เส้น Trendline

ลากเส้น  TrendLine ขึ้นมา ก่อน แล้วค่อย มองหาจุดที่จะตั้ง  TP ตามภาพข้างล่าง

 

แต่ความแม่นยำอาจจะไม่ดีนัก  ใน TF  เล็ก ควรจะใช้กราฟ TF  ใหญ่ ๆ เน้น 4 hr  ขึ้นไป แต่วิธีนี้ก้ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแต่ละบุคคล  อีกวิธีก็คือตีเส้นสามเหลี่ยมตามภาพที่ 5  แล้วหาจุด

 

เข้าออร์เดอร์  จุดออก ให้ตั้งเมื่อกราฟหลุดเส้นเทรนลายที่ลากไว้ ตามภาพ

5.ตั้งค่าตามจุดยอดของคลื่นก่อนหน้า

อาจจะเข้าใจยากนิด คือการหาจุดต่ำสุดและต่ำสุดของคลื่นก่อนหน้า  ฟังดูแล้วเข้าใจยากนะครับ แปลแบบ บ้าน บ้าน ก็คือ หาแนวรับ แนวต้าน ของกราฟในรอบที่แล้ว  ดูภาพดีกว่า อาจจะกระจ่าง

 

ประมาณนี้ครับ ถ้ากราฟวิ่งขึ้นมาชน แนวเส้นสีแดงด้านบนก็ ปิด  TP  เลยครับ  .. 

6.ตั้งค่าตามสัญญาณทางอินดิเคเตอร์ เช่น MACD, ADX, CCI, BB, PSAR

เป็นการนำเอา อินดี้มาช่วยตัดสินใจในการตั้ง  TP ภาพข้างล่างใช้  MACD

 

ส่วน ตัวอื่น ๆ ก็ ขอละไว้ ครับ  มาดูข้อสุดท้ายกัน

7. ตั้งค่าตาม Price Action หรือแพทเทิร์นกลับตัวต่าง ๆ

ตรงนี้ แนะนำครับ  ควรใช้ กราฟ Day  ต่ำกว่านี้ อาจไม่เหมาะ ตรงนี้เหมาะกับนักเทรดที่ไม่ค่อยมีเวลา มาเฝ้ากราฟ ส่วนมากที่ผมชำนาญ จะเป็นแบบ โดจิ  ค่อนข้างจะมองง่ายกว่ารูปแบบอื่น ๆ

 

เน้น นะครับ  TF Day  เท่านั้น   ..  ตามนั้น  พบกันใหม่ตอนต่อไป  

ทีมงาน : thaiforexbroker.com